
ลิสเทริโอซิส (Listeriosis) เป็นโรคหายาก ที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อแบคทีเรีย ที่เรียกว่า แบคทีเรียลิสเทอเรีย โมโนไซโตจิเนส (Listeria Monocytogenes) ซึ่งอาหารส่วนใหญ่นั้นเป็นอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์แปรรูปที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถูกสุขอนามัย ผู้ป่วย โรคลิสเทริโอซิส จะมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เป็นต้น
คำจำกัดความ
ลิสเทริโอซิส (Listeriosis) คืออะไร
ลิสเทริโอซิส (Listeriosis) เป็นโรคที่หายากเกิดจากกการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า ลิสเทอเรีย โมโนไซโตจิเนส (Listeria Monocytogenes) ซึ่งอาหารส่วนใหญ่นั้นเป็นอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์แปรรูปที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถูกสุขอนามัย
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคลิสเทริโอซิสจะมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เป็นต้น
พบได้บ่อยเพียงใด
โรคลิสเทริโอซิส พบได้บ่อยในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ และผู้สูงอายุ
อาการ
อาการของโรคลิสเทริโอซิส
ผู้ป่วยโรคลิสเทริโอซิส จะมีอาการแสดงออกประมาณ 2-3 วัน หลังรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อลิสเทอเรีย โดยมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้
- มีไข้สูง
- คลื่นไส้และอาเจียน
- ท้องเสีย
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุของลิสเทริโอซิส
สาเหตุของโรคลิสเทริโอซิส
โรคลิสเทริโอซิส เกิดจากสาเหตุการติดเชื้อแบคทีเรียลิสเทอเรีย โมโนไซโตจิเนส (Listeria Monocytogenes) เชื้อแบคทีเรียมักพบในดิน น้ำ และอุจจาระสัตว์ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับเชื้อแบคทีเรียจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อลิสเทอเรีย ดังนี้
- ผักดิบที่ปนเปื้อนจากดิน หรือจากมูลสัตว์ที่ปนเปื้อนมาใช้เป็นปุ๋ย
- ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ไส้กรอก
- ผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรส์ ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคลิสเทริโอซิส
โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคลิสเทริโอซิสจะเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ได้แก่
การวินิจฉัยและการรักษา
การวินิจฉัยโรคลิสเทริโอซิส
แพทย์จะวินิจฉัยโรคลิสเทริโอซิสด้วยการนำเลือดมาตรวจเพื่อวิเคราะห์หาเชื้อลิสเทอเรีย
การรักษาลิสโรคเทริโอซิส
ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดและลดไข้ ร่วมกับแนะนำให้ผู้ป่วย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาโรคลิสเทริโอซิส มีดังนี้
- รักษาสุขอนามัย ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ก่อนและหลังจัดเตรียมอาหาร หลังจากปรุงอาหารเสร็จให้ล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย
- ล้างผักดิบ ล้างผักดิบให้สะอาดใช้น้ำไหลผ่านขณะล้าง
- ปรุงอาหาร ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิวัดอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารสุกทั่วถึง
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด