ไตรมาสที่ 2

เมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ช่วง ไตรมาสที่ 2 คุณแม่ก็อาจเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น พร้อมกับพัฒนาการของลูกน้อยภายในครรภ์ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 2 มาไว้ที่นี่แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไตรมาสที่ 2

อาหารบำรุงมดลูก สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง

สำหรับคุณแม่ที่กำลังวางแผนมีลูกหรือกำลังตั้งครรภ์ อาหารบำรุงมดลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก มดลูกเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการปฏิสนธิและการฝังตัวของตัวอ่อน การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและการกินอาหารที่ช่วยบำรุงมดลูก จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับมดลูก ซึ่งอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์มากขึ้น ส่งเสริมสุขภาพและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และอาจลดโอกาสเกิดภาวะแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ อาหารบำรุงมดลูก มีอะไรบ้าง อาหารบำรุงมดลูก มีหลายชนิดที่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของอาหารที่อาจช่วยบำรุงมดลูกรวมถึงส่งเสริมพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ ดังนี้ ไข่แดง ไข่แดงอุดมไปด้วยโคลีน (Choline) ซึ่งเป็นสารอาหารที่ดีต่อการบำรุงมดลูก ช่วยสร้างไขมันที่ช่วยส่งเสริมโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาทให้แข็งแรง ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมและผลิตดีเอ็นเอ ช่วยผลิตสารสื่อประสาทที่จำเป็นต่อการควบคุมกล้ามเนื้อ ความจำ การมองเห็น และควบคุมการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ ยังดีต่อการพัฒนาการทำงานของสมองและไขสันหลังของทารกในครรภ์ด้วย โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ศึกษาเกี่ยวกับโคลีนซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ พบว่าโดยปกติผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ มีความต้องการโคลีนปริมาณ 425 มิลลิกรัม/วัน  แต่การตั้งครรภ์และให้นมบุตร อาจทำให้ร่างกายต้องการโคลีนมากเป็นพิเศษ โดยผู้หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับโคลีนปริมาณ 450 มิลิกรัม/วัน และผู้หญิงให้นมบุตรควรได้รับโคลีนปริมาณ 550 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งโคลีนจะช่วยบำรุงทารกในครรภ์ รวมถึงรกและมดลูกด้วย นมและผลิตภัณฑ์จากนม นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต ชีส อุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามินดี ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกระดูกและอาจช่วยป้องกันเนื้องอกในมดลูกได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งจาก Cambridge […]

สำรวจ ไตรมาสที่ 2

ไตรมาสที่ 2

ตรวจสุขภาพไตรมาส 2 ของแม่ตั้งครรภ์ ต้องตรวจอะไรบ้าง

การ ตรวจสุขภาพไตรมาส 2 ของแม่ตั้งครรภ์ คุณหมอจะทำการนัดทุก 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนครั้ง เพื่อตรวจดูสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์โดยรวม รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ  ที่อาจจะเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ นอกจากนั้น คุณแม่ยังจะได้เห็นพัฒนาการของลูกในครรภ์และตรวจคัดกรองสุขภาพสำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ได้อีกด้วย เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ รกเกาะต่ำ  [embed-health-tool-due-date] ตรวจสุขภาพไตรมาส 2 มีอะไรบ้าง การตรวจสุขภาพในไตรมาสที่ 2 จะทำให้สามารถทราบถึงพัฒนาการของทารกในครรภ์และจะเป็นการตรวจคัดกรองสุขภาพสำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ โดย การตรวจสุขภาพครรภ์ในไตรมาสที่ 2 อาจมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ การสอบถามประวัติเพิ่มเติม เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอดหรือไม่ มีปัญหาการนอนหลับหรือเปล่า รวมไปถึงสภาพจิตใจ และอารมณ์ที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ การตรวจปัสสาวะ ตรวจหาโปรตีน เพื่อดูความเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษ และตรวจดูว่ามีน้ำตาลรั่วมาในปัสสาวะหรือไม่ เพื่อประเมินความเสี่ยงของภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในขณะเดียวกันก็เป็นการตรวจเพื่อประเมินการติดเชื้อที่อาจเป็นสาเหตุให้ทารกคลอดก่อนกำหนดได้ การตรวจกลูโคส โดยปกติจะทำการตรวจในสัปดาห์ที่ 24-28 การทดสอบนี้จะเป็นการวัดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นการทดสอบตามปกติสำหรับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานที่เกิดขณะตั้งครรภ์ การเจาะเลือด สำหรับการตรวจ Maternal serum alpha-fetoprotein (MSAFP) และการตรวจระดับฮอร์โมน Estriol และ hCG สามารถตรวจพบได้ในน้ำคร่ำและเลือดของคุณแม่ […]


ไตรมาสที่ 2

การเปลี่ยนแปลงในไตรมาสที่ 2 ของคุณแม่ตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ชวงไตรมาสที่ 2 หมายถึงช่วงสัปดาห์ที่ 14-27 ของการตั้งครรภ์ หรือประมาณเดือนที่ 4-6 ของการตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์การเปลี่ยนแปลงในไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์นี้อาจมีทั้งขนาดหน้าท้องของคุณแม่ที่ขยายใหญ่มากขึ้น บางคนอาจมีอาการปวดท้อง ปวดหลัง หรือเป็นตะคริวมากขึ้น แต่อาการแพ้ท้องอาจบรรเทาลง สำหรับทารกในครรภ์อาจสามารถบ่งบอกเพศของทารกได้แล้ว รวมถึงลูกอาจจะเริ่มดิ้น ดังนั้น จึงควรใส่ใจการดูแลสุขภาพทั้งสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] การเปลี่ยนแปลงในไตรมาสที่ 2 ของคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง เมื่อเข้าสู่ช่วง การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างแน่นอน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ มีดังต่อไปนี้ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นทางร่างกายของ คุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 ได้แก่ หน้าท้องและหน้าอกที่ใหญ่ขึ้น เมื่อหน้าอกของคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้น จำเป็นจะต้องหาเสื้อชั้นในที่ช่วยพยุงเต้านมของคุณได้ดี รวมไปถึงเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย รู้สึกปวดในช่องท้องส่วนล่าง เกิดขึ้นเมื่อมดลูกมีการขยายตัวในระหว่างตั้งครรภ์ ลองอาบน้ำอุ่นและออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลาย ซึ่งอาจลดอาการนี้ได้ ถ้าปวดหน่วงท้องน้อยมากสามารถใช้เข็มขัดพยุงครรภ์เพื่อช่วยลดอาการได้ ปวดหลัง เนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ซึ่งน้ำหนักส่วนใหญ่ควรเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 1-2 กก. ปวดขา หรือการเป็นตะคริว อาจถือเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องประสบพบเจอ โดยสามารถเกิดในช่วงกลางดึก อาจเกิดจากการขาดแคลเซียมหรือแม็กนีเซียม ซึ่งสามารถลดอาการเหล่านี้โดยรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและแม็กนีเซียมสูงหรือกินยาบำรุงแคลเซียมหรือแม็กนีเซียมก็ได้คุณแม่อาจจะเลือกสวมรองเท้าที่สบายรองรับน้ำหนักตัวได้ดี และทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการสวมใส่ส้นสูง […]


ไตรมาสที่ 2

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสที่สอง

การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสที่สอง เป็นสิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจ เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยอาจให้ความสนใจกับการบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากการแพ้ท้อง การรับมือกับความอ่อนเพลีย และการควบคุมความเครียด ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การพักผ่อน และการเลือกรับประทานที่เหมาะสมกับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2 [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสที่สอง ช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์เป็นจุดเปลี่ยนหลายอย่างของคุณแม่และทารกในครรภ์ จะมีการปรับตัวทำให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น ส่วนทารกในครรภ์ช่วงนี้จะเปนช่วงของการพัฒนาอวัยวะและระบบทั้งหมดในร่างกาย รวมถึงขนาดและน้ำหนักของทารกที่จะเพิ่มขึ้น สายสะดือจะค่อย ๆ หนาขึ้น เพื่อใช้ในการลำเลียงอาหารไปยังทารกในครรภ์ การบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน แน่นอนว่า อาการแพ้ท้องยังคงเกิดขึ้นอยู่กับคุณแม่บางคน เพื่อไม่ให้อาการคลื่นไส้อาเจียนรบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ สามรรถบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน กลิ่นของกาแฟ เครื่องดื่ม หรือกลิ่นของอาหารบางชนิดอาจส่งผลต่ออาการคลื่นไส้ของคุณแม่ที่มีปัญหาแพ้ท้องได้ จึงควรหลีกเลี่ยงกลิ่นหรือรสชาติอาหารต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาต่ออาการคลื่นไส้อาเจียน รับประทานของว่างบ่อย ๆ แครกเกอร์และอาหารรสจืดอื่น ๆ สามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ หรืออาจรับประทานของว่างง่าย ๆ เช่น น้ำขิงหรือชาขิง ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส่ได้เช่นกัน การรับมือกับความรู้สึกเมื่อยล้า ในขณะที่ตั้งครรภ์อาจมีอาการเมื่อยล้าง่ายขึ้นเมื่อทำงานหรือทำกิจกรรมระหว่างวันอื่น ๆ จึงมีวิธีช่วยรับมือกับอาการเหล่านั้น ดังนี้ รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กและโปรตีน อาการเหนื่อยล้าอาจเป็นสัญญาณของโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ดังนั้น จึงควรปรับอาหารให้เหมาะสม เช่น รับประทานเนื้อแดง สัตว์ปีก อาหารทะเล ผักใบเขียว ซีเรียล ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว เป็นต้น เพื่อเสริมธาตุเหล็ก และรับประทานแคลเซียมและแมกนีเซียมให้เพียงพอเพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและลดการเป็นตะคริว […]


ไตรมาสที่ 2

อาการคนท้องไตรมาสที่สอง ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

อาการคนท้องไตรมาสที่สอง เป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 13-27 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ สิ่งที่จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนคือขนาดท้องและขนาดหน้าอกที่ขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ในคนท้องบางรายอาจมีปัญหาผิวหนังแตกลาย รวมทั้งอาจมีผิวที่ดำคล้ำขึ้นเนื่องจากร่างกายถูกกระตุ้นให้สร้างเม็ดสีผิวเพิ่มขึ้น รวมทั้งอาจเริ่มเป็นตะคริวที่ขาหรือเท้าเนื่องจากน้ำหนักตัวที่เริ่มมากขึ้น และอาการอื่น ๆ คนท้องควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาการคนท้องไตรมาสที่สองเพื่อที่จะได้ไม่วิตกกังวลมากจนเกินไปหากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง [embed-health-tool-due-date] อาการคนท้องไตรมาสที่สอง ในช่วงไตรมาสที่สองอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายส่วน โดยอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนและพบได้บ่อย มีดังนี้ หน้าท้องและหน้าอกใหญ่ขึ้น เนื่องจากมดลูกขยายใหญ่ขึ้น เพื่อให้มีพื้นที่ว่างสำหรับทารกในการเจริญเติบโตขึ้นขนาดหน้าท้องจึงใหญ่ขึ้นจนสังเกตเห็นได้ชัดเจน รวมไปถึงหน้าอกอาจเริ่มมีการขยายใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ควรเริ่มมองหาชุดชั้นในเพื่อรองรับหน้าอกที่ใหญ่ขึ้น มดลูกบีบตัวหรือเรียกว่า “Braxton Hicks Contractions” อาจรู้สึกได้ถึงการบีบตัวของมดลูกซึ่งอาจเกิดขึ้นในบางช่วงเวลา เช่น ตอนบ่าย ตอนเย็น หลังออกกำลังกาย หลังจากมีเพศสัมพันธ์ หรือในบางคนอาจรู้สึกว่ามดลูกบีบตัวตลอดทั้งวัน หรือตลอดทุกการทำกิจกรรม หากรู้สึกไม่สบายตัว อาการบีบตัวเริ่มสม่ำเสมอทุก 5-10 นาที หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น มีมูกเลือด น้ำเดิน ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อขอตรวจอาการมดลูกบีบตัว เพราะอาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์จะกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ในคุณแม่บางคนอาจมีฝ้าเป็นจุดสีน้ำตาลขึ้นบนใบหน้า หรืออาจเกิดการแตกลายเป็นเส้นสีน้ำตาลที่หน้าท้อง เนื่องจาก การขยายตัวของหน้าท้อง การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังเหล่านี้จะจางลงหลังคลอด นอกจากนั้น แสงแดดอาจทำให้ฝ้ามีอาการแย่ลงได้ การทาครีมกันแดดก่อนออกไปอยู่กลางแจ้งอาจช่วยบรรเทาอาการได้ ส่วนรอยแตกลายที่อยู่บริเวณหน้าท้อง หน้าอก ก้น หรือต้นขาเหล่านี้ ไม่สามารถป้องกันแต่อาจใช้วิธีทาครีมบำรุงขณะตั้งครรภ์ และดูแลฟื้นฟูหลังจากการคลอด ปัญหาจมูก เมื่อระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้นและร่างกายมีการสร้างเลือดมากขึ้น อาจส่งผลทำให้เยื่อเมือกบวมและเลือดออกง่าย ทำให้เกิดอาการคัดจมูกและเลือดกำเดาไหล เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น […]


ไตรมาสที่ 2

สะดือคนท้อง ระหว่างตั้งครรภ์ เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

สะดือคนท้อง คือหนึ่งในอาการเปลี่ยนแปลงระหว่างการตั้งครรภ์ที่มองเห็นได้เด่นชัดมากที่สุดอาการหนึ่ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสะดือเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่อาจมีลักษณะของสะดือคนท้องบางรายที่อาจผิดปกติ มีสัญญาณเตือนที่คุณแม่ตั้งท้องควรรู้ไว้เพื่อสังเกตหากเกิดความผิดปกติ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] เกิดอะไรขึ้นกับ สะดือคนท้อง เมื่อตั้งครรภ์ เมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 อาจสังเกตเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่า หน้าท้องเริ่มขยายใหญ่ตามอายุครรภ์และการเจริญเติบโตของทารก ส่งผลให้สะดือที่เชื่อมต่อกับทารกในครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ ลักษณะของท้องและสะดือคนท้องนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน สำหรับลักษณะของสะดือที่มักเห็นเด่นชัด ได้แก่ สะดือโผล่เล็กน้อย โดยปกติแล้วอาการนี้ยังถือว่าไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ เกิดอาการระคายเคือง หรือรำคาญใจ หากบริเวณสะดือที่ยื่นออกมาเกิดเสียดสีกับเสื้อผ้าที่สวมใส่ ทางแก้สำหรับปัญหานี้คือ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจหาผ้าหรืออุปกรณ์ห่อหุ้มหน้าท้องมาพันปิดรอบสะดือเอาไว้เพื่อป้องกันการเสียดสี ในกรณีที่คุณแม่มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยจนรู้สึกเป็นกังวล อาจสามารถเข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง สะดือแบนราบ บางครั้งเมื่อหน้าท้องขยายใหญ่ขึ้นอาจทำให้ผิวหนังช่วงหน้าท้องยืดจนตึง จนทำให้สะดือดูราบแบน และจะเปลี่ยนกลับไปมีลักษณะเหมือนเดิมอีกครั้งหลังจากคลอดลูก ภาวะแทรกซ้อนเมื่อ สะดือคนท้อง เปลี่ยนแปลง ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงของสะดือจะเป็นอาการปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ขณะเดียวกันก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะอาการ ไส้เลื่อน  โดยมีสาเหตุมาจากความดันในช่องท้องที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อวัยวะภายใน เช่น ลำไส้ นูนยื่นออกมาผ่านกล้ามเนื้อหน้าท้อง โดยมีสัญญาณเตือนต่าง ๆ ได้แก่ อาการเจ็บปวดเมื่อก้มตัว งอตัว ไอ จาม หรือมีก้อนเนื้อนูนปรากฏบนบริเวณสะดือ ซึ่งจะสังเกตได้ชัดเจนมากขึ้นในท่านอน นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการระคายเคืองอย่างรุนแรง และรอยช้ำที่เกิดจากขยายตัวของหน้าท้อง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อบริเวณสะดือได้อีกด้วย นับว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนอีกอย่างหนึ่งที่คุณแม่ควรระวังเป็นอย่างมาก สิ่งสำคัญที่สุดเกี่ยวกับสะดือคนท้อง คือการดูแลทำความสะอาดสะดื้อและหน้าท้องเช่นเดียวกับอวัยวะส่วนอื่น ๆ พยายามใส่เสื้อผ้าที่พอดี ๆ […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 23 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 23 อยู่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กอาจมีขนาดตัวเท่ากับผลมะม่วงลูกใหญ่ ๆ มีไขมันสะสมอยู่ตามร่างกาย ผิวหนังเหี่ยวย่น และอาจเคลื่อนไหวบ่อย คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างเหมาะ เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ และเข้ารับการตรวจตามกำหนดของคุณหมอ เพื่อให้แน่ใจว่าทารกในครรภ์จะเจริญเติบโตโดยมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 23 ลูกจะเติบโตอย่างไร ในช่วงเวลานี้ทารกในครรภ์จะมีขนาดเท่ากับมะม่วงลูกใหญ่  ๆ ที่มีน้ำหนักประมาณ 454 กรัม และสูงประมาณ 27.9 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ถึงแม้จะมีไขมันสะสมอยู่ตามร่างกายแล้ว แต่ผิวของทารกก็ยังย่นอยู่ และมีริ้วรอยปรากฎให้เห็นด้วย นอกจากนี้ทารกยังมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ บริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า แขน และขา ส่งผลให้รู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวอยู่ในท้อง นับจนถึงตอนนี้ทารกน้อยในครรภ์ จะมีน้ำหนักตัวมากกว่า 454 กรัมแล้ว ถ้ามีการคลอดก่อนกำหนวดในช่วงสัปดาห์นี้ ทารกจะสามารถมีชีวิตรอดได้ด้วยการดูแลของผู้เชี่ยวชาญ แต่อาจมีความผิดปกติเล็กน้อย หรือจนถึงขั้นมีความผิดปกติรุนแรงได้ และจากผลงานวิจัยทางด้านสูตินรีเวชวิทยา ที่มีอยู่มากมายนั้น กรณีที่เด็กคลอดก่อนกำหนดนั้นกำลังค่อย  ๆ ลดลงทุก  ๆ ปี ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ยิ่งใกล้ถึงวันกำหนดคลอดมากขึ้นเท่าไหร่ จะยิ่งนอนหลับได้ยากมากขึ้นเท่านั้น มากไปกว่านั้นอาจมีความวิตกกังวล การลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อย  ๆ อาการแสบร้อนกลางอก อาการปวดขา และความรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวต่าง  ๆ […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 22 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 22 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 22ลูกจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกของคุณมีขนาดเท่าผลฟักเขียว หรือฟักแฟง ที่มีความสูงจากศีรษะถึงปลายเท้าประมาณ 27.9 เซนติเมตร และหนักประมาณ 453 กรัม ซึ่งในสัปดาห์นี้ ปาก เปลือกตา และคิ้ว จะชัดเจนขึ้นแล้ว ทารกในครรภ์กำลังเติบใหญ่ขึ้นทุกวัน ๆ ปุ่มรับรสเริ่มก่อร่างขึ้นในลิ้นแล้ว และตอนนี้ลูกน้อยของคุณจะแสดงอารมณ์ในขณะที่เคลื่อนไหวด้วย นอกจากนี้ อวัยวะสืบพันธุ์ของลูกน้อยยังเจริญเติบโตต่อไป และในเด็กผู้ชาย ลูกอัณฑะจะเริ่มเลื่อนต่ำลงมาจากท้อง ส่วนในเด็กผู้หญิง มดลูกและรังไข่จะอยู่เป็นที่เป็นทางแล้ว และช่องคลอดก็เริ่มพัฒนาขึ้นด้วย ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง มดลูกอาจเกิดการหดตัวบริเวณหน้าท้อง ซึ่งเป็นอาการบีบรัดอาจไม่ทำให้มีอาการเจ็บปวดอะไร คุณไม่ต้องเป็นกังวลไปนะ เพราะอาการนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยของคุณ แต่ถ้ามีอาการบีบรัดหนักขึ้น บ่อยขึ้น หรือรู้สึกเจ็บ ก็ควรรีบไปพบคุณหมอทันที เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดได้ ควรระมัดระวังอะไรบ้าง ในช่วงเวลานี้ นอกเหนือจากพุงจะใหญ่ขึ้นแล้ว แขนขาของคุณยังมีอาการไม่มีแรงด้วย อาการไม่มีแรงในช่วงตั้งครรภ์นี้ เกิดจากข้อต่อและเส้นเอ็นคลายตัว หรือมีการสะสมของของเหลวใต้ผิวหนัง ซึ่งปัจจัยทั้งสองอย่างนี้จะทำให้ไม่สามารถจับถืออะไรได้มั่นคง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้วย อย่างเช่นการขาดสมาธิ และขาดความคล่องแคล่วซึ่งเป็นผลมาจากการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ การพบหมอควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง เวลาที่คุณตั้งครรภ์นั้น กางเกงในมักจะมีรอยเปื้อนสีชมพูหรือสีแดง ซึ่งเป็นรอยเลือดที่เกิดขึ้นตามปกติตั้งแต่เดือนที่ 6 เป็นต้นไป ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากปากมดลูกไวต่อความรู้สึก ซึ่งอาจสืบเนื่องมาจากการตรวจภายใน […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 21

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 21 ในช่วงเวลานี้ทารกในครรภ์จะมีขนาดเท่ากับแครอท ลำตัวยาวประมาณ 26.7 เซนติเมตรโดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า และมีน้ำหนักประมาณ 340 กรัม อวัยวะต่าง ๆ เริ่มทำงานอย่างเป็นระบบ เช่น ลำไส้พัฒนาจนสามารถดูดซึมน้ำตาลในรูปของเหลว ผ่านทางระบบลำไส้ใหญ่ได้บ้างแล้ว และเริ่มเคลื่อนไหวมากขึ้นทำให้สามารถรับรู้ถึงอาการดิ้นได้อย่างชัดเจน   [embed-health-tool-”due-date”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 21ลูกจะเติบโตอย่างไร ในช่วงเวลานี้ทารกในครรภ์จะมีขนาดเท่ากับแครอท คือมีความสูงประมาณ 26.7 เซนติเมตรโดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า และมีน้ำหนักประมาณ 340 กรัม ลำไส้ของทารกได้พัฒนาจนสามารถดูดซึมน้ำตาลในรูปของเหลว ผ่านทางระบบลำไส้ใหญ่ได้บ้าง  แต่หลัก ๆ แล้วยังรับสารอาหารผ่านทางสายรกอยู่ ตับและม้ามของทารกจะทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดขึ้นมา ไขกระดูกได้รับการพัฒนาจนสามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดขึ้นได้ และกลายเป็นอวัยวะหลักที่ใช้ผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อตั้งครรภ์ได้ 9 เดือน และหลังคลอด โดยตับอ่อนจะหยุดผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงในสัปดาห์ที่ 30 ของการตั้งครรภ์ และตับจะหยุดผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ก่อนถึงกำหนดคลอดประมาณสองถึงสามสัปดาห์ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง หญิงตั้งครรภ์อาจรู้สึกสบายเนื้อสบายตัวขึ้นในช่วงเวลานี้ หน้าท้องไม่ใหญ่จนเกินไป และความรู้สึกอึดอัดจากการตั้งครรภ์มักหายไปเกือบหมดแล้ว แต่ยังมีปัญหาอื่นที่อาจต้องเผชิญ เช่น ปัญหาสิว ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น การลดปัญหาสิว ควรทำความสะอาดผิวด้วยสบู่หรือคลีนเซอร์ชนิดอ่อนโยนต่อผิววันละสองครั้ง และควรใช้มอยส์เจอไรเซอร์เพื่อบำรุงผิว รวมทั้งเลือกใช้เครื่องสำอาง ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยารักษาสิวหรือใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวใด ๆ ที่ไม่ได้สั่งจากแพทย์หรือเภสัชกรโดยตรงก่อน เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านั้นอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้ นอกจากนี้ ในช่วงสัปดาห์ที่ 21 หญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่จะมีเส้นเลือดขอดด้วย […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 27 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 27 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 27 ลูกจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยในครรภ์ของคุณมีขนาดเท่ากับกะหล่ำดอก ซึ่งถ้ามีสุขภาพดีก็จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 900 กรัม และความสูงอยู่ที่ประมาณ 36.8 เซนติเมตร ภายในสัปดาห์แรกของการ ตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 3 นี้ ลูกน้อยของคุณจะมีลักษณะเหมือนตอนที่คลอดออกมา ถึงแม้ว่าปอด ตับ และระบบภูมิคุ้มกันจะยังต้องการเวลาในการพัฒนา แต่ถ้าทารกคลอดในตอนนี้ ก็มีโอกาสจะรอดชีวิต ถึงแม้การได้ยินจะยังคงพัฒนาต่อไป แต่ลูกน้อยในครรภ์ของคุณอาจเริ่มจำเสียงของพ่อแม่ได้แล้ว โดยหูของทารกยังมีแว๊กซ์ปกคลุมอยู่อย่างหนา ซึ่งนั่นจะช่วยปกป้องผิวจากอาการแห้งแตก เมื่อโดนของเหลวที่มีลักษณะเป็นกรด ฉะนั้น เสียงที่ลูกของคุณได้ยินจึงเป็นเสียงอู้อี้ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ร่างกายของคุณจะทำหน้าที่ดูแล และปกป้องลูกน้อยในระหว่าง ตั้งครรภ์ แต่สำหรับการดูแลเด็กแรกเกิดนั้น เป็นทักษะที่คุณจะต้องเรียนรู้ ฉะนั้น ก็ควรหาความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกสำหรับพ่อแม่มือใหม่ ซึ่งจะได้เรียนรู้กระบวนการในการคลอดบุตร ทางเลือกในการเยียวยาอาการปวด นอกจากนี้ยังอาจได้เรียนรู้เกี่ยวปัญหาที่พบได้บ่อยของเด็กแรกเกิด การให้นมบุตร การป้อนอาหาร และการดูแลสุขภาพทารก ควรระมัดระวังอะไรบ้าง ก่อนถึงช่วงสุดท้ายของการ ตั้งครรภ์ ทารกจะอยู่ในตำแหน่งพร้อมคลอด  ศีรษะของทารกและน้ำหนักครรภ์จะเพิ่มมากขึ้น และจะกดทับอยู่บนเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง ดังนั้นอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาท จะนำไปสู่อาการปวดบริเวณสะโพก และทำให้เป็นตะคริวบริเวณหลัง และลามไปยังขาทั้งสองข้าง ซึ่งเคล็ดลับในการเคลื่อนทารกในครรภ์ออกจากเส้นประสาทก็คือ การนั่ง การพักขาจะช่วยลดอาการปวดขา […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 14 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 14 ลูกน้อยจะมีขนาดเท่าลูกเลมอน โดยมีน้ำหนักประมาณ 45 กรัม มีความสูงประมาณ 9 เซนติเมตรจากศีรษะถึงปลายเท้า เริ่มมีเส้นผมและเส้นขนงอกออกมาปกคลุมทั่วร่างกาย รวมทั้งไขมันที่จะช่วยสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย [embed-health-tool-due-date] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 14 ลูกจะเติบโตอย่างไร ในช่วงสัปดาห์นี้ ลูกน้อยเริ่มจะมีผมงอกขึ้นมาแล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่มีเส้นผมและขนคิ้วเท่านั้นนะ แต่จะมีขนขึ้นทั่วร่างกาย เรียกว่า ‘ขนอ่อน‘ ซึ่งจะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น และเมื่อเริ่มมีไขมันสะสมตามร่างกาย ไขมันนั้นก็จะช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกายแทน ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นเส้นขนก็จะเริ่มหลุดร่วงออกไป นอกจากนี้ตับก็จะเริ่มผลิตน้ำดี ในขณะที่ม้ามก็จะผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นด้วย ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง คุณแม่ตั้งครรภ์อาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ และรู้สึกกลับมาเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าอาการคลื่นไส้และอ่อนเพลียก็จะหายไปในที่สุด ในไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์นี้ จะรู้สึกมีพลังและมีความสุขมากขึ้น ถึงแม้อาการแพ้ท้องจะหายไปหมดแล้ว แต่จะต้องเผชิญกับอาการใหม่ ๆ อย่างเช่น อาการปวดหน่วง ๆ บริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นภาวะที่เอ็นยึดมดลูกยืดเร็วเกินไป ซึ่งเป็นผลมาจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มดลูกจะมีเอ็นเส้นหนา ๆ รองรับอยู่ในบริเวณท้องด้านข้าง เมื่อคุณมีน้ำหนักมากขึ้น จะเป็นการดึงให้เส้นเอ็นพวกนี้ยืดออก ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวด ถ้ามีอาการแบบนี้เกิดขึ้นควรเอนตัวนอนในท่าสบาย ๆ แล้วพักเท้าเอาไว้ ควรระมัดระวังอะไรบ้าง ขณะตั้งครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกันมักอ่อนแอกว่าปกติ จึงอาจติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ จึงนับเป็นเรื่องสำคัญที่ควรระวังเรื่องเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วยการล้างมือให้สะอาดหลังเข้าห้องน้ำ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม