backup og meta

ยาอะเซตามิโนเฟน ส่งผลต่อ ทารกในครรภ์ อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/10/2022

    ยาอะเซตามิโนเฟน ส่งผลต่อ ทารกในครรภ์ อย่างไรบ้าง

    ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) เป็นตัวยาแก้ปวดและลดไข้ประเภทหนึ่ง ที่พบได้ในยาแก้ปวดหลายชนิด ใช้เพื่อรักษาอาการ ต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ ข้ออักเสบ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดฟัน อาการไข้ อย่างไรก็ตาม หากใช้ยานี้ระหว่างอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคของทารกในครรภ์ เช่น โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder: ADHD) โรคออทิสติก โรคหอบหืด ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรระมัดระวังการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ และควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งก่อนใช้ยาใด ๆ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์

    ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาอะเซตามิโนเฟน

    ยาอะเซตามิโนเฟนเป็นตัวยาแก้ปวดประเภทหนึ่ง ที่พบได้โดยทั่วไปในยาหลายประเภท นอกเหนือจากใช้รักษาอาการปวดที่รุนแรงแล้ว คุณหมอยังใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกด้วย

    จากข้อมูลขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ยาอะเซตามิโนเฟนจัดอยู่ในกลุ่ม C ซึ่งหมายความว่า ยานี้อาจทำให้เกิดความเสี่ยงหลายประการต่อทารกในครรภ์ นอกจากนี้ ยานี้ยังอาจแพร่ไปยังน้ำนมแม่ และทำอันตรายต่อทารกที่ดื่มนมแม่อีกด้วย ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาอะเซตามิโนเฟนระหว่างตั้งครรภ์และให้นมลูกโดยเด็ดขาด ยกเว้นได้รับใบสั่งยาจากคุณหมอ

    ยาอะเซตามิโนเฟน ส่งผลอย่างไรต่อ ทารกในครรภ์

    อะเซตามิโนเฟนมีความสัมพันธ์กับภาวะที่เกี่ยวกับพฤติกรรมในเด็ก โดยเฉพาะเมื่อหญิงตั้งครรภ์ใช้ยานี้ในช่วงระหว่างสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพัฒนาการของสมอง และการเจริญเติบโตของสมองเด็ก โดยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากคุณแม่ตั้งครรภ์ใช้ยาอะเซตามิโนเฟน มีดังนี้

  • ทารกมีความเสี่ยงต่ออาการสมาธิสั้น
  • ทารกมีความเสี่ยงต่ออาการออทิสติก
  • ทารกเสี่ยงต่อโรคหอบหืด
  • คำแนะนำในการใช้ยาอะเซตามิโนเฟนสำหรับหญิงตั้งครรภ์

    หากเป็นไข้ ปวดศีรษะ หรือมีอาการปวดตามร่างกาย หญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนใช้ยา นอกจากนี้ ยังมีวิธีการบรรเทาอาการปวดอื่น ๆ นอกเหนือจากการใช้ยา เช่น การใช้ถุงประคบร้อนหรือเย็น การนอนโดยใช้หมอนสำหรับหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะ

    ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องใช้ยา ควรใช้ยาในปริมาณน้อยที่สุด ภายในเวลาสั้นที่สุด เพื่อความปลอดภัยกับทั้งตัวเองและทารกในครรภ์

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/10/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา