
ข้อบ่งใช้
คาพาสแตต® ซัลเฟต (ยาคาพรีโอมัยซิน) ใช้สำหรับ
คาพาสแตต® ซัลเฟต (Capastat® Sulfate) หรือ คาพรีโอมัยซิน (Capreomycin) ใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อรักษาการติดเชื้อวัณโรค ยาคาพรีโอมัยซินนั้นอยู่ในกลุ่มของยาปฏิชีวนะ เชื่อว่าทำงานโดยการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรควัณโรค
วิธีใช้คาพาสแตต® ซัลเฟต (ยาคาพรีโอมัยซิน)
โดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพจะฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ หรือหยอดยาเข้าหลอดเลือดดำนานกว่า 1 ชั่วโมง ตามปกติ คือวันละครั้งเป็นเวลา 2-4 เดือน แล้วจึงลดลงเหลือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสภาวะและการตอบสนองต่อการรักษา หรือตามที่แพทย์กำหนด ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ การทำงานของไต และการตอบสนองต่อการรักษา
หากคุณใช้ยานี้ที่บ้าน ควรเรียนรู้วิธีเตรียมการและวิธีใช้ยาทั้งหมดจากผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง โปรดสอบถามผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพให้เข้าใจก่อนใช้ยา
ก่อนใช้ยาควรตรวจสอบยาให้ดีว่ามีฝุ่นละอองหรือไม่ เมื่อผสมยาแล้ว ยาควรมีลักษณะเป็นสีเหลืองอ่อนมากจนเกือบใส อย่างไรก็ตาม ยาอาจมีสีเข้มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่ก็ไม่ทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงแต่อย่างใด หากยาน้ำมีฝุ่นละออง หรือเปลี่ยนเป็นสีอื่นที่ไม่ใช่สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองเข้ม อย่าใช้ยานี้
หากคุณฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ ควรเปลี่ยนที่ฉีดยาทุกครั้งเพื่อป้องกันการระคายเคือง และควรฉีดยาเข้าบริเวณกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น สะโพกหรือต้นขา เพื่อลดอาการปวดขณะฉีดยา
แม้ว่าอาการจะหายไปแล้ว ก็ต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด เพราะการหยุดใช้ยาเร็วเกินไป อาจทำให้การติดเชื้อกำเริบได้ การรักษาวัณโรค อาจต้องใช้เวลา 1-2 ปี หากจำเป็น แพทย์อาจให้คุณเปลี่ยนมาใช้ยารักษาโรคในรูปแบบรับประทาน
เพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด ควรใช้ยาปฏิชีวนะโดยเว้นระยะเวลาให้เท่ากัน และเพื่อให้จำง่ายขึ้น ควรรับประทานในเวลาเดียวกันทุกวัน หรือทุกสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์
อย่าใช้ยามากกว่า น้อยกว่า หรือใช้ยานานกว่าที่กำหนด และอย่าหยุดใช้ยานี้ และยารักษาวัณโรคอื่นๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์โดยเด็ดขาด เว้นแต่แพทย์จะสั่งให้ทำเช่นนั้น การข้ามมื้อยาหรือเปลี่ยนยาโดยที่แพทย์ไม่อนุมัติ อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียวัณโรคเพิ่มขึ้น ทำให้เชื้อดื้อยา หรือทำให้ผลข้างเคียงรุนแรงขึ้นได้ หากเชื้อวัณโรคดื้อต่อยานี้แล้ว ก็อาจจะดื้อต่อยารักษาโรควัณโรคอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
ควรเรียนรู้วิธีการเก็บรักษาและกำจัดเข็ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ และยาที่ไม่ได้ใช้อย่างปลอดภัย และห้ามใช้เข็มฉีดยาและกระบอกฉีดยาซ้ำ
หากอาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลง โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
การเก็บรักษาคาพาสแตต® ซัลเฟต (ยาคาพรีโอมัยซิน)
ควรเก็บยาคาพาสแตต® ซัลเฟตที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง หากมีข้อสงสัยควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย
ไม่ควรทิ้งคาพาสแตต® ซัลเฟตลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเภสัชกร
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้คาพาสแตต® ซัลเฟต (ยาคาพรีโอมัยซิน)
ก่อนใช้คาพาสแตต® ซัลเฟต โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีภาวะดังต่อไปนี้
- วางแผนตั้งครรภ์ กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่ตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
- กำลังใช้ยาอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
- แพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของซีร์เทค® หรือยาอื่นๆ หรือเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ
- มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ โดยเฉพาะ
- โรคไต
- ปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน
- ภาวะขาดน้ำ (dehydration)
- โรคตับ
- โรคกล้ามเนื้อบางชนิด เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (myasthenia gravis)
- โรคพาร์กินสัน
ยานี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้อาการวิงเวียนรุนแรงขึ้นได้ ฉะนั้น อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว จนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย และควรจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย
ยาคาพาสแตต® ซัลเฟตอาจทำให้วันซีคแบคทีเรียเชื้อเป็น เช่น วัคซีนไทรอยด์ ทำงานได้ไม่ดี ฉะนั้น อย่าสร้างภูมิคุ้มกันหรือรับวัคซีนโดยไม่แจ้งให้แพทย์ทราบ เว้นแต่แพทย์จะสั่ง
การทำงานของตับจะลดลงเมื่อคุณมีอายุเพิ่มมากขึ้น และตับมีหน้าที่กำจัดยานี้ออกจากร่างกาย ผู้สูงอายุจึงอาจมีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงระหว่างกำลังใช้ยานี้ได้มากกว่า
ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้
คาพาสแตต® ซัลเฟต (ยาคาพรีโอมัยซิน) จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)
การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้
- A = ไม่มีความเสี่ยง
- B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
- C = อาจจะมีความเสี่ยง
- D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
- X = ห้ามใช้
- N = ไม่ทราบแน่ชัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้ยาคาพาสแตต® ซัลเฟต (ยาคาพรีโอมัยซิน)
คาพาสแตต® ซัลเฟต อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากหนึ่งในอาการเหล่านี้รุนแรงขึ้น หรือไม่หายไป
- อาการปวด
- อาการระคายเคือง
- ผิวหนังแข็งขึ้น
โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากคำนวณแล้วว่า ยามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ
อย่างไรก็ตาม โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นแต่รุนแรง ต่อไปนี้
- สัญญาณของโรคไต เช่น ปัสสาวะมากขึ้นหรือน้อยลง สีปัสสาวะเปลี่ยนแปลง
- มีเสียงอื้อในหู มีปัญหากับการได้ยิน
- วิงเวียน
แจ้งให้แพทย์ทราบหากเกิดผลข้างเคียงที่หายากแต่รุนแรงมาก ดังนี
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเป็นตะคริว
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- มีรอยช้ำหรือเลือดออกง่าย
การแพ้ยานี้อย่างรุนแรงค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรง มีดังนี้
- ผดผื่น คันหรือบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ
- วิงเวียนขั้นรุนแรง
- หายใจติดขัด
ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
คาพาสแตต® ซัลเฟตอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับคาพาสแตต® ซัลเฟต ได้แก่
- ยาที่อาจเป็นอันตรายต่อไตหรือการได้ยิน เช่น แอมโฟเทอริซิน บี (Amphotericin B) โคลิสติน (Colistin) ไซโดโฟเวียร์ (Cidofovir) โพลีมิกซิน (Polymyxin)
- ยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) เช่น อะมิคาซิน (Amikacin) เจนตามัยซิน (Gentamicin) กานามัยซิน (Kanamycin) หรือโทบรามัยซิน (Tobramycin)
- ยาระงับความรู้สึกบางชนิด
เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์
คาพาสแตต® ซัลเฟตอาจมีปฏิกิริยากับอาหาร หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น
คาพาสแตต® ซัลเฟตอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาดยาของคาพาสแตต® ซัลเฟต (ยาคาพรีโอมัยซิน) สำหรับผู้ใหญ่
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรควัณโรค (Tuberculosis) – มีอาการอยู่
- ขนาดยาเริ่มต้น : 20 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำวันละครั้ง เป็นเวลา 60-120 วัน
- ขนาดยาปกติ : 1 กรัม ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ขนาดยาสูงสุด : 1 กรัม/วัน
- ระยะเวลาในการรักษา : 12-24 เดือน
คำแนะนำ
- ควรศึกษาความมีปฎิกิริยาไวก่อนเริ่มต้นการรักษา เพื่อหาว่ามีเชื้อสายพันธุ์มัยโคพลาสมาทูเบอร์คิวโลซิส (Mycoplasma tuberculosis) ที่มีปฏิกิริยาไวหรือไม่
- ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านวัณโรคที่มีปฏิกิริยาไวอื่นอย่างน้อย 1 ชนิด
- หากไม่สามารถใช้ยานี้ได้ ผู้ป่วยควรเปลี่ยนไปใช้การรักษาด้วยการรับประทานยาที่เหมาะสม
การใช้งาน
ใช้ร่วมกับยาต้านวัณโรคอื่นที่เหมาะสม เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ปอดที่เกิดจากเชื้อสายพันธุ์มัยโคพลาสมาทูเบอร์คิวโลซิสที่มีปฏิกิริยาไว เมื่อยาหลักที่ใช้ในการรักษา เช่น ไอโซไนอาซิด (Isoniazid) ไรแฟมพิน (Rifampin) อีแทมบูทอล (Ethambutol) กรดอะมิโนซาลิซิลิก (Aminosalicylic acid) สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) นั้นใช้ไม่ได้ผล หรือไม่สามารถใช้ได้เนื่องจากความเป็นพิษหรือมีเชื้อทูเบอร์เคิลแบซิลลัส (Tubercle Bacillus) ที่ดื้อยา
คำแนะนำจากสมาคมโรคทรวงอกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (ATS) ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐอเมริกา (US CDC) และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (IDSA)
- 15 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำวันละครั้ง หรือ 25 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
- ขนาดยาสูงสุด : 1 กรัม/วัน
การใช้งาน
ใช้เป็นยาทางเลือกที่สองสำหรับโรควัณโรคที่มีปฏิกิริยาไวต่อยาที่เกิดจากเชื้อที่มีปฏิกิริยาไว
ขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อรักษาโรควัณโรค (Tuberculosis) – มีอาการอยู่
คำแนะนำจากสมาคมโรคทรวงอกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (ATS) ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐอเมริกา (US CDC) และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (IDSA)
- 15-20 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำวันละครั้ง หรือ 15-25 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
- คำแนะนำ : ผู้ป่วยที่มีไตบกพร่องอาจจำเป็นต้องใช้ยาในขนาด 15 มก./กก. ให้ยาสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
- การใช้งาน : ใช้เป็นยาทางเลือกที่สองสำหรับโรควัณโรคที่มีปฏิกิริยาไวต่อยาที่เกิดจากเชื้อที่มีปฏิกิริยาไว
การปรับขนาดยาสำหรับไต
อาจได้รับความเข้มข้นในสภาวะคงที่ 10 ไมโครกรัม/มล. โดยการใช้ยาในขนาดต่อไปนี้
- ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) 110 มล./นาที : 13.9 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง
- ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 100 มล./นาที : 12.7 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง
- ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 80 มล./นาที : 10.4 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง
- ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 60 มล./นาที : 8.16 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง
- ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 50 มล./นาที : 7.01 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง หรือ 14 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 48 ชั่วโมง
- ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 40 มล./นาที : 5.87 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง หรือ 11.7 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 48 ชั่วโมง
- ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 30 มล./นาที : 4.72 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง หรือ 9.45 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 48 ชั่วโมง หรือ 14.2 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 72 ชั่วโมง
- ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 20 มล./นาที : 3.58 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง หรือ 7.16 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 48 ชั่วโมง หรือ 10.7 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 72 ชั่วโมง
- ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 10 มล./นาที : 2.43 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง หรือ 4.87 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 48 ชั่วโมง หรือ 7.3 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 72 ชั่วโมง
- ผู้ป่วยที่มีภาวะไร้ปัสสาวะ (anuric) คือ ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 0 มล./นาที : 1.29 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง หรือ 2.58 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 48 ชั่วโมง หรือ 3.87 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 72 ชั่วโมง
คำแนะนำจากสมาคมโรคทรวงอกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (ATS) ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐอเมริกา (US CDC) และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (IDSA)
- 15 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำวันละครั้ง หรือ 15-25 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
คำแนะนำอื่นๆ
คำแนะนำการใช้งาน
- การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ : ฉีดยาลึกเข้าไปในมวลกล้ามเนื้อขนาดใหญ่
- การให้ยาทางหลอดเลือดดำ : ให้ยาเป็นเวลานานกว่า 60 นาที
การเก็บรักษา
- สารละลายคืนรูปสามารถเก็บได้นานถึง 24 ชั่วโมงภายในตู้เย็น
เทคนิคการคืนรูปยาหรือการเตรียมการ
- ละลายยาในน้ำกลั่นที่ใช้ผสมยาฉีด หรือโซเดียมคลอไรด์ 0.9% ปล่อยทิ้งไว้ 2-3 นาทีเพื่อให้ละลายจนสมบูรณ์
- เขย่ายาให้ดีระหว่างการคืนรูปยา
ทั่วไป
- การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้ออย่างตื้นๆ อาจส่งผลให้มีอาการปวดเพิ่มขึ้นและฝีไร้เชื้อบริเวณที่ฉีด (Sterile Abscess)
- แม้สีของยาสารละลายจะเปลี่ยนไปเป็นสีฟางซีดเข้มขึ้น ก็ไม่ได้ทำให้ยาหมดฤทธิ์หรือเป็นพิษแต่อย่างใด
การเฝ้าระวัง
ควรมีการตรวจสอบดังต่อไปนี้ก่อนเริ่มต้นการรักษาและเป็นประจำหลังจากนั้น
- ตับ : ตรวจสอบสมรรถภาพของตับ
- กระบวนการเผาผลาญ : ระดับเซรั่มของแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียม
- ระบบประสาท : ตรวจการทำงานของประสาทหูชั้นใน (Vestibular function)
- อื่นๆ : วัดระดับออดิโอเมทริค (Audiometric measurements)
- ไต : ตรวจสอบสมรรถภาพของไต
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย
- แนะนำให้ผู้ป่วยแจ้งให้แพทย์ทราบหากตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร
- ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีผลข้างเคียงที่ผิดปกติหรือรุนแรง เช่น สัญญาณหรืออาการของความเป็นพิษต่อหู (Ototoxicity) และความเป็นพิษต่อไต (Nephrotoxicity)
ขนาดยาของคาพาสแตต® ซัลเฟต (ยาคาพรีโอมัยซิน) สำหรับเด็ก
ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรควัณโรค (Tuberculosis) – มีอาการอยู่
คำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (AAP)
- ทารก เด็ก และวัยรุ่น : 15-30 มก./กก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อวันละครั้ง
- ขนาดยาสูงสุด : 1 กรัม/วัน
- ระยะเวลาในการรักษา : 2 เดือน โดยใช้ร่วมกับไอโซไนอาซิด (Isoniazid) ไรแฟมพิน (Rifampin) และไพราซินาไมด์ (Pyrazinamide)
การใช้งาน
- การรักษาเสริมสำหรับโรควัณโรคที่ดื้อต่อยา
- การรักษาเสริมสำหรับเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่มีปฏิกิริยาไวต่อยา (drug-susceptible meningitis) ที่เกิดจากเชื้อไมโคแบคทีเรียม โบวิส (Mycobacteria bovis) ในเขตพื้นที่พบการดื้อต่อยาสเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) ได้มาก
คำแนะนำจากสมาคมโรคทรวงอกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (ATS) ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐอเมริกา (US CDC) และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (IDSA)
อายุน้อยกว่า 15 ปี และน้ำหนักน้อยกว่า 40 กก. :
- 15-20 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำวันละครั้ง หรือ 25-30 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำสัปดาห์ละสามครั้ง
อายุ 15 ปีขึ้นไป และ/หรือ น้ำหนักมากกว่า 40 กก. :
- 15 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำวันละครั้ง หรือ 25 มก./กก. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำสัปดาห์ละสามครั้ง
- ขนาดยาสูงสุด : 1 กรัม/วัน
- คำแนะนำ : ผู้ป่วยที่มีไตบกพร่องอาจจำเป็นต้องใช้ยาในขนาด 15 มก./กก. ให้ยาสัปดาห์ละสามครั้ง
- การใช้งาน : ใช้เป็นยาทางเลือกที่สองสำหรับโรควัณโรคที่มีปฏิกิริยาไวต่อยาที่เกิดจากเชื้อที่มีปฏิกิริยาไว
ข้อควรระวัง
ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพในผู้ป่วยเด็ก
รูปแบบของยา
ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้
- ยาผงสำหรับฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที
กรณีลืมใช้ยา
หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด