
ภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) เป็นภาวะที่พบได้น้อย เกิดจากการที่ผู้หญิงมีน้ำคร่ำมากจนเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่ออก
คำจำกัดความ
ภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) คืออะไร
ภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) เป็นภาวะที่พบได้น้อย เกิดจากการที่ผู้หญิงมีน้ำคร่ำมาก มากจนเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่ออก
อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยสังเกตเห็นอาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษา หากปล่อยไว้ระยะเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแท้งและการคลอดก่อนกำหนดได้
พบได้บ่อยเพียงใด
พบได้บ่อยในผู้หญิงป่วยโรคเบาหวาน
อาการ
อาการของภาวะน้ำคร่ำมาก
อาการของภาวะน้ำคร่ำมากเป็นผลมาจากแรงดันที่เกิดขึ้นภายในมดลูกและอวัยวะใกล้เคียงกับมดลูก ส่งให้ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์มีอาการ ดังต่อไปนี้
- หายใจไม่ค่อยออก
- แขน ขา ผนังหน้าท้อง มีอาการบวม
- รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของภาวะน้ำคร่ำมาก
ภาวะน้ำคร่ำมากเกิดจากสาเหตุหลายประการ ดังต่อไปนี้
- ภาวะน้ำคร่ำมากเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังต่อไปนี้
- ความผิดปกติทางกายภาพของทารก เช่น ข้อบกพร่องของเส้นประสาทไขสันหลัง ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร
- ตั้งครรภ์ฝาแฝด
- โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ข้อพบพร่องทางพันธุกรรม
- การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์
- ภาวะโลหิตจางของทารกในครรภ์
- การถ่ายเลือดในครรภ์ (กรณีมีลูกฝาแฝด)
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะน้ำคร่ำมาก
- คลอดก่อนกำหนด
- ภาวะเด็กกลับหัว
- สายสะดือย้อย
- โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยภาวะน้ำคร่ำมาก
ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการ ตรวจสอบดูด้วยด้วยวิธีอัลตราซาวด์หาความผิดปกติของทารกในครรภ์ หรือตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูพัฒนาการของอวัยวะภายในทารกและปริมาณน้ำคร่ำ ซึ่งจะช่วยบ่งบอกถึงสาเหตุและวินิฉัยโรคได้อย่างละเอียดแม่นยำ
การรักษาภาวะน้ำคร่ำมาก
การรักษาภาวะน้ำคร่ำมากขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล แพทย์อาจจ่ายยาให้ผู้ป่วยรับประทานเพื่อลดปริมาณน้ำคร่ำ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องทำการเจาะถ่ายน้ำคร่ำออกเพื่อลดปริมาณน้ำคร่ำ หากทารกอยู่ในตำแหน่งผิดที่ (กลับหัว) แพทย์จะทำการผ่าตัดคลอด
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะน้ำคร่ำมาก
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษา ภาวะน้ำคร่ำมากสามารถป้องกันตนเองได้ดังนี้
มารดาที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะน้ำคร่ำมาก ดังนั้นผู้ป่วยต้องรักษาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำคร่ำมากและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด