backup og meta

ยาที่คนอยากท้องห้ามกิน มีอะไรบ้าง

ยาที่คนอยากท้องห้ามกิน มีอะไรบ้าง

ยาที่คนอยากท้องห้ามกิน หมายถึง ยาที่เมื่อรับประทานไปแล้วอาจเกิดผลข้างเคียงจนทำให้ลดโอกาสการตั้งครรภ์ รวมถึงยาที่ส่งผลโดยตรงต่อการยับยั้งกระบวนการปฏิสนธิ โดยผู้ที่ต้องการมีบุตร หรือกำลังวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ควรระมัดระวังเกี่ยวกับการรับประทานยาประเภทต่าง ๆ ดังนั้น หากมีโรคประจำตัวหรือมียาที่รับประทานอยู่เป็นประจำ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำในการปรับใช้ยาสำหรับการวางแผนมีบุตร

[embed-health-tool-ovulation]

ยาที่คนอยากท้องห้ามกิน มีอะไรบ้าง

ผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร หรือกำลังพยายามมีบุตร ควรระมัดระวังในการรับประทานยาที่อาจส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์และทำให้ลดโอกาสตั้งครรภ์ ซึ่งยาที่คนอยากท้องห้ามกินอาจมี ดังนี้

1. ยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิด (Contraceptive Pill หรือ Birth Control Pill) คือ ยาที่มีฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง ไม่ว่าจะเป็นปากมดลูก ผนังมดลูก รวมไปถึงรังไข่ เพราะจะไปยับยั้งการตกไข่ จึงทำให้โอกาสตั้งครรภ์น้อยลง

ยาคุมกำเนิดมี 3 ชนิด ได้แก่

  1. ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม (Combine Pill) ในตัวยาจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน
  2. ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนเดียว (Progestogen-only Pill) มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียว
  3. ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน (Emergency Pill) เป็นยาเม็ดที่มีฮอร์โมนสูง สำหรับกินภายใน 72 ชั่วโมง หลังมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน และไม่แนะนำให้กินเกิน 4 เม็ด/เดือน

ยาคุมกำเนิดอาจส่งผลต่อการยับยั้งกระบวนการก่อนเกิดการปฏิสนธิ (Fertilization) ทำให้ผนังมดลูกบางจนตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวได้ ทำให้ท่อนำไข่เคลื่อนไหวมาก หรือเกิดมูกหรือเมือกที่ปากมดลูก ทำให้ปากมดลูกมีความเหนียวข้น ส่งผลให้อสุจิเคลื่อนผ่านเข้าไปได้ยากขึ้น

ทำไมผู้ที่อยากท้อง ห้ามกินยาคุมกำเนิด

ผู้ที่อยากตั้งครรภ์ไม่ควรกินยาคุมกำเนิด เพราะในตัวยาของยาคุมกำเนิดอาจมีผลทำให้ผู้ที่อยากตั้งครรภ์ ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดของยาคุมกำเนิดอาจลดต่ำลง หากกินยาคุมกำเนิดแบบผิดวิธี

ผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิด

  • อาการคลื่นไส้ อาเจียน มีอาการปวดหัว เวียนศีรษะ
  • อารมณ์แปรปรวน
  • เจ็บเต้านม
  • มีเลือดออกผิดปกติ
  • ความดันโลหิตสูง
  • อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนในยา อาจทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อนได้ง่ายขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน

ยาคุมกำเนิด ไม่ได้แค่ช่วยคุมกำเนิด

นอกจากช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์แล้ว ยาคุมกำเนิดยังอาจมีประโยชน์อื่น ๆ ดังนี้

  • บรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน
  • ช่วยทำให้ประจำเดือนมาอย่างปกติ สม่ำเสมอ
  • ช่วยลดการเกิดสิว และลดภาวะผิวหน้ามันได้ด้วย
  • ทำให้ผิวพรรณมีความเปล่งปลั่ง มีน้ำ มีนวลมากขึ้น
  • ช่วยปรับสรีระให้ดูเป็นผู้หญิงมากขึ้น เช่น มีหน้าอกใหญ่ขึ้น เอวคอดขึ้น

2. ยาอื่น ๆ ที่คนอยากท้องห้ามกิน

ยาที่คนอยากท้องห้ามกิน ไม่ใช่มีแค่ยาคุมกำเนิด แต่ยังมียาอื่น ๆ อีก เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาแก้แพ้ เพราะส่งผลต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ เช่น ป้องกันการปล่อยฮอร์โมน ยับยั้งการตกไข่ตามปกติ ส่งผลกระทบต่อไข่และอสุจิ ทำให้ไม่เกิดการปฏิสนธิ

อย่างไรก็ตาม ก่อนใช้ยาใด ๆ คุณควรปรึกษาคุณหมอ หรือเภสัชกรก่อนเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ เพราะการใช้ยาเอง โดยไม่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่แค่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์อย่างเดียว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Combination birth control pills. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/combination-birth-control-pills/about/pac-20385282. Accessed May 16, 2022.

Combined pill. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/combined-contraceptive-pill/. Accessed May 16, 2022.

Pregnant or thinking of getting pregnant?. https://www.cdc.gov/pregnancy/meds/treatingfortwo/facts.html. Accessed May 16, 2022.

Medicines to Avoid When Pregnant. https://www.webmd.com/baby/medicines-avoid-pregnant. Accessed May 16, 2022.

Over-the-Counter Medications in Pregnancy. https://www.aafp.org/afp/2003/0615/p2517.html. Accessed May 16, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/11/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้วนเพราะยาคุม เรื่องจริงหรือไม่ และรับมือได้อย่างไร

ยาคุมแบบ21เม็ด ยาคุมแบบ28เม็ด แตกต่างกันอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 15/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา