backup og meta

ตกเลือดหลังคลอด เกิดขึ้นได้อย่างไร และเป็นอันตรายหรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    ตกเลือดหลังคลอด เกิดขึ้นได้อย่างไร และเป็นอันตรายหรือไม่

    ตกเลือดหลังคลอด เป็นภาวะการสูญเสียเลือดหลังคลอดบุตร อันเป็นผลมาจากภาวะรกลอกตัว แต่ทั้งนี้ปริมาณเลือดในร่างกายของคุณแม่จะเพิ่มสูงขึ้นได้ถึงร้อยละ 50 ในระหว่างการตั้งครรภ์ ดังนั้น โดยปกติแล้วสียเลือดหลังคลอดจึงมักไม่ส่งผลกระทบรุนแรงกับร่างกายของคุณแม่ แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีการอาจส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกมากเกินไป ซึ่งเรียกว่า ภาวะตกเลือดหลังคลอด อาจส่งผลให้เกิดการช็อก เสียเลือดและเสียชีวิตได้

    อาการตกเลือดหลังคลอด

    หญิงตั้งครรภ์แต่ละคนมีร่างกายที่แตกต่างกัน ทำให้ภาวะตกเลือดหลังคลอดมีอาการแตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่จะมีอาการตกเลือดหลังคลอดภายใน 1 วันหลังคลอดทารก แต่อาจมีอาการตกเลือดหลังคลอดหลังคลอดทารกไปแล้ว 12 สัปดาห์ก็เป็นได้  ทั้งนี้อาการส่วนใหญ่ที่พบได้แก่

    • เลือดไหลไม่หยุด
    • ความดันโลหิตลดต่ำลง
    • อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น
    • เซลล์เม็ดเลือดแดงลดต่ำลง
    • รู้สึกเจ็บปวดอวัยวะเพศและมีอาการบวมแดง

    สาเหตุของภาวะตกเลือดหลังคลอด

    ผู้ที่ผ่าตัดคลอดมักมีการสูญเสียเลือดมากกว่าผู้ที่คลอดตามธรรมชาติ ทั้งนี้มีหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 6 ประสบกับภาวะเลือดออกมากซึ่งเรียกว่า ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage) โดยมดลูกไม่หดรัดตัวเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด ถึงร้อยละ 80 ของภาวะตกเลือดหลังคลอดใน 24 ชั่วโมงแรก นอกเหนือนั้นยังอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ต่อไปนี้ ได้แก่

    • ปากมดลูกฉีกขาด (Cervical Lacerations)
    • ช่องคลอดหรือฝีเย็บฉีกขาดรุนแรง
    • แผลขนาดใหญ่ที่ช่องคลอด
    • การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
    • ทารกตัวโตมากกว่าปกติ
    • ครรภ์แฝด หรือครรภ์แฝดน้ำ (polyhydramnios)
    • การกระตุ้นคลอดหรือเร่งคลอดด้วย oxytocin
    • การคลอดยาวนานหรือเร็วเกินไป
    • การล้วงรก
    • การได้รับยาดมสลบหรือแมกนีเซียมซัลเฟต
    • เป็นผู้ที่เคยตกเลือดหลังคลอดมาก่อน
    • มีภาวะรกเกาะต่ำ
    • รกลอกตัวก่อนกำหนด
    • หญิงตั้งครภ์มีภาวะอ้วนหรืออายุมากกว่า 35 ปี
    • ความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดจับลิ่มทั่วร่างกาย (Systemic Blood Clotting Disorder) ภาวะนี้อาจเกิดจากพันธุกรรม หรืออาจเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ อันเป็นผลมาจากอาการแทรกซ้อนบางประการ เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental Abruption) โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชักอย่างรุนแรง (Severe Preeclampsia) หรือกลุ่มอาการ HELLP ซึ่งเป็นโรคพิษแห่งครรภ์อย่างหนึ่งั

    วิธีการรักษา ตกเลือดหลังคลอด

    เนื่องจากสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของภาวะตกเลือดหลังคลอด คือภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว ซึ่งหมายถึง กล้ามเนื้อมดลูกสูญเสียความกระชับ แพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาออกซิโทซิน (Oxytosin) ทางเส้นเลือด และอาจใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อทำให้กระเพาะปัสสาวะของคุณว่างเปล่า ซึ่งจะช่วยให้มดลูกหดตัวได้ง่ายขึ้น จากนั้นจึงนวดมดลูกเพื่อให้มดลูกหดตัว

    หากรกยังคงอยู่ในมดลูก แพทย์อาจจำเป็นต้องให้ยาแก้ปวด ก่อนเคลื่อนย้ายจากห้องคลอดไปยังห้องผ่าตัดเพื่อรักษาด้วยการล้วงเข้าไปภายในมดลูกและดึงรกออกมา

    หากยังคงมีอาการตกเลือด หลังจากนำรกออกไปแล้ว แพทย์จะให้ยาออกซิโทซินเพิ่ม และนวดมดลูกต่อไป ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ เมื่อมดลูกหดตัว เลือดจะหยุดไหล หากมีความจำเป็น แพทย์จะใช้มือข้างหนึ่งล้วงเข้าไปในช่องคลอด และวางมืออีกข้างหนึ่งลงบนท้องและกดมดลูกที่อยู่ระหว่างมือสองข้าง เพื่อทำให้เลือดหยุดไหล

    หากเลือดยังไม่หยุดไหล จะได้รับการตรวจหาสาเหตุการตกเลือดอื่น ๆ เช่น แผลฉีกขาด ชิ้นส่วนของรกตกค้าง หากสัญญาณชีพไม่คงที่ แพทย์จะต้องให้เลือด ในบางกรณี แพทย์จะดำเนินการผ่าตัดช่องท้อง และอาจมีการผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy) เพื่อรักษาภาวะตกเลือด ซึ่งกรณีนี้พบได้ไม่บ่อยนัก

    การปฏิบัติตัวหลังรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด

    เมื่อเลือดหยุดไหลแล้ว คุณแม่จะยังคงได้รับสารน้ำและยาทางเส้นเลือด เพื่อทำให้มดลูกหดตัวอย่างต่อเนื่อง และทีมแพทย์จะเฝ้าระวังอาการตกเลือดที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติมอย่างใกล้ชิด หลังรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดแล้ว จำเป็นต้องนอนพักผ่อนบนเตียง ร่างกายคุณแม่หลังคลอดที่รักษาภาวะตกเลือดจะฟื้นตัวได้เร็วมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณแม่และปริมาณเลือดที่สูญเสียไป

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา