
กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome : CTS) เป็นภาวะที่ทำให้ข้อมือเกิดอาการชา เจ็บ มือไม่ค่อยมีแรง โดยเกิดเส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) ถูกกดทับหรือถูกบีบอัด
คำจำกัดความ
กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome : CTS) คืออะไร
กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome : CTS) เป็นภาวะที่ทำให้ข้อมือเกิดอาการชา เจ็บ มือไม่ค่อยมีแรง โดยเกิดเส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) ถูกกดทับหรือถูกบีบอัด
พบได้บ่อยเพียงใด
กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือพบบ่อยในผู้ที่เคลื่อนไหวข้อมือซ้ำ ๆ หรือผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไขข้ออักเสบ
อาการ
อาการของกลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ
ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ จะมีอาการดังต่อไปนี้
- อาการชา โดยปกติผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดและชาบริเวณนิ้วหรือมือโดยเฉพาะนิ้วกลางกับนิ้วนาง (ยกเว้นนิ้วก้อย)
- นิ้วอ่อนแรง มือมีอาการอ่อนแรง กล้ามเนื้อนิ้วหัวแม่มืออ่อนแรง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ทำสิ่งของหล่นจากมือ
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของกลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ
กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ เกิดจากการกดทับเส้นประสาทมีเดียน ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้
- ปัจจัยทางกายภาพ การแตกหักของข้อมือหรือโรคข้ออักเสบที่ทำให้กระดูกเกิดความผิดปกติ
- เพศ โดยส่วนใหญ่มักพบในเพศญิงมากกว่าเพศชาย
- พันธุกรรม โรคเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคเบาหวาน เพื่อความเสี่ยงต่อการถูกทำลายของเส้นประสาท
- ยาบางชนิด การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแอนแอสโทรโซล (Anastrozole) ยาที่ใช้รักษามะเร็งเต้านม
- ของเหลวคั่งในร่างกาย โดยเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน พบได้บ่อยในหญิงมีครรภ์และหญิงวัยหมดประจำเดือน
การวินิจฉัยและการรักษา
การวินิจฉัยของกลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ
แพทย์จะเริ่มจากการแตะที่ด้านฝ่ามือเพื่อทดสอบอาการผิดปกติของฝ่ามือ หรือที่เรียกว่าการทดสอบ Tinel’s sign รวมถึงการทดสอบอื่น ๆ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโรค ดังนี้
- การทดสอบทางกายภาพ เช่น การเอ็กซเรย์ อัลตราซาวน์ (Ultrasound) หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic ResonanceImaging : MRI) เพื่อตรวจความผิดปกติของกระดูกและเนื้อเยื่อ
- การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (Electrodiagnosis) การตรวจกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยระบบไฟฟ้า
การรักษาของของกลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ
การรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล โดยวิธีการรักษาส่วนใหญ่จะเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมีวิธีการรักษา ดังนี้
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตประจำวัน การเคลื่อนไหวที่ข้อมือซ้ำ ๆ อาจทำให้เสี่ยงการเกิดโรคดังกล่าวได้ จึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการหยุดพักขณะทำกิจกรรมซ้ำ ๆ เป็นเวลานานเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้น้อยลง
- ออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ และระบบประสาทได้ดีขึ้น
- กายภาพบำบัด เช่นการใส่เฝือก เพื่อลดแรงการกดทับของเส้นประสาท
- ยา แพทย์อาจจ่ายยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อลดอาการบวม
- การผ่าตัด หากวิธีการรักษาข้างต้นที่กล่าวมาไม่ได้ผล แพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อลดแรงกดที่เส้นประสาทมีเดียน
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษากลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือมีดังนี้
- หยุดพักบ้างเมื่อทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ
- วางมือและข้อมือในตำแหน่งที่เหมาะสมในขณะทำงาน
- ใส่เฝือกหรือรั้งที่ทำให้ข้อมืออยู่ในตำแหน่งที่เป็นกลาง
- รักษาความอบอุ่นของมือ เพื่อลดอาการปวดตึง
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด