backup og meta

นวัตกรรม การผ่าตัดต่อมทอนซิลโต อุดกั้นทางเดินหายใจในเด็ก

เขียนโดย ดร.พญ. ชนิศา เกียรติสุระยานนท์ · โรคผิวหนัง · สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    นวัตกรรม การผ่าตัดต่อมทอนซิลโต อุดกั้นทางเดินหายใจในเด็ก

    ในเด็กที่มีขนาดต่อมทอนซิลโตมากอาจทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก นอนกรน และอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เด็กมีอาการอื่นๆตามมา เช่น ง่วงซึม สมาธิลดลง หรือก้าวร้าว พ่อแม่ของเด็กมักจะมาปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบุตรหลานเนื่องจากต่อมทอนซิลโต หนึ่งในการรักษาที่ใช้กันทั่วไป คือ การผ่าตัดต่อมทอนซิลโต แต่เนื่องจากผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่มักเกิดขึ้น จึงมีการพัฒนานวัตกรรมการผ่าตัดแบบใหม่ที่เป็นทางเลือกที่ดีของการรักษาต่อมทอนซิลโตในเด็ก

    การผ่าตัดต่อมทอนซิลโต มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

    โดยทั่วไป แพทย์จะแนะนำว่าการรักษาต่อมทอนซิลโตหลักๆ มี 2 วิธี คือ

    1. การใช้เครื่องช่วยหายใจขณะนอนหลับ หรือ CPAP
    2. การผ่าตัดต่อมทอนซิล (และ/หรือต่อมอะดินอยด์) ทิ้ง

    ในกรณีที่เลือกการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด โดยทั่วไป แพทย์จะใช้วิธีตัดต่อมทอนซิลทิ้งไปทั้งหมด (Removal of tonsil) อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2018 มีข้อมูลวิชาการทางการแพทย์รายงานชัดเจนแล้วว่าการผ่าตัดต่อมทอนซิลทิ้งไปเป็นความคิดที่ไม่ดี และการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยกลุ่มที่ตัดทอนซิลทิ้ง เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ตัดทอนซิลโดยติดตามต่อไปเมื่ออายุมากขึ้น พบว่าการตัดทิ้งต่อมทอนซิลออกไปทำให้เพิ่มโอกาสมากกว่า 3 เท่าในการเกิดโรคภูมิแพ้ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ และโรคอื่นๆ รวมแล้วกว่า 28 โรค นอกจากนี้ การตัดต่อมทอนซิลทิ้ง (Traditional tonsillectomy) ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกหลังการผ่าตัด (เทียบกับการผ่าตัดทอนซิลออกบางส่วน/Tonsillotomy) มากถึง 3 เท่า

    ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบัน การผ่าตัดต่อมทอนซิลทิ้งในเด็กที่มีต่อมทอนซิลโตอุดกั้นทางเดินหายใจ จึงไม่เป็นที่นิยมในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา และมีจำนวนเปอร์เซ็นต์การทำลดลงตามลำดับ นวัตกรรมทางเลือกใหม่ที่ถูกนำมาใช้แทนการตัดต่อมทอนซิลทิ้งก็คือ เทคนิคที่เรียกว่า “Tonsillotomy’ หรือ “Tonsilloplasty’ ซึ่งก็คือ การผ่าตัดลดขนาดต่อมทอนซิล โดยการตัดต่อมทอนซิลออกเพียงบางส่วน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Partial Tonsillectomy’ การผ่าตัดโดยวิธีนี้ไม่ใช่การตัดต่อมทอนซิลทิ้งไปทั้งหมด แต่จะคงต่อมทอนซิลไว้อยู่ประมาณร้อยละ 10-20 เพื่อให้ส่วนที่เหลือสามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ โดยผู้ป่วยไม่ต้องสูญเสียอวัยวะต่อมทอนซิลไปทั้งหมดเหมือนแต่ก่อน

    ล่าสุดในปี 2017 มีรายงานจากประเทศสวีเดน ซึ่งเก็บข้อมูลในผู้ป่วยเด็กตั้งแต่ปี ค.ศ.1993-2013 พบว่าในการผ่าตัดทอนซิลทั้งหมด 167,984 ราย มีจำนวนถึงร้อยละ 55.1 ที่ใช้วิธีการผ่าตัดต่อมทอนซิลออกเพียงบางส่วน จึงสรุปว่าการผ่าตัดต่อมทอนซิลด้วยเทคนิคใหม่นี้ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ากับวิธีการผ่าตัดแบบเดิม ได้รับการยอมรับและมีการทำมากกว่าการตัดทอนซิลทิ้งแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    เขียนโดย

    ดร.พญ. ชนิศา เกียรติสุระยานนท์

    โรคผิวหนัง · สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


    แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา