
มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นมะเร็งของเซลล์เม็ดเลือด มีเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ไม่ทำให้เกิดก้อนเนื้อ แต่ทำให้เกิดการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวผิดปกติที่มากเกินไป
คำจำกัดความ
มะเร็งเม็ดเลือดขาว คืออะไร
มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) เป็นมะเร็งของเซลล์เม็ดเลือด มีเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่งสร้างจากไขกระดูก ซึ่งเป็นเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มและคล้ายฟองน้ำ ที่พบในช่องกลางของกระดูก โดยแตกต่างจากมะเร็งชนิดอื่นๆ มะเร็งเม็ดเลือดขาวไม่ทำให้เกิดก้อนเนื้อ (tumor) แต่ทำให้เกิดการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวผิดปกติที่มากเกินไป เซลล์เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนและสารอื่นๆ ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ต้านการติดเชื้อ และเกล็ดเลือดช่วยเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เซลล์เม็ดเลือดจำนวนหลายแสนล้านเซลล์มีการสร้างขึ้นใหม่ในไขกระดูกทุกวัน ซึ่งทำให้ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดที่ใหม่และแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวมักเกี่ยวข้องกับเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยให้ร่างกายต้านการติดเชื้อ ดังนั้น เซลล์ผิดปกติเหล่านี้ ซึ่งเรียกว่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemic cells) ไม่สามารถต้านการติดเชื้อตามที่เซลล์เม็ดเลือดขาวที่แข็งแรงสามารถทำได้ เมื่อเวลาผ่านไป การสะสมตัวของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวยังมีผลต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดอื่นๆ อีกด้วย ท้ายที่สุดแล้ว ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยเกินไป สำหรับการลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย มีเกล็ดเลือดในปริมาณน้อยเกินไปสำหรับการแข็งตัวที่เหมาะสม และมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่แข็งแรงในจำนวนน้อยเกินไป สำหรับการต้านการติดเชื้อ ผู้ที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีความเสี่ยงในการเกิดรอยฟกช้ำ มีเลือดออก และการติดเชื้อ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวมีหลายประเภท ซึ่งจำแนกได้โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวในประเภทเฉพาะที่เกี่ยวข้อง มะเร็งเม็ดเลือดขาวประเภทหลัก ได้แก่ ประเภทมัยอีโลจีนัส (Myelogenous) และประเภทลิมโฟไซต์ (Lymphocytic) และแต่ละประเภทมีในรูปแบบเฉียบพลัน (acute) (เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว) และเรื้อรัง (chronic) (เกิดขึ้นอย่างช้าๆ) มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน (Acute leukemia) ส่วนใหญ่ส่งผลต่อเซลล์ที่ยังไม่เจริญเติบโตหรือเจริญเติบโตไม่เต็มที่ และขัดขวางเซลล์ไม่ให้เจริญเติบโตและทำงานได้ตามปกติ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง (Chronic leukemia) เกิดขึ้นได้ช้ากว่าจึงทำให้ร่างกายยังคงมีเซลล์ที่แข็งแรงหลงเหลือเพื่อที่จะต้านการติดเชื้อ
พบได้บ่อยเพียงใด
มะเร็งเม็ดเลือดขาวพบได้มากในเด็กและวัยรุ่น นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อผู้ใหญ่ได้มากกว่า มักส่งผลต่อผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง และพบในชาวคอเคเซียนได้มากกว่าในชาวแอฟริกันอเมริกัน มะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถส่งผลได้ต่อคนทุกวัย สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของ มะเร็งเม็ดเลือดขาว
อาการทั่วไปของมะเร็งเม็ดเลือดขาว ได้แก่
- โลหิตจาง (Anemia) ผิวซีด เกิดจากมีเซลล์เม็ดเลือดแดงจำนวนน้อยกว่าปกติ
- มีเลือดออกบ่อยจากเหงือก ทวารหนัก หรือจมูก
- มีจุดขนาดเล็กบนผิวหนัง (petechiae)
- มีความไวต่อการติดเชื้อ
- เป็นไข้หรือหนาวสั่นบ่อย
- มีก้อนหรือต่อมบวมเกิดขึ้นใหม่ในคอ ใต้แขน หรือในขาหนีบ
- น้ำหนักลด
- มีอาการอ่อนเพลียและหมดแรงเรื้อรังและหาสาเหตุไม่ได้
- ปวดกระดูก
- มีอาการกดเจ็บ
- มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน
- มีอาการบวมและอาการปวดที่ช่องท้องด้านซ้าย
อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของ มะเร็งเม็ดเลือดขาว
นักวิทยาศาสตร์ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว เชื่อกันว่าสิ่งกระตุ้นคือ ปัจจัยร่วมกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปแล้ว มะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดจำนวนหนึ่ง มีการผ่าเหล่า (mutations) ในดีเอ็นเอ ซึ่งอยู่ภายในเซลล์แต่ละเซลล์ที่เป็นแนวทางการทำหน้าที่ของเซลล์ อาจมีความเปลี่ยนแปลงอื่นภายในเซลล์ ที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจโดยละเอียด และอาจทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
มีปัจจัยเสี่ยงบางประการสำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาว เช่น
- การได้รับการฉายรังสีมากเกินไป การสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตราย
- การรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี
- ภาวะต่างๆ ที่เกิดจากโครโมโซมที่ผิดปกติ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัย มะเร็งเม็ดเลือดขาว
คุณอาจเข้ารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยดังต่อไปนี้
- การตรวจร่างกาย อาการผิวซีดจากเลือดจาง ต่อมน้ำเหลืองโต และตับและม้ามโต จัดเป็นสิ่งบ่งชี้ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- การตรวจเลือด การตรวจประเภทนี้สามารถระบุว่าคุณมีเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือดในระดับที่ผิดปกติหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- การตรวจไขกระดูก การตรวจเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉพาะทางอาจแสดงให้เห็นลักษณะบางประการที่ใช้กำหนดทางเลือกในการรักษาได้
การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว
ทางเลือกในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวจะขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพโดยรวม ประเภทของมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่คุณเป็น และมีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายหรือไม่
การรักษาทั่วไปที่ใช้ต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว ได้แก่
- เคมีบำบัด เป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาว การรักษาด้วยยาประเภทนี้ใช้สารเคมีต่างๆ เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- การรักษาทางชีวภาพ การรักษาทางชีวภาพดำเนินการได้โดยการใช้การรักษาต่างๆ ที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสามารถระบุและต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
- การรักษาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy) การรักษาเจาะจงเซลล์มะเร็งใช้ยาชนิดต่างๆ ที่ต่อต้านความอ่อนแอภายในเซลล์มะเร็ง
- การฉายรังสี การฉายรังสีใช้รังสีเอกซเรย์หรือรังสีพลังงานสูงอื่นๆ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวและขัดขวางการเจริญเติบโตของเซลล์ดังกล่าว
- การฉายรังสีอาจใช้เพื่อเตรียมการสำหรับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell transplant)
- การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell transplant) การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเป็นกระบวนการเพื่อแทนที่ไขกระดูกที่อ่อนแอด้วยไขกระดูกที่แข็งแรง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการมะเร็งเม็ดเลือดขาว
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณจัดการมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
- อาหารที่สมดุล
- ออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงความเครียด
- หลีกเลี่ยงการฉายรังสีในขนาดที่สูง
- ป้องกันตนเองจากสารเคมีที่เป็นพิษ เช่น เบนซีน
- ไม่สูบบุหรี่
- การใช้เครื่องเทศจำพวกขิงในปริมาณเล็กน้อย หรือลูกอมหรือชา สามารถช่วยสำหรับอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนได้
- เข้านอนให้ตรงเวลาเพื่อสร้างนิสัยการนอน
- ให้เวลาเพื่อพักผ่อนให้มาก
- รับความช่วยเหลือที่คุณมีความจำเป็น ใช้เวลากับผู้ที่ห่วงใยคุณ และให้พวกเขาช่วยเหลือคุณ
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด