
แม้ว่าผู้ชายจะไม่มีหน้าอกเหมือนผู้หญิง แต่พวกผู้ชายยังมีเนื้อเยื่อหน้าอกอยู่เล็กน้อย และก็มีโอกาสเกิด มะเร็งเต้านมในผู้ชาย ได้เช่นกัน
คำจำกัดความ
มะเร็งเต้านมในผู้ชาย คืออะไร
มะเร็งเต้านมเป็นเนื้องอกร้าย ที่เริ่มจากเซลล์ของหน้าอก แม้ว่าผู้ชายจะไม่มีหน้าอกเหมือนผู้หญิง แต่พวกผู้ชายยังมีเนื้อเยื่อหน้าอกอยู่เล็กน้อย หน้าอกของผู้ชายมีความคล้ายคลึงกับผู้หญิงในช่วงก่อนเข้าวัยเจริญพันธุ์ ในผู้หญิง เนื้อเยื่อหน้าอกจะเจริญเติบโตขึ้น ซึ่งสวนทางกับผู้ชาย ที่ไม่มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นของหน้าอก
ผู้ชายสามารถเป็นมะเร็งเต้านมประเภทเดียวกับผู้หญิงได้เช่นกัน แต่โอกาสในการเกิดมีน้อย
มะเร็งเต้านมในผู้ชาย พบได้บ่อยแค่ไหน
มะเร็งเต้านมในผู้ชายสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของคุณ โปรดปรึกษากับหมอของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
มะเร็งเต้านมในผู้ชายมีอาการอะไรบ้าง
อาการหลักของมะเร็งเต้านมในผู้ชาย คือจะมีก้อนเนื้อแข็งที่หน้าอกข้างใดข้างหนึ่ง ก้อนเนื้อจะไม่สร้างความเจ็บปวดใดๆ และตำแหน่งเกิดจะอยู่ใต้หัวนม และฐานหัวนม (ผิวหนังสีเข้มที่ล้อมรอบหัวนม)
อย่างไรก็ตาม ก้อนหน้าอกส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากอาการที่เรียกว่า ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย (gynaecomastia) เป็นอาการไม่ก่อมะเร็งที่พบได้ทั่วไป เมื่อเนื้อเยื่อหน้าอกของผู้ชายขยายใหญ่ขึ้น
อาการที่พบเห็นได้ยากของมะเร็งเต้านมในผู้ชาย ได้แก่
- การดึงรั้งกลับของหัวนม (nipple retraction)
- หัวนมแข็ง อักเสบ และมีแผล (nipple ulceration)
- มีของเหลวไหลออกมาจากหัวนม (nipple discharge)
อาการเพิ่มเติมมักจะเกิดขึ้นเมื่อมะเร็งได้ลุกลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย อย่างเช่น กระดูก ตับหรือปอด อาการเรียกว่า มะเร็งเต้านมแพร่กระจาย (metastatic breast cancer) อาการของมะเร็งเต้านมแพร่กระจาย ได้แก่
- เจ็บกระดูก
- การบวมของต่อมน้ำเหลืองในรักแร้หรือรอบรักแร้
- หายใจถี่
- รู้สึกเหนื่อยผิดปกติตลอดเวลา
- รู้สึกคลื่นไส้
- ดีซ่าน
อาจมีอาการบางประเภทที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ข้างบน ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาหมอของคุณ
เมื่อไหร่ที่ควรพบหมอ
หากคุณมีสัญญาณหรืออาการอะไรก็ตามที่เหมือนอาการตามด้านบน หรือ หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษากับหมอของคุณ ร่างกายของทุกคนแสดงออกแตกต่างกันไป มันจึงดีที่สุดเสมอในการปรึกษากับหมอของคุณ ว่า อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
มะเร็งเต้านมในผู้ชายมีสาเหตุมาจากอะไร
ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดถึงการเกิดมะเร็งเต้านมในเพศชาย แม้ว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ คุณสามารถอ้างอิงถึงหัวข้อของปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคนี้ได้
ปัจจัยเสี่ยง
อะไรที่เพิ่มความเสี่ยงของ มะเร็งเต้านมในผู้ชาย
เป็นสิ่งที่พบได้ยากสำหรับผู้ชายวัยต่ำกว่า 35 ปี ที่จะเป็นมะเร็งเต้านม โอกาสในการเกิดมะเร็งในผู้ชายเพิ่มขึ้นตามอายุ มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ชายในวัยระหว่าง 60 และ 70 ปี ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของมะเร็งเต้านมในผู้ชาย ได้แก่
- มะเร็งเต้านมในญาติผู้หญิงที่มีความใกล้ชิด
- ประวัติการสัมผัสรังสีของหน้าอก
- เต้านมโตในผู้ชาย ที่มีสาเหตุจากยา การรักษาด้วยฮอร์โมน การติดเชื้อหรือสารพิษ
- การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน
- อาการที่พบได้ยากทางกรรมพันธุ์ ที่เรียกว่า อาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter’s syndrome)
- ตับแข็ง (cirrhosis)
- โรคทางอัณฑะ อย่างเช่น อัณฑะอักเสบจากคางทูม (mumps orchitis) การบาดเจ็บของอัณฑะ หรือภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง (undescended testicle)
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่สามารถทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ควรปรึกษาหมอของคุณทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติม
มะเร็งเต้านมในผู้ชายวินิจฉัยได้อย่างไร
หากคุณมีอาการของมะเร็งเต้านมในผู้ชาย อย่างเช่นเต้านมแข็ง รู้สึกถึงก้อนเนื้อในหน้าอกข้างใดข้างหนึ่ง หมอจะตรวจร่างกายคุณด้วยความระมัดระวัง ระหว่างการตรวจ หมอจะมองหาสัญญาณอื่นๆ ของมะเร็งเต้านมในผู้ชายด้วย อย่างเช่น การบวมของต่อมน้ำเหลือง มีโอกาสที่หมอของคุณจะแนะนำให้คุณตรวจอย่างอื่นเพิ่ม หากคุณมีความเป็นไปได้ในการเป็นมะเร็งเต้านม การตรวจเหล่านี้ ได้แก่
- แมมโมแกรม (Mammogram) เป็นการเอ็กซเรย์ประเภทหนึ่งที่ใช้เพื่อระบุว่า มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อหน้าอกที่อาจเป็นสาเหตุในการเกิดมะเร็งหรือไม่ ระหว่างการฉายแมมโมแกรม รังสีแพทย์ (ผู้เชี่ยวชาญในการเอ็กซ์เรย์) จะกดหน้าอกข้างใดข้างหนึ่งของเรา วิธีนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่คุณควรแจ้งรังสีแพทย์หากคุณรู้สึกเจ็บขึ้นมา เมื่อตำแหน่งหน้าอกของคุณเข้าที่ ภาพเอ็กซ์เรยที่แสดงภาพภายในหน้าอกจะถูกสร้างขึ้น และวิธีนี้จะถูกทำอีกครั้งที่หน้าอกอีกข้างของคุณ
- อัลตร้าซาวด์ การสแกนอัลตร้าซาวนด์จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการสร้างภาพภายในหน้าอกของคุณ เครื่องตรวจอัลตร้าซาวนด์หรือเซนเซอร์จะถูกวางไว้เหนือหน้าอก เพื่อสร้างภาพภายในหน้าอกขึ้นไปบนจอ ภาพที่ได้จะแสดงก้อนเนื้อหรือสิ่งผิดปกติใดๆ ก็ตามที่อาจเกิดขึ้นในหน้าอกของคุณ
- การตรวจชิ้นเนื้อ การตรวจชิ้นเนื้ออาจเป็นวิธีแนะนำ หากแมมโมแกรมหรือการสแกนอัลตร้าซาวนด์ แสดงถึงก้อนเนื้อหรือสิ่งผิดปกติใดๆในหน้าอกของคุณ การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจจะเป็นการตรวจที่จะยืนยันหรือยกเลิกการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมในผู้ชาย วิธีนี้ยังรวมถึงการนำเนื้อเยื่อตัวอย่างที่ก่อมะเร็งไปตรวจสอบในแล็บ เพื่อหาการปรากฎตัวของเซลล์ก่อมะเร็ง
มะเร็งเต้านมในผู้ชาย รักษาได้อย่างไร
การรักษามะเร็งเต้านมในผู้ชายจะใช้วิธีการรักษาเดียวกันกับมะเร็งเต้านมในผู้หญิง วิธีการเหล่านั้น ได้แก่ การผ่าตัด การฉายรังสี เคมีบำบัด ชีวบำบัด และฮอร์โมนบำบัด ข้อแตกต่างใหญ่ข้อหนึ่งคือ ผู้ชายที่เป็นมะเร็งเต้านม จะมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนบำบัดได้ดีกว่าผู้หญิง ประมาณร้อยละ 90 ของมะเร็งเต้านมในผู้ชาย จะมีตัวรับฮอร์โมน ซึ่งหมายความว่า ฮอร์โมนบำบัดจะได้ผลในการรักษามะเร็งในผู้ชายส่วนใหญ่
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการกับมะเร็งเต้านมในผู้ชาย
ไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณจัดการกับมะเร็งเต้านมในผู้ชายได้
- สร้างทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ ลองบริโภคอาหารที่มีประโยชน์หรืออกกำลังกายมากขึ้น ลดการบริโภคแอลกอฮอล์ หรือเลิกสูบบุหรี่ รักษาระดับความเครียดให้อยู่ในการควบคุม
- บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ การบริโภคอาหารที่ถูกต้องเป็นเรื่องยากสำหรับทุกคน แต่มันเป็นเรื่องยากยิ่งกว่าเมื่ออยู่ระหว่างการรักษาหรือหลังการรักษา การรักษาอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของประสาทรับรสของคุณ อาการคลื่นไส้อาจเป็นปัญหาของคุณเช่นกัน คุณอาจรู้สึกเบื่ออาหารและน้ำหนักลดลง หรือคุณอาจมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นที่ดูเหมือนว่าจะลดไม่ได้ คุณอาจพบว่าการบริโภคอาหารเล็กน้อยทุกๆ 2-3 ชั่วโมงจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ คุณอาจอยากพบนักโภชนาการ ผู้เชี่ยวชาญทางโภชนาการ ผู้ที่จะสามารถมอบแนวคิดในการรับมือกับการรักษาผลข้างเคียงเหล่านี้ได้อย่างไร
- การพักผ่อน ความอ่อนล้า และการออกกำลังกาย ความเหนื่อยล้าขั้นรุนแรงเป็นอาการที่พบเห็นได้บ่อยในผู้ป่วยรักษามะเร็ง สิ่งนี้ไม่ใช่ความเหนื่อยทั่วๆ ไป แต่เป็นอาการเหนื่อยล้าของกระดูกที่ไม่สามารถดีขึ้นได้ด้วยการพักผ่อน สำหรับบางคน อาการเหนื่อยล้าจะยังอยู่เป็นเวลานานหลังการรักษา และจะทำให้เกิดความลำบากสำหรับผู้ป่วยในการออกกำลังกาย หรือทำอย่างอื่นที่ผู้ป่วยอยากทำ แต่การออกกำลังกายสามารถลดอาการเหนื่อยล้าได้ หากคุณรู้สึกป่วยและเซื่องซึมระหว่างการรักษา การทำกิจกรรมทางร่างกายใดๆ ก็ตามจะเหมาะกับสถานการณ์ของคุณ ปรึกษากับทีมแพทย์ของคุณก่อนตัดสินใจทำอะไร ถามความเห็นของพวกเขาเกี่ยวกับแผนออกกำลังกายของคุณ จากนั้นเริ่มโปรแกรมออกกำลังกายโดยลองหาคู่หูออกกำลังกาย ด้วยการชวนเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัว เพื่อเพิ่มกำลังใจและแรงสนับสนุนในการออกกำลังกายต่อไปเรื่อยๆ
หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับหมอของคุณ เพื่อเข้าใจวิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับตัวคุณเอง
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด