backup og meta

เบาหวาน ใน เด็ก ต่างจากเบาหวานในผู้ใหญ่อย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 26/10/2022

    เบาหวาน ใน เด็ก ต่างจากเบาหวานในผู้ใหญ่อย่างไร

    เบาหวาน ใน เด็ก หมายถึง ภาวะที่เด็ก ๆ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จนถึงเกณฑ์วินิจฉัยโรคเบาหวาน ซึ่งสามารถพบได้ทั้ง โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 โดยเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไปทำลายตับอ่อน ทำให้ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลง ในขณะที่เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากภาวะดื่ออินูลินเป็นหลัก ทั้งนี้สามารถควบคุมเเละรักษาระดับน้ำตาลในอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้เบื้องต้นด้วย การส่งเสริมให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับในผู้ใหญ่

    เบาหวาน ใน เด็กเป็นอย่างไร

    เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการควบคุมสมดุลของน้ำตาลในเลือดของร่างกายบกพร่องไป

    สำหรับเบาหวานในเด็กนั้นสามารถพบได้ทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 เช่นเดียวกับที่พบได้ในผู้ใหญ่ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากทำให้เบตาเซลล์ (Beta Cells) ซึ่งเป็นเซลล์ของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการผลิดฮอร์โมนอินซูลินถูกทำลาย จนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เบตาเซลล์ถูกทำลายนั้นเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันสร้างภูมิไปทำลายเซลล์ของตนเอง จนเป็นเหตุให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โดยทั่วไป เบาหวานชนิดที่ 1 มักพบมากในเด็กอายุระหว่าง 4-6 ปี และ 10-14 ปี โดยมีพันธุกรรมเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของโรคเบาหวานชนิดนี้ พบว่า หากคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ลูกจะมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ประมาณ 1-4 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่หากมีคุญพ่อเป็นจะเพิ่มความเสี่ยงประมาณ 3-8 เปอร์เซ็นต์ และหากมีทั้งคุณพ่อและคุณแม่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะเพิ่มความเสี่ยงได้มากถึง30 เปอร์เซ็นต์
  • เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากการที่เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง จึงทำให้เเม้จะมีอินซูลินเพียงพอ เซลล์ก็ไม่สามารถดึงเอาน้ำตาลในกระเเสเลือดไปเผาผลาญได้ตามปกติ อีกทั้งเมื่อปล่อยให้เกิดภาวะนี้ต่อไปเรื่อยๆ จะส่งผลให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักขึ้น จนถึงขั้นเซลล์ของตับอ่อนเสียหายจนผลิตอินซูลินได้ลดลงในที่สุด ทั้งนี้ เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานที่มักพบในวัยผู้ใหญ่เป็นต้นไป เเต่อาจพบได้ในเด็กที่มีโรคอ้วน รวมทั้งในปัจจุบันนี้ยังพบสัดส่วนของเบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันเเบบคนเมือง รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไปในยุคสมัยนี้ ส่งผลให้เกิดร่างกายภาวะดื้อต่ออินซูลินได้มากขึ้นกว่าสมัยก่อน ๆ  
  • เบาหวาน ใน เด็ก มีอาการอย่างไร

    เมื่อเด็ก ๆ เป็นโรคเบาหวานไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาการที่พบได้มีดังต่อไปนี้

    • กระหายน้ำบ่อย
    • ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะรดที่นอน
    • อยากอาหารเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอาหารรสหวาน
    • น้ำหนักลด
    • อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ไม่ค่อยอยากทำกิจกรรมที่เคยชอบทำ
    • ไม่มีอาการ เนื่องจากหากยังมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงมากนัก จะยังไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ให้สังเกต

    การรักษาเบาหวานในเด็ก

    • เมื่อเด็ก ๆ เป็นโรคเบาหวาน คุณหมอจะพิจาณาให้การรักษาตามสาเหตุ โดยหากเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 จะจำเป็นต้องรักาษาด้วยยาฉีดอินซูลิน เเต่หากเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถให้การรักษาด้วยยาเม็ดรับประทานได้  ทั้งนี้กาารักษาเบาหวานในเด็กมีความสำคัญเนื่องจากหากควบคุมได้ไม่ดี จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ตั้งเเต่อายุไม่มาก ซึ่งจะเป็นผลเสียระยะยาวในอนาคตได้ นอกจากนี้ เหนือสิ่งอื่นใด คุณหมอมักแนะนำให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานที่เป็นโรคเบาหวานเบื้องต้นดังต่อไปนี้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม เน้นการรับประทานผักและผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เพราะเส้นใยที่อาจช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงเกินไปหลังมื้ออาหาร 
    • ดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่นน้ำอัดลม น้ำผลไม้ นมเปรี้ยว นมรสหวาน
    • เน้นการทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน เนื่องจากสามารถเลือกวัตถุดิบ เเละ ปรุงรสให้เหมาะสมได้ 
    • สนับสนุนการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 60 นาที เพื่อช่วยในการเผาผลาญ เสริมสร้างกระดูกเเละกล้ามเนื้อ 
    • จำกัดระยะเวลาทำกิจกรรมที่เป็นการนั่งหรือนอน ไม่ค่อยได้คลื่นไหวร่างกาย เช่น การนั่งดูโทรทัศน์ เล่นเกมส์ 

    ทั้งนี้ เมื่อเด็กเติบโตเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอาจทำได้ยากขึ้น เนื่องจากปัจจัยต่อไปนี้

    • ฮอร์โมนในร่างกาย ฮอร์โมนเพศ เช่น เอสโตรเจน (Estrogen) ในเด็กผู้หญิง และเทสโทสเตอร์โรน (Testosterone) ในเด็กผู้ชาย จะหลั่งออกมาเพิมมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยที่ฮอร์โมนเพศนี้จะมีฤทธิ์ต้านกับอินซูลิน จึงเสมือนทำให้เซลล์เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มจากเดิม จึงอาจทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ยากขึ้น 
    • ปัจจัยด้านอารมณ์ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่มีความคิดเป็นของตนเอง รวมทั้งเป็นวัยที่ต้องการอิสระในบางครั้ง จึงทำให้ควบคมอาหารได้ยากขึ้น 

    เบาหวาน ใน เด็ก ป้องกันได้หรือไม่

    ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีวิธีป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็ก อย่างไรก็ตาม โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กอาจป้องกันได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

    • ส่งเสริมให้รับประทานอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น อาหารที่มีน้ำตาลเเละไขมันไม่สูงจนเกินไป เพื่อป้องกันเด็กจากโรคอ้วนซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน
    • ส่งเสริมให้เด็ก ๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน และยังสร้างเสริมกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 26/10/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา