backup og meta

การตรวจสุขภาพเท้า ผู้ป่วยเบาหวาน สำคัญอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 08/11/2022

    การตรวจสุขภาพเท้า ผู้ป่วยเบาหวาน สำคัญอย่างไร

    การตรวจสุขภาพเท้า เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเท้า จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเท้าเป็นประจำ รวมถึงควบคุมอาการของโรคเบาหวานให้ดี วัดระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

    การตรวจสุขภาพเท้า สำคัญกับผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร

    ปัญหาแผลที่เท้า เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสม ปัญหาแผลที่เท้าอาจร้ายแรงถึงขั้นถูกตัดเท้าหรือตัดขาได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานอาจลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าได้ด้วย การตรวจสุขภาพเท้า อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงดูแลเท้าอย่างเหมาะสม เช่น การตัดเล็บอย่างถูกวิธี ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น งดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่อาจทำให้เลือดที่บริเวณขาและเท้าไหลเวียนได้ลำบาก จนส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวานได้

    ปัญหาสุขภาพเท้า ที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

    ปัญหาสุขภาพเท้า ที่พบบ่อยได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังต่อไปนี้

  • ขาหรือเท้าบวม
  • อาการชาบริเวณนิ้วเท้า
  • แผลที่เท้าหายช้า
  • เล็บขบหรือมีเชื้อราบริเวณเล็บ 
  • ผิวบริเวณส้นเท้าแห้งแตกหรือลอก
  • สีผิวคล้ำขึ้นกว่าปกติ
  • รู้สึกปวดหรือเสียวซ่าบริเวณเท้าหรือข้อเท้า
  • ตาปลา
  • หากผู้ป่วยเบาหวานพบว่ามีอาการข้างต้น ควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพเท้าและวินิจฉัยอาการโดยเร็ว คุณหมอจะได้รักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสม เพราะหากปล่อยไว้ อาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นต้องตัดขาหรือตัดเท้าได้

    การป้องกันปัญหาสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

    การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ร่วมกับการดูแลดังต่อไปนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น ปัญหาสุขภาพเท้า ได้ 

    • ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น ออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลางด้วยการเดินเร็ว วันละ 30 นาที อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ 
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
    • ปรึกษานักโภชนาการหรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่เหมาะสม
    • รักษาระดับความดันโลหิตและรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
    • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
    • ทำความสะอาดเท้าและตรวจสอบเท้าเป็นประจำทุกวัน หากพบอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง
    • ตัดเล็บเท้าอย่างระมัดระวังและถูกวิธี ควรตัดขอบเล็บให้ตรง ไม่โค้งเข้ามุม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 08/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา