backup og meta

มีเซ็กส์ตอนเช้า มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 07/03/2022

    มีเซ็กส์ตอนเช้า มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

    มีเซ็กส์ตอนเช้า นอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคู่รักแล้ว ยังอาจมีประโยชน์ทางสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ลดความดันโลหิต บรรเทาความเครียด นอกจากนี้ การถึงจุดสุดยอดยังช่วยทำให้อารมณ์ดีได้อีกด้วย

    ประโยชน์ของเซ็กส์

    การมีเซ็กส์นอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคู่รักแล้ว ยังอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ ดังนี้

    อาจเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

    การมีเซ็กส์อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน โดยกระตุ้นให้ร่างกายป้องกันร่างกายจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อโรคต่าง ๆ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Physiology & Behavior พ.ศ. 2558 ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของค่าภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น อิมมูโนโกลบูลิน ตลอดรอบประจำเดือนในผู้หญิงที่มีสุขภาพดี พบว่า การเปลี่ยนแปลงของภูมิคุ้มกันในร่างกายตลอดรอบประจำเดือนนั้นสัมพันธ์กับการมีเซ็กส์อย่างมีนัยสำคัญ

    อาจช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะปัสสาวะในผู้หญิง

    การมีเซ็กส์อาจช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะปัสสาวะในผู้หญิง โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เมื่อถึงจุดสุดยอดจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณที่ใกล้กระเพาะปัสสาวะเกิดการหดตัว จึงอาจช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณที่ใกล้กระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะช่วงกระเพาะปัสสาวะให้ดีขึ้น

    อาจเทียบเท่ากับการออกกำลังกาย

    การมีเซ็กส์อาจเทียบเท่ากับการออกกำลังกาย โดยการมีเซ็กส์ใช้พลังงานประมาณ 5 แคลอรี่/นาที ทั้งยังทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการสูบฉีดเลือดไปล่อเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ การมีเซ็กส์ยังมีการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่ากายอีกด้วย

    อาจช่วยลดความดันโลหิตและลดความเสี่ยงหัวใจวาย

    การมีเซ็กส์อาจช่วยลดระดับความดันโลหิตในร่างกาย นอกจากนี้ การมีเซ็กส์ยังอาจช่วยกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงรักษาระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนเพศชายให้สมดุล โดยผู้ชายที่มีเซ็กส์อย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์ อาจมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจเพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับผู้ชายที่ไม่ค่อยมีเซ็กส์

    อาจช่วยในเรื่องของการนอนหลับ

    หลังถึงจุดสุดยอดแล้ว ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและง่วงนอน ทั้งยังvk0ช่วยให้คุณหลับสบายและเต็มอิ่มด้วย

    อาจช่วยบรรเทาความเครียด

    มีเซ็กส์ตอนเช้า อาจช่วยบรรเทาคลายความเครียดและลดความวิตกกังวลได้ นอกจากนั้น ระหว่างที่มีเซ็กส์ต้องมีการสัมผัส การกอด การจูบ ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกดี ช่วยในเรื่องของอารมณ์ในระหว่างวัน ทำให้มีความสุขและรู้สึกผ่อนคลายได้

    ช่วยเวลาในการมีเซ็กส์

    โดยปกติแล้ว การมีเซ็กส์ไม่ได้ถูกระบุถึงช่วงเวลาที่ควรหรือไม่ควร ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความพร้อม โอกาสและความเหมาะสมของทั้ง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตาม ผู้ชายนั้นอาจจะอยากมีเซ็กส์ในช่วงเช้า เนื่องจากเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเพศชายอยู่ในระดับที่สมบูรณ์ตลอดช่วงเวลาที่นอนหลับ แต่ผู้หญิงอาจพอใจที่จะมีเซ็กส์ในช่วงเย็น เพื่อให้ผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการทำงาน

    อย่างไรก็ตาม นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากคลินิกเกี่ยวกับการนอนและประสาทวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ได้คำแนะนำช่วงเวลาที่อาจเหมาะสมสำหรับการมีเซ็กส์เอาไว้ ดังนี้

    • ช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ 15:00 น. เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ระดับความต้องการทางเพศของทั้งเพศชายและเพศหญิงอยู่ในระดับสูง
    • ช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ประมาณ 08:20 น. เนื่องจากเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเพศทั้งของผู้ชายและของผู้หญิงอยู่ในระดับสูงทั้งคู่
    • ช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ช่วง 22:20 น. เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น อาจเข้านอนเร็วจึงอาจมีเซ็กส์ในช่วงเวลาหลัง 22.00 น. ซึ่งเป็นเวลาก่อนเข้านอน

    มีเซ็กส์ตอนเช้า มีประโยชน์อย่างไร

    มีเซ็กส์ตอนเช้า อาจทำให้ร่างกายได้ออกกำลังกาย กระตุ้นความกระปรี้กระเปร่า พร้อมสำหรับการเริ่มต้นในวันใหม่ เนื่องจากในช่วงเช้าเป็นเวลาที่ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในระดับสูง เมื่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่พุ่งสูงก็อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ดังนั้น จึงไม่ผิดหากจะมีเซ็กส์กันในช่วงเช้าก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมการทำงานของวันใหม่ อย่างไรก็ตาม การสอบถามถึงความพึงพอใจของอีกฝ่ายให้ตรงกันจึงอาจเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 07/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา