backup og meta

เบาหวานชนิดที่ 1 รักษาให้หายขาดได้หรือไม่

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 14/07/2023

    เบาหวานชนิดที่ 1 รักษาให้หายขาดได้หรือไม่

    เบาหวานชนิดที่ 1 หายขาดได้ไหม อาจเป็นคำถามที่หลายท่านสงสัย เนื่องจาก โรคเบาหวานเป็นนับเป็นภาวะเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เเละอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงกับอวัยวะอื่น ๆได้ เช่น หัวใจ ดวงตา ตับ ระบบประสาท เหงือก ฟัน หากผู้ที่เป็นไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

    เบาหวานชนิดที่ 1

    โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับกลูโคสหรือน้ำตาลในเลือดสูงมากเกินไป เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินทดเเทนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นั้น พบได้น้อยกว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมักจะเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยอาจพบในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มากกว่าคนทั่วไป อีกทั้งโรคนี้มักวินิจฉัยพบในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น ช่วงอายุ 4-7 ปี และ 10-14 ปี

    สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1

    โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มีสาเหตุมาจากเบต้าเซลล์ (Beta Cells) ของตับอ่อนซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ถูกระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลาย ตับอ่อนจึงผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ เมื่อขาดฮอร์โมนอินซูลิน ร่างกายจึงไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นไปตามปกติได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง รวมทั้งเซลล์ต่างๆของร่างกายยังไม่สามารถนำนำ้ตาลซึ่งเป็นเเหล่งพลังงานหลัก ไปใช้เผาผลาญเป็นพลังานได้ตามปกตีอีกด้วย นอกจากนี้ โรคบางชนิด เช่น โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) อาจส่งผลกระทบต่อตับอ่อน รวมทั้งการผ่าตัดตับอ่อน หรือการติดเชื้อหรืออักเสบของตับอ่อนขั้นรุนแรง ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้เช่นกัน

    อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1

    อาการที่อาจบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 คือ

  • มีอาการกระหายน้ำบ่อย และหิวบ่อย กว่าปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย ต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน หลังจากที่นอนหลับไปเเล้ว ในเด็กอาจสังเกตได้จากมีปัสสาวะรดที่นอน
  • น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ทราบสาเหตุ
  • มือปลายมือ-เท้า
  • มีอาการอ่อนเพลีย รู้สึกเหนือยกว่าปกติ
  • มีอาการตาพร่ามัว
  • มองเห็นไม่ชัด
  • แผลหายช้า
  • ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 1

    ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มีหลายประการ เช่น

    • พันธุกรม เเละะ ประวัติครอบครัวเนื่องจากการมียีนบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้
    • อายุ แม้โรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่ช่วงวัยที่มักพบโรคนี้ได้มากที่สุด ได้แก่ เด็กอายุ 4-7 ปี และเด็กอายุ 10-14 ปี

    เบาหวานชนิดที่ 1 รักษาหายขาดได้หรือไม่

    สำหรับคำถามที่ว่า โรคเบาหวานชนิดที่ 1 รักษาให้หายขาดได้หรือไม่นั้น ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ให้หายขาดได้ แต่ด้วยความก้าวหน้าทางการเเพทย์ในปัจจุบัน ทำให้มีการวิจัยเเละศึกษาเกี่ยวกับวิธีการรักษาและยาใหม่ ๆ ที่อาจเป็นทางเลือกในการรักษา รวมถึงป้องกันการเกิดโรคเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น การหมั่นดูแลสุขภาพ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไปพบคุณหมอตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และใช้อินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถอยู่กับโรคเบาหวานได้อย่างมีความสุข

    วิธีการรักษาเบาหวานชนิดที่ 1

    การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้แก่

    อินซูลิน

    ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินเองได้ จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาด้วยอินซูลินไปตลอด เพื่อให้ร่างกายสามารถดำเนินไปได้อย่างปกติ เนื่องจากฮอร์โมนอินซูลินมีหน้าที่หลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายนำน้ำตาลมาเผาผลาญใช้เป็นพลังงาน

    การตรวจน้ำตาลในเลือด

    ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำอย่างน้อย 3 – 4 ครั้ง/วัน เพื่อใช้คำนวณขนาดอินซูลินที่จะต้องฉีดเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงจดบันทึกค่านำ้ตาลทุกครั้งเพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงเเละเป็นข้อมูลให้คุณหมอเพื่อให้ปรับการรักษาได้เหมาะสมกับยิ่งขึ้น โดยเเนะนำควรทำการตรวจระดับน้ำตาลในช่วงเวลาดังนี้ ก่อนอาหารเเต่ละมื้อ ก่อนของว่าง (หากรับประทาน) ก่อนนอน ก่อนออกกำลังกาย เเละ ช่วงเวลาที่มีอาการขอภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

    การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ นับคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน

    ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการและใยอาหารสูง มีไขมันต่ำ เช่น ผัก ผลไม้ (ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ) ธัญพืชต่าง ๆ เลือกรับประทานโปรตีนที่มีคุณภาพดี และจำเป็นจะต้องเรียนรู้วิธีนับคาร์โบไฮเดรต ในอาหาร เพื่อนำมาใช้คำนวณปริมาณอินซูลินที่ใช้ในเเต่ละมื้ออาหาร เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายได้รับอินซูลินที่เหมาะสม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 14/07/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา