
กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome) เป็นภาวะทางพันธุกรรมในเด็กทารกเพศชายที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม X มากกว่าปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยเจริญเติบโตทางร่างกายผิดปกติ เช่นมวลลกล้ามเนื้อลดลง ขนบนใบหน้าลดลง เนื้อเยื่อเต้านมขยายใหญ่ขึ้น ลูกอัณฑะมีขนาดเล็กกว่าปกติซึ่งอาจนำไปสู่การผลิตฮอร์โมนเพศชายลดลง เป็นต้น
คำจำกัดความ
กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome) คืออะไร
กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome) เป็นภาวะทางพันธุกรรมในเด็กทารกเพศชายที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม X มากกว่าปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยเจริญเติบโตทางร่างกายผิดปกติ เช่นมวลลกล้ามเนื้อลดลง ขนบนใบหน้าลดลง เนื้อเยื่อเต้านมขยายใหญ่ขึ้น ลูกอัณฑะมีขนาดเล็กกว่าปกติซึ่งอาจนำไปสู่การผลิตฮอร์โมนเพศชายลดลง เป็นต้น
พบได้บ่อยเพียงใด
กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทารกเพศชาย
อาการ
อาการของกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์
ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ มักไม่มีอาการแสดงออกชัดเจนในช่วงวัยเด็ก แต่จะมีอาการแสดงออกชัดเจนในช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ โดยมีลักษณะอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้
ทารก
- ไส้เลื่อน
- พูดน้อย
- มีพัฒนาการและการเจริญเติบโตช้า
- ลูกอัณฑะยังไม่หลุดเข้าไปในถุงอัณฑะ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
วัยเด็ก
- การเรียนรู้ช้ากว่าปกติ เช่า การพูด การอ่าน การเขียน
- ขี้อาย ไม่มีความมั่นใจในตนเอง
- วัยรุ่น
- หน้าอกใหญ่กว่าปกติ
- กล้ามเนื้อเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
- ช่วงแขนและขายาว แต่ช่วงลำตัวสั้น สะโพกกว้าง
- อวัยวะเพศมีขนาดเล็ก ขนาดลูกอัณฑะเล็กลง
วัยผู้ใหญ่
- ภาวะมีบุตรยาก
- แรงขับทางเพศต่ำ
- ฮอร์โมนเพศชายต่ำ
- อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์
กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมเพศชาย (โครโมโซม X เกินมา 1 ตัว) ซึ่งโดยปกติทั่วไปจะมีโครโมโซมทั้งหมด 46 ตัว แต่ในผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์จะมีโครโมโซมทั้งหมด 47 ตัว นอกจากนี้อาจเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในรูปแบบอื่น ๆ ดังนี้
- โครโมโซม X เพิ่มขึ้น 1 ตัว ในแต่ละเซลล์ (XXY) ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด
- โครโมโซม X เพิ่มขึ้นในบางเซลล์ ทำให้เกิดภาวะโมเซอิค (Mosaic Klinefelter Syndrome)
- โครโมโซม X เพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ตัวในแต่ละเซลล์ ซึ่งสาเหตุนี้หายากและส่งผลให้เกิดอาการรุนแรง
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์
กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ มีปัจจัยเกิดจากทางพันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติอยู่ในกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ อาจส่งผลให้มีโอกาสเป็นกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ได้มากกว่าคนปกติทั่วไป
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์
สำหรับการวินิจฉัยกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ ในเบื้องต้นแพทย์จะเริ่มต้นด้วยการสอบถามประวัติอาการ และตรวจสุขภาพผู้ป่วย เช่น ตรวจบริเวณหน้าอก อวัยวะเพศ อัณฑะ รวมถึงทำการทดสอบอื่น ๆ เพื่อวินิจฉัยโรค เช่น การวิเคราะห์โครโมโซม การทดสอบฮอร์โมน เป็นต้น
การรักษากลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์
ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ให้หายขนาดได้ วิธีในการรักษามุ่งเน้นในการบรรเทาอาการผู้ป่วย หากยิ่งได้รับการรักแต่เนิ่น ๆ ก็จะยิ่งดีต่อสุขภาพ
โดยในเบื้องต้นแพทย์อาจเริ่มจากการบำบัดด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน นั่นคือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone Replacement Therapy) เพื่อไปกระตุ้นฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง ช่วยเรื่องขนาดอวัยวะเพศ รวมถึงวิธีการรักษาอื่น ๆ การบำบัดด้วยคำพูด การรักษาภาวะเจริญพันธุ์ กายภาพบำบัด เป็นต้น
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษากลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์
การป้องกันตนเองจากอาการไคลน์เฟลเตอร์ สามารถลดความเสี่ยงได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้
หากลูกของคุณอยู่ในกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ ควรดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะเขามีพัฒนาการเจริญเติบโตและการเรียนรู้แตกต่างจากคนปกติทั่วไป รวมถึงการดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร สุขอนามัย นอกจากนี้ควรพาไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็กสุขภาพเป็นประจำ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด