backup og meta

วิธีบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเอง ก่อนไปพบทันตแพทย์ ทำได้อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    วิธีบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเอง ก่อนไปพบทันตแพทย์ ทำได้อย่างไรบ้าง

    หากคุณมีอาการปวดฟัน คุณควรไปพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด แต่บางครั้งคุณอาจไม่สะดวกไปพบทันตแพทย์ทันที และอาจอยากได้ วิธีบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเอง ก่อนที่จะไปพบทันตแพทย์ ซึ่งคุณอาจลองทำตามวิธีเหล่านี้ แต่ควรจำไว้ว่า นี่เป็นเพียงวิธีบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้นเท่านั้น และคุณจำเป็นต้องไปพบทันตแพทย์

    สาเหตุของอาการปวดฟัน

    อาการปวดฟันอาจมีสาเหตุมาจาก

    • ฟันผุ
    • ฝีหรือโพรงหนองในฟัน
    • ฟันมีรอยแตก
    • เกิดความเสียหายต่อการอุดฟัน
    • การเคลื่อนไหวซ้ำๆ เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่ง การกัดฟัน
    • เหงือกติดเชื้อ

    หากเกิดอาการปวดฟัน อาจมีอาการดังต่อไปนี้

    • ปวดฟัน โดยอาจมีอาการปวดต่อเนื่อง ปวดจี๊ดขึ้นมา หรือปวดตุบๆ และในบางกรณีจะมีอาการปวดฟันเมื่อมีแรงกดบนฟันเท่านั้น
    • บวมบริเวณฟัน
    • มีไข้ หรือปวดศีรษะ
    • มีของเหลวส่งกลิ่นเหม็นไหลออกมาจากฟันที่ติดเชื้อ

    หากคุณมีอาการปวดฟัน ควรไปพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ถ้าคุณมีอาการปวดฟันนานกว่า 1-2 วัน อาการปวดรุนแรงขึ้น มีไข้ เจ็บหู หรือเจ็บเวลาอ้าปาก ควรเข้าพบทันตแพทย์ทันที

    วิธีบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเอง ก่อนไปพบทันตแพทย์

    หากยังไม่สะดวกไปพบทันแพทย์ คุณสามารถบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้นเองได้ด้วยวิธีเหล่านี้

    บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ

    ก่อนไปพบทันตแพทย์ คุณอาจบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเองโดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เริ่มจากผสมเกลือ ½ ช้อนโต๊ะกับน้ำเปล่า 8 ออนซ์ (ประมาณ 230 มิลลิลิตร) จากนั้นอมน้ำเกลือที่ได้ไว้ในปากประมาณ 1 นาที จึงค่อยบ้วนน้ำเกลือออก นอกจากนี้คุณอาจใช้ไหมขัดฟันขัดบริเวณรอบๆ ฟันที่มีอาการปวด เพื่อช่วยกำจัดเศษอาหารที่ติดค้างอยู่

    กินยาบรรเทาปวด

    ทันตแพทย์แนะนำว่า การบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้น สำหรับเด็กควรใช้ยาบรรเทาปวด คือ ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) ส่วนผู้ใหญ่สามารถเลือกซื้อยาบรรเทาปวดจากร้านขายยาทั้งยาอะเซตามิโนเฟน และยาชนิดอื่น เช่น ไอบูโพรเฟน แอสไพริน

    ประคบเย็น

    ถ้าใบหน้าของคุณบวม ให้นำถุงใส่น้ำแข็งมาประคบที่แก้ม จะสามารถช่วยบรรเทาปวดได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวม อาจเป็นเพราะมีหนองหรือของเหลวในบริเวณรากฟัน และสามารถทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงในฟันกรามและฟันซี่อื่น หากประคบเย็นแล้วอาการปวดฟันยังไม่ดีขึ้น และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นไข้ คุณควรไปพบคุณหมอทันที

    ใช้ยาที่มีส่วนผสมของเบนโซเคน

    เบนโซเคน (benzocaine) มีฤทธิ์เป็นยาชา เมื่อคุณทายาที่มีส่วนผสมของเบนโซเคนลงไปในบริเวณที่ปวดฟันก็จะทำให้รู้สึกชาอยู่ครู่หนึ่ง จึงช่วยบรรเทาอาการปวดได้ แต่ก็สามารถบรรเทาอาการปวดได้ในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น

    หยุดสัญญาณความเจ็บปวดด้วยน้ำแข็ง

    นักวิจัยเชื่อว่าน้ำแข็งสามารถหยุดสัญญาณความเจ็บปวดจากสมองของคุณได้ โดยวิธีบรรเทาอาการปวดฟัน คือ ให้คุณวางน้ำแข็งบนฝ่ามือข้างเดียวกับที่มีอาการปวดฟัน เช่น ปวดฟันข้างซ้าย ก็วางน้ำแข็งไว้ที่มือซ้าย จากนั้นถูน้ำแข็งตรงบริเวณระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ เป็นเวลา 7 นาที หรือจนกระทั่งผิวบริเวณนั้นตึง อาจช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้

    น้ำมันกานพลู

    หากคุณทาน้ำมันกานพลูลงบนบริเวณที่ปวดฟัน หรือใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลูและนำไปวางไว้บริเวณที่ปวดฟันหรือเหงือก อาจช่วยบรรเทาอาการได้ เนื่องจากน้ำมันกานพลูมีฤทธิ์เป็นยาชาคล้ายคลึงกับยาเบนโซเคน ที่เป็นเจลบรรเทาอาการปวดฟัน

    วิธีป้องกันอาการปวดฟัน

    สาเหตุของอาการปวดฟันส่วนใหญ่เกิดจากฟันผุ การรักษาความสะอาดสุขภาพช่องปากด้วยวิธีเหล่านี้ ช่วยป้องกันอาการปวดฟันได้

    1. ห้ามเข้านอนโดยที่ยังไม่แปรงฟัน และควรแปรงฟันวันละ 2 ครั้งในตอนเช้าและก่อนเข้านอน
    2. ควรแปรงฟันอย่างถูกวิธี โดยแปรงฟันให้สะอาดทั้งด้านในและด้านนอก
    3. อย่าละเลยการแปรงลิ้น
    4. ใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์
    5. ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ วันละ 1 ครั้ง
    6. ใช้น้ำยาบ้วนปาก หรือใช้น้ำมันมะพร้าวบ้วนปาก
    7. ดื่มน้ำให้มาก อย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน
    8. กินผักและผลไม้ที่เคี้ยวได้
    9. จำกัดปริมาณน้ำตาลและอาหารที่มีความเป็นกรดสูง
    10. พบทันตแพทย์ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจติดตามสุขภาพอนามัยในช่องปาก และดูแลรักษาฟัน

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา