backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

คางทูม สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 15/10/2021

คางทูม สาเหตุ อาการ และการรักษา

คางทูมเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในบริเวณต่าง ๆ เช่น ต่อมน้ำลาย ทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม ปวดหัว และอาการคล้ายไข้หวัด ที่สามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ผ่านทางน้ำลายหรือน้ำมูก สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยา และการพักผ่อนเพื่อให้อาการบรรเทาลง

คำจำกัดความ

คางทูมคืออะไร

คางทูม คือโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้หลายตำแหน่งทั่วร่างกาย แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือการติดเชื้อที่บริเวณต่อมน้ำลายหน้ากกหู (parotid gland) ทำให้เกิดอาการบวม อักเสบ ปวดหัว และอาการอื่น ๆ ที่คล้ายไข้หวัด เช่น ตัวร้อน มีน้ำมูก

คางทูมสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ผ่านทางการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก เมื่อผู้ป่วยพูด จาม หรือไอ รวมไปถึงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยคางทูม ตามปกติแล้ว ผู้ที่เคยเป็นโรคคางทูม มักจะไม่เป็นโรคนี้อีกเป็นครั้ง 2 เพราะร่างกายอาจสสามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อครั้งต่อไปได้

อาการ

อาการของคางทูม

อาการของโรคคางทูมมักจะปรากฏภายใน 14 วัน หลังจากได้รับเชื้อไวรัส โดยเริ่มแรกจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีไข้สูง และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะ
  • อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ปวดขณะเคี้ยวหรือกลืนอาหาร
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • ปวดบริเวณต่อมน้ำลายทั้งสองข้างของใบหน้า
  • เบื่ออาหาร

สาเหตุ

สาเหตุของคางทูม

คางทูมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) ที่แพร่กระจายผ่านทางละอองฝอย เช่น น้ำลาย น้ำมูก เมื่อผู้ป่วยพูด ไอ และจาม หรืออาจติดจากการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยคางทูม ช่วงเวลาที่เสี่ยงแพร่เชื้อมากที่สุด คือช่วงประมาณ 2 วันก่อนมีอาการ ไปจนถึง 5 วันหลังจากมีอาการ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของคางทูม

ผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน (MMR vaccine) อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคคางทูม

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยคางทูม

คุณหมอจะทำการตรวจร่างกายและตรวจดูอาการเบื้องต้น หากสังเกตพบว่ามีอาการคล้ายกับโรคคางทูม คุณหมออาจจะถามว่าผู้ป่วยได้ฉีดวัคซีนป้องกันคางทูมหรือไม่ จากนั้นก็อาจทำการเจาะเลือดตรวจ เพื่อหาเชื้อพารามิคโซไวรัสที่อาจเป็นสาเหตุของโรคคางทูม

การรักษาคางทูม

เนื่องจากโรคคางทูมเป็นการติดเชื้อไวรัส จึงไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะหรือยาอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคคางทูมก็อาจเน้นไปที่การรักษาตามอาการ และการเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ดังนี้

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานยาแก้ปวดเพื่อลดอาการไข้ เช่นไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
  • ใช้นำแข็งประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดบวม
  • รับประทานอาหารอ่อน ๆ หรืออาหารที่ง่ายต่อการเคี้ยว เช่น น้ำซุป โยเกิร์ต
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเปรี้ยวและเครื่องดื่มที่อาจไปกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายเกิดอาการปวดบวม มากยิ่งขึ้น

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันคางทูม

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ได้ให้คำแนะนำในการป้องกันโรคคางทูม โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน เด็กที่อายุ 12-15 เดือน ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมันเข็มแรก จากนั้นก็ควรรับวัคซีนเข็มที่สองเมื่อมีอายุ 4-6 ปี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 15/10/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา