เครื่องคำนวณหา ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คืออะไร
ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นการประมาณค่าของไขมันในร่างกาย ตามความสูงและน้ำหนัก แต่การวัดค่าดัชนีมวลกายไม่ใช่การวัดค่าไขมันในร่างกายโดยตรง แต่เป็นการประมาณค่าโดยใช้สมการแทนค่า ซึ่งค่าดัชนีมวลกายที่ได้จากการคำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูงสามารถบอกได้ว่าน้ำหนักนั้นอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่
ค่าดัชนีมวลกายสูง อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าค่าไขมันในร่างกายมากเกินไป แต่หากค่าดัชนีมวลกายต่ำอาจเป็นสัญญาณว่ามีไขมันในร่างกายน้อยเกินไป ยิ่งค่าดัชนีมวลกายของคุณสูงขึ้นเท่าใด ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ได้มากขึ้นเท่านั้น ปัญหาสุขภาพไม่ได้เกิดขึ้นจากค่าดัชนีมวลกายสูงอย่างเดียว เพราะการมีค่าดัชนีมวลกายต่ำมาก ก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน เช่น การสูญเสียมวลกระดูก ระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหา โรคโลหิตจาง
ในขณะเดียวกัน การคำนวณค่าดัชนีมวลกายก็เป็นประโยชน์ในการคัดกรองเด็กและผู้ใหญ่เพื่อหาภาวะน้ำหนักตัวเกิน แต่ก็มีข้อจำกัดว่า ค่าดัชนีมวลกาย อาจจะมีการประเมินค่าหรือปริมาณไขมันในร่างกายที่สูงเกินไป ในนักกีฬาและคนอื่น ๆ ที่มีกล้ามเนื้อมาก
ค่าดัชนีมวลกายสำหรับผู้ใหญ่
ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถตีความค่าดัชนีมวลกายได้ตามสถานะน้ำหนักมาตรฐานต่อไปนี้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเหมือนกันสำหรับผู้ชายและผู้หญิงทุกวัยและทุกประเภทร่างกาย
ค่าสถานะน้ำหนัก BMI
- ต่ำกว่า 18.5 : น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
- 18.5 – 24.9 : ปกติ
- 25.0 – 29.9 : น้ำหนักเกิน
- มากกว่า 30.0 : เสี่ยงเป็นโรคอ้วน
ค่าดัชนีมวลกายในเด็ก
เด็กและวัยรุ่นมีการใช้ค่าดัชนีมวลกายสูตรเดียวกัน ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับอายุและเพศ เพราะปริมาณไขมันในร่างกายจะมีความเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ นอกจากนี้ ยังมีความแตกต่างกันในเด็กชาย และเด็กหญิง โดยเด็กผู้หญิงมักจะมีระดับไขมันในร่างกายสูงกว่าและมีการพัฒนาเร็วกว่าเด็กผู้ชาย ซึ่งตารางต่อไปนี้ เป็นการแสดงช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์สำหรับแต่ละสถานะน้ำหนัก
สถานะน้ำหนักเปอร์เซ็นไทล์
- ต่ำกว่า 5 : ต่ำกว่าเกณฑ์
- 5 – 85 : น้ำหนักปกติหรือมีสุขภาพดี
- 85 – 95 : น้ำหนักเกินมาตราฐาน
- มากกว่า 95 : โรคอ้วน
หากต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เพิ่มเติม คลิก