backup og meta

ท่าทางเด็ก แบบไหนที่เรียกว่า ท่าทางผิดรูป

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/12/2022

    ท่าทางเด็ก แบบไหนที่เรียกว่า ท่าทางผิดรูป

    ท่าทางเด็ก เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตให้ดี ผิดรูป หมายถึง การที่เด็กหรือทารกอาจมีท่าทางในการวางแขน ขา ศีรษะ หรืออวัยวะต่าง ๆ ที่ผิดปกติไปจากที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจส่งผลต่อบุคลิกภาพเมื่อเด็กโตขึ้น รวมทั้งอาจเป็นอาการของภาวะสุขภาพ รูปร่างกระดูก การขาดสารอาหาร หรือความผิดปกติทางพัฒนาการ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตท่าทางและหากไม่แน่ใจว่าผิดปกติหรือไม่อาจปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำหรือรับการตรวจวินิจฉัยต่อไป

    สาเหตุที่ทำให้ ท่าทางเด็ก ผิดรูป

    สำหรับเด็กเล็กและทารกที่มีการวางท่าทางผิดรูป อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้

    • การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
    • ร่างกายขาดสารอาหารที่ไปพัฒนาอวัยวะในส่วนนั้น ๆ
    • มีพัฒนาการที่ไม่เหมาะสมกับช่วงวัย เช่น คลาน เดิน วิ่ง เร็วหรือช้ากว่าช่วงวัย
    • พันธุกรรมหรือเป็นโรคบางอย่าง

    สำหรับเด็กในวัยเรียนและวัยรุ่น ที่มีการวางท่าทางผิดรูป อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้

  • โรคอ้วน อาจทำให้การเดิน ยืน หรือนั่ง ผิดปกติไปจากเด็กที่ไม่มีปัญหาน้ำหนักส่วนเกิน
  • มีไลฟ์สไตล์ที่ไม่กระตือรือร้น ขาดการออกกำลังกาย หรืออยู่กับที่มากเกินไป จนทำให้การวางท่าทาง ผิดรูป หรือผิดปกติ เพราะอวัยวะบางอย่างอาจจะไม่ได้ใช้งานจนผิดรูปไป
  • เลียนแบบท่าทางจากเด็กคนอื่นที่ไม่เหมาะสมกับตนเอง เด็กอายุ 3-5 ปีมักจะเลียนแบบคนอื่น และท่าทางก็เป็นสิ่งที่เลียนแบบได้ ดังนั้น หากเด็กเกิดพฤติกรรมเลียนแบบอาจทำให้มีท่าทาง ผิดรูป หรือมีท่าทางที่ไม่เหมาะสมกับช่วงวัย หรือลักษณะทางกายภาพของตนเอง
  • แบกกระเป๋าเรียนที่หนักจนเกินไป ทำให้ร่างกายแบกรับน้ำหนักเกินตัวจนส่งผลต่อรูปร่างของกระดูกหลัง แขน สะโพก หรือขา น้ำหนักที่แนะนำสำหรับกระเป๋าเรียน คือ กระเป๋าที่มีน้ำหนักต่ำกว่าน้ำหนักตัวเด็ก 30 เปอร์เซ็นต์
  • วิธีจัดการเมื่อเด็กวางท่าทางผิดรูป

    คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลถึงพัฒนาการทางร่างกายในแต่ละช่วงวัย และหมั่นสังเกตว่าเด็กและทารกมีความผิดปกติไปจากที่ควรจะเป็นมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ ผู้ใหญ่อาจต้องให้เวลาเด็กในการปรับตัว ปรับท่าทาง อย่างไรก็ตาม หากเด็กมี ท่าทาง ผิดรูป อาจลองสังเกตสักระยะ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

    ปล่อยให้เด็กได้พัฒนาอย่างเป็นธรรมชาติ

    สำหรับเด็กทารก พัฒนาการการควบคุมคอ และการสร้างความแข็งแรงที่หลังนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ปล่อยให้เด็กทารกฝึกคลานรวมไปจนถึงพัฒนากาด้านอื่น ๆ ด้วยตัวเอง เช่น ยกหัว กลิ้ง นั่ง

    ในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาทางร่างกายและสมองจะเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน พัฒนาการแรกจะเกิดขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับพัฒนาที่ตามมาทีหลัง หากข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง กล้ามเนื้อบางส่วนอาจจะยังไม่พร้อม และนำไปสู่การทรงตัวหรือท่าทางที่ผิดรูปของเด็กได้

    แต่หากผิดสังเกต เช่น ท่าทางการเดิน การวางแขน การเอียงคอ ลำตัว ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำหรือเข้ารับการตรวจ

    เลือกอุปกรณ์สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันที่เหมาะสมแก่ช่วงวัย

    เด็กในวัยเรียนอาจต้องมีอุปกรณ์การเรียนที่ส่งผลต่อท่าทางและลักษณะรูปร่าง ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋านักเรียน เป้สะพายหลัง เก้าอี้ โต๊ะเรียน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองอาจช่วยป้องกันการทรงตัวผิดรูปได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    1. เสริมสร้างท่าทางมาตรฐาน

    ท่านั่ง

    ขณะที่เด็กนั่งบนเก้าอี้ พยายามฝึกให้นั่งด้วยท่าทางดังต่อไปนี้

    • นั่งให้ก้นชิดผนังเก้าอี้และพิงหลังไว้กับเก้าอี้
    • วางเท้าไว้ที่พื้นอย่างมั่นคง

    ท่ายืน

    ควรฝึกให้เด็กยืนด้วยท่าทางที่มั่นใจ และฝึกบุคลิกภาพเด็กให้ยืนในท่าทาง ดังนี้

    • ขณะยืนพยายามให้หัวตั้งตรง และมองตรงไปข้างหน้า
    • ให้ช่วงไหล่ขนานกับหู
    • แขม่วท้องพร้อมเกร็งแนวกระดูกเชิงกราน ขณะที่แอ่นไหลไปด้านหลัง

    2. จำกัดเวลาสำหรับการดูโทรทัศน์ การเล่นวิดีโอเกม หรือการใช้คอมพิวเตอร์

    ทุกครั้งที่ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ ควรปล่อยให้เด็กนั่งได้ไม่เกิน 20 นาทีต่อครั้ง และไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง/วัน เพื่อควบคุมทั้งเรื่องเวลา และการฝึกวินัย รวมทั้งบุคลิกลักษณะท่าทางต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลจากการนั่งหรืออยู่ในอิริยาบถเดิมนานเกินไปอาจกระทบต่อ ท่าทาง ผิดรูป ได้

    3. กระตุ้นให้ออกกำลังกาย

    การออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาบุคลิกภาพและท่าทางต่าง ๆ รวมทั้งยังช่วยลดความตึงเครียดที่หลัง หลังส่วนล่าง หรือกระดูกสันหลัง ไม่ว่าจะเป็นการวิดพื้น ท่าเกร็งสะโพกและยกก้น (squeezing) หรือท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อ รวมทั้งการออกกำลังกายแบบอื่น ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง สร้างความยืดหยุ่น และการทรงตัวที่ดี อาจจะเป็นการเล่นกีฬาโรงเรียน เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล เบสบอล ทั้งนี้ เด็กควรอยู่ในความควบคุมของครูหรือผู้ฝึกสอนอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยแนะนำและจัดท่าทาง ป้องกันอันตราย และควบคุมดูแลวิธีการยืดหยุ่นกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสม

    4. สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับท่าทาง

    พูดคุยและทำความเข้าใจกับเด็ก ๆ ถึงความสำคัญของการวางท่าทางร่างกายที่ถูกต้อง และผลเสียของการทรงตัวที่ผิดรูป ทั้งในเรื่องของบุคลิกภาพ และสุขภาพ หากเด็กเกิดความรู้สึกผิดปกติ จะได้รู้สึกวางใจในการพูดคุยหรือบอกเล่าให้ผู้ปกครองฟัง และเข้ารับการรักษาได้ทันหากการวางท่าทาง ผิดรูป เกิดจากปัญหาสุขภาพ

    5. รับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์

    จัดหาและส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของเด็กในแต่ละช่วงวัย เพราะการได้รับสารอาหารครบถ้วนนั้นจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์และเติบโตสมวัย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา