backup og meta

ผมร่วงหลังคลอด สาเหตุและวิธีดูแลตัวเอง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 12/10/2022

    ผมร่วงหลังคลอด สาเหตุและวิธีดูแลตัวเอง

    ผมร่วงหลังคลอด อาจจะไม่ได้เป็นเพราะความเครียดจากการมีลูก แต่อาจมีสาเหตุมาจากการที่ฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน ออกซิโทซิน โปรแลคติน ที่เพิ่มสูงขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนปริมาณของเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นก็อาจลดลงอย่างรวดเร็ว และกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด

    การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนหลังคลอด

    การตั้งครรภ์อาจทำให้ฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน ออกซิโทซิน โปรแลคติน เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงปริมาณของเลือดก็อาจเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติประมาณ 50% แต่ฮอร์โมนต่าง ๆ อาจลดระดับลงอย่างรวดเร็ว โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนฮอร์โมนโปรแลคตินอาจจะยังสูงอยู่หากยังให้ลูกกินนมแม่ นอกจากนี้ ปริมาณของเลือดก็อาจจะค่อย ๆ ลดลง และกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด

    ฮอร์โมนส่งผลกระทบต่อเส้นผมอย่างไร

    เมื่อระดับฮอร์โมนลดลงอย่างรวดเร็วหลังคลอดลูก ก็อาจทำให้เกิดอาการผมร่วงจำนวนมาก ซึ่งเทียบไม่ได้กับอาการผมร่วงในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นจะเกิดขึ้นหลังคลอดวันไหนก็ได้เพียงครั้งเดียว แต่ในบางครั้งก็อาจเกิดแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยผมจะร่วงหนักมากช่วงประมาณ 4 เดือนแรก ฉะนั้น หากลูกน้อยอายุ 2-3 เดือนแล้ว อาการผมร่วงหลังไม่ดีขึ้น ควรไปปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำและเข้ารับการรักษา

    ผมร่วงหลังคลอด ควรดูแลตัวเองย่างไร

    อาการผมร่วงหลังคลอดอาจเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าอาการผมร่วงทำให้เกิดความวิตกกังวล ไม่สบายใจ อาจดูแลตัวเองด้วยวิธีเหล่านี้ เพื่อทำให้เส้นผมดูหนาและมีสุขภาพดีขึ้น

    • รับประทานวิตามิน

    ไม่ควรใช้วิตามินมาทดแทนการรับประทานอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาต้องเลี้ยงลูกด้วยน้ำแม่ แม้จะยังไม่มีการวิจัยที่ระบุว่าวิตามินชนิดไหนที่มีผลต่ออาการผมร่วง แต่วิตามินยังอาจมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม ดังนั้น คุณหมอจึงแนะนำให้กินวิตามินเหมือนในช่วงตั้งครรภ์ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยังอยู่ในช่วงให้นมลูก ทั้งนี้ ควรปรึกษาคุณหมอหากต้องการรับประทานอาหารเสริม เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและลูกน้อย

    • ใช้แชมพูชนิดเพิ่มความหนา

    แชมพูชนิดที่ช่วยปรับสภาพเส้นผมอาจทำให้เส้นผมลีบแบน รวมทั้งทำให้เส้นผมดูบางลงกว่าปกติ แต่แชมพูแบบเพิ่มความหนาให้เส้นผมอาจช่วยเพิ่มน้ำหนักให้เส้นผม และทำให้เส้นผมดูพองหนาขึ้นได้ 

    • ใช้ผลิตภัณฑ์แต่งผม

    การใช้มูสส์แต่งผมอาจช่วยทำให้ผมดูหนาขึ้น หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงทรงผมเพื่อช่วยทำให้ผมดูหนาขึ้น โดยอาจลองปรึกษาช่างตัดผม เพื่อช่วยจัดแต่งทรงผมให้ดูหนาขึ้น หากคุณแม่ไว้ผมยาวในระดับเดียวกันมาตลอด อาจลองเปลี่ยนเป็นผมซอย รวมถึงใช้คอนดิชันเนอร์แบบไม่ต้องล้างออกหลังสระผม

    • ลองเปลี่ยนสีผมและทรงผม

    การเปลี่ยนสีผมอาจช่วยทำให้เส้นผมดูหนาและมีน้ำหนัก ถ้าผมสีเข้ม ๆ ทำให้ผมดูบางก็อาจเพิ่มมิติให้เส้นผมดูหนาด้วยการทำไฮไลท์บริเวณด้านหน้า ก็อาจช่วยทำให้เส้นผมดูหนาขึ้นได้ หรืออาจลองทำทรีทเม้นท์ที่ช่วยให้เส้นผมดูเป็นเงางามทั่วทั้งศีรษะ นอกจากนี้ อาจใช้วิธีเปลี่ยนแสกร่วมด้วย เช่น ถ้าเคยแสกกลางก็เปลี่ยนมาแสกข้าง

    • หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับเส้นผม

    การใช้ความร้อนในการแต่งผม เช่น ไดร์เป่าผม ที่หนีบผม อาจทำให้เส้นผมบางลงได้ ดังนั้น ควรปล่อยให้เส้นผมแห้งเองตามธรรมชาติจนกว่าอาการผมร่วงจะหายไป นอกจากนี้ การแปรงผมแรง ๆ ก็อาจทำให้ผมร่วงมากขึ้น และไม่ควรแปรงผมมากกว่าวันละ 1 ครั้ง 

    แต่หากผมเหยียดตรงทำให้ผมดูบางลง ลองใช้โรลม้วนผมไฟฟ้าหรือคีมม้วนผมไฟฟ้า เพื่อช่วยทำให้ทรงผมดูพองสวยขึ้นได้ แต่ไม่ควรใช้บ่อยจนเกินไป เพราะอาจทำให้ผมแห้งเสียได้ นอกจากนี้ อาจใช้เครื่องประดับผม เช่น ที่คาดผม ผ้าพันผม ผ้าโพกศีรษะ เพื่อช่วยอำพรางอาการผมร่วง

    อย่างไรก็ตาม ก่อนจะทำอะไรกับผมของตัวเอง ควรปรึกษาคุณหมอถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ รวมถึงอาหารที่ควรรับประทานและอาหารที่ไม่ควรรับประทานเสียก่อน เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง และความปลอดภัยของลูกน้อยที่ต้องดื่มนมจากคุณแม่

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 12/10/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา