backup og meta

ทะเลาะกับแฟน รับมือได้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 15/02/2024

    ทะเลาะกับแฟน รับมือได้อย่างไร

    ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ทะเลาะกับแฟน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาด้านการเงิน ปัญหาด้านอุปนิสัยส่วนตัวที่เข้ากันไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งของครอบครัวเป็นปัญหาที่อาจแก้ไขได้ด้วยเปิดใจพูดคุย การปรับตัว และทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน จึงควรหมั่นสังเกตสถานการณ์หรือพฤติกรรมที่อาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในครอบครัว และหาทางแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม โดยอาจปรึกษาคุณหมอ นักบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำให้บรรยากาศภายในบ้านดีขึ้น และให้บ้านเป็นพื้นที่แห่งความสุข ซึ่งอาจส่งผลดีต่อสุขภาพกายและใจของทุกคนในครอบครัวด้วย

    ทะเลาะกับแฟน เกิดจากสาเหตุอะไร

    ปัญหา ทะเลาะกับแฟน ความขัดแย้งในครอบครัว อาจมีสาเหตุดังนี้

  • ปัญหาการเงิน เป็นปัญหาครอบครัวที่พบได้บ่อย เมื่อรายได้ไม่สอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายภายในบ้าน มีภาวะหนี้สิน หรือคนในครอบครัวประสบปัญหาว่างงาน อาจทำให้รายได้ของครอบครัวลดลง จนส่งผลให้เครียด วิตกกังวล หรือคิดมาก และอาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนในครอบครัวได้
  • ปัญหาอุปนิสัยส่วนตัว เมื่อต้องใช้ชีวิตร่วมกันทุกวัน อุปนิสัยส่วนตัวหรือความคิดเห็นที่แตกต่างกันอาจทำให้เกิดการกระทบกระทั่งและไม่ลงรอยในครอบครัว ยิ่งหากไม่ปรับตัวเข้าหากัน ต้องการเอาชนะเมื่อมีเรื่องถกเถียงกัน ก็อาจยิ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้น
  • ปัญหาความรับผิดชอบภายในบ้าน บางครั้งอาจแบ่งภาระหน้าที่ภายในบ้านไม่เท่าเทียมกัน หรือสมาชิกคนใดคนหนึ่งรู้สึกว่ามีหน้าที่รับผิดชอบภายในบ้านมากเกินไป จนอาจรู้สึกไม่ดีต่อกัน และเกิดความขัดแย้งเรื่องการรับผิดชอบงานบ้านได้
  • ปัญหาการไม่เอาใจใส่กัน หากสมาชิกในครอบครัวไม่ค่อยพูดคุยกัน ไม่สนใจเรื่องราวในชีวิตประจำวันของกันและกัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากงานยุ่งจนไม่มีเวลาให้กัน ตารางเวลาไม่ตรงกัน อาจทำให้เกิดความห่างเหิน ขาดความผูกพันและความรักใคร่กลมเกลียว ซึ่งอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ในระยะยาวของสมาชิกในครอบครัวได้
  • การรับมือ ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว

    วิธีรับมือปัญหาการขัดแย้งในครอบครัว อาจมีดังนี้

  • พยายามรับฟังกันและกัน ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวอาจเกิดจากคนในครอบครัวไม่ยอมรับความเห็นของกันและกัน เนื่องจากรู้สึกโกรธและขุ่นเคืองจนปฏิเสธที่จะสื่อสารกันให้เข้าใจ หากมีเรื่องไม่เข้าใจหรือทะเลาะกัน ควรพยายามสงบสติอารมณ์ และผลัดกันอธิบายเหตุผลในฝั่งของตัวเอง รอให้อีกฝ่ายพูดจนจบ ไม่พูดแทรกหรือขัดการพูดของคนอื่น และเมื่อต้องพูดเหตุผลในฝั่งของตัวเองควรอธิบายอย่างชัดเจนและจริงใจ การรับฟังความคิดเห็นของกันและกันอย่างตั้งใจ จะช่วยให้เข้าใจสาเหตุของปัญหาอย่างถ่องแท้ และสามารถที่จะหาทางแก้ไขปัญหานั้นไปด้วยกันได้
  • พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี พ่อแม่ควรปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็น เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ลูกจะจดจำว่าพ่อแม่มีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร หากพ่อแม่เลือกวิธีที่รุนแรง เช่น การใช้กำลัง การด่าทอ การส่งเสียงดัง ก็มีแนวโน้มที่ลูกจะเลียนแบบพฤติกรรม และแสดงออกเช่นเดียวกันเมื่อเกิดปัญหา จนอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตร่วมกันของคนในครอบครัวในระยะยาว
  • ใช้เวลาร่วมกันเป็นครอบครัว การใช้เวลาที่ดีร่วมกัน จะช่วยสานสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้แน่นแฟ้น และลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น โดยสามารถใช้ช่วงเวลานี้ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟังความทุกข์หรือความกังวลใจของคนในครอบครัว อาจให้คำปรึกษาหรือแนวทางแก้ปัญหาอย่างเข้าใจและไม่ตัดสิน เพื่อให้อีกฝ่ายรู้สึกวางใจ รู้สึกว่าไม่ได้เผชิญปัญหาตามลำพัง และงสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกวิธี
  • ให้พื้นที่กับคนในบ้าน ควรให้สมาชิกในครอบครัวมีพื้นที่เป็นของตัวเอง สามารถเลือกทำกิจกรรมที่ตัวเองต้องการหรือปฏิเสธเมื่อไม่ต้องการทำบางกิจกรรมร่วมกับคนอื่นบ้าง จะได้ไม่รู้ว่ากำลังถูกควบคุมจากคนในบ้านตลอดเวลา เช่น วันนี้ลูกไม่ต้องการกินข้าวเย็นร่วมกับคนอื่น เนื่องจากเหตุผลส่วนตัว ก็ไม่ควรไปบังคับหรือฝืนใจ จนทำให้เกิดความขัดแย้งในครอบครัว
  • มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเสมอ การแบ่งปันประสบการณ์ต่าง ๆ กับคนในครอบครัว ทั้งประสบการณ์ที่ดีและประสบการณ์ไม่ดีที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน การพูดให้กำลังใจและพูดเสริมความมั่นใจให้แก่กันเป็นประจำ อาจช่วยลดปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวได้ ทั้งยังอาจช่วยลดปัญหาด้านจิตใจที่เกิดขึ้น เช่น ภาวะซึมเศร้า โรคเครียด เพราะรู้สึกว่าครอบครัวเป็นเซฟโซนหรือสถานที่ปลอดภัยของจิตใจ ที่สามารถแบ่งปันเรื่องราวที่เจอในชีวิตประจำวันให้แก่กันได้
  • แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน หากปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวเกิดจากการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบภายในบ้านไม่เท่ากัน อาจวางตารางการทำงานบ้านให้กับสมาชิกในครอบครัวเพื่อทำหน้าที่ในส่วนที่ได้รับมอบหมาย เพื่อฝึกความมีวินัยและความรับผิดชอบของทุกคนในบ้าน เช่น หน้าที่ล้างจานและกวาดบ้านเป็นของพี่สาวและน้องสาว คุณพ่อมีหน้าที่รดน้ำต้นไม้และขับรถรับ-ส่งไปโรงเรียน ส่วนคุณแม่เป็นคนทำกับข้าวและซักผ้า เป็นต้น หรือเลือกกิจกรรมบางอย่างที่ทุกคนจะได้ใช้เวลาร่วมกัน เช่น การไปซื้อของเข้าบ้านด้วยกันในช่วงบ่ายวันเสาร์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ ควรแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามความเหมาะสมและความสมัครใจของสมาชิกครอบครัวแต่ละคนด้วย
  • ปรึกษาคุณหมอ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตบำบัดครอบครัว วิธีบำบัดที่นิยมใช้ เช่น การพูดคุยเชิงลึก เน้นการทำความเข้าใจความคิด ความต้องการของผู้เข้าบำบัดแต่ละคน กระตุ้นให้ทุกคนในครอบครัวเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดและวิธีปฏิบัติต่อกันในทางที่ดีขึ้น และแนะนำวิธีการปรับปรุงความสัมพันธ์ที่อาจช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 15/02/2024

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา