backup og meta

ผู้หญิงท้อง กินยาพาราเซตามอล ทำให้ลูกเสี่ยงเป็นออทิสติกจริงหรือ?

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    ผู้หญิงท้อง กินยาพาราเซตามอล ทำให้ลูกเสี่ยงเป็นออทิสติกจริงหรือ?

    มีความเชื่อว่า ผู้หญิงท้อง กินยาพาราเซตามอล อาจทำให้ทารกที่คลอดออกมาเสี่ยงเป็นออทิสติก หรือโรคสมาธิสั้น (ADHD) แต่จริง ๆ แล้ว ยังไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่แสดงถึงความเชื่อมโยงว่าหากผู้หญิงท้อง กินยาพาราเซตามอล แล้วจะทำให้เสี่ยงเป็นออทิสติก

    ผู้หญิงท้อง กินยาพาราเซตามอล ลูกเสี่ยงออทิสติกจริงหรือ

    ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมิน การใช้พาราเซตามอลในผู้หญิงตั้งครรภ์ มากกว่า 2,000 ราย แล้วจากนั้น ก็ได้ดำเนินการทดสอบพัฒนาการ และพฤติกรรมต่างๆ ในเด็กที่อายุตั้งแต่ 1-5 ปี พวกเขาคาดว่าการใช้ยาพาราเซตามอลในขณะตั้งครรภ์ มีความเกี่ยวข้องกับอาการไฮเปอร์และการกระทำตามแรงกระตุ้นโดยไม่ยับยั้งชั่งใจในช่วงวัย 5 ปี และอาการออทิสติกในเด็กผู้ชาย

    อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีความสัมพันธ์ที่เห็นได้ชัดเจน ระหว่างผู้หญิงท้อง กินพาราเซตามอลกับเงื่อนไขในการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น (ADHD) หรืออาการออทิสติกในเด็กทุกคน และยังไม่มีความสัมพันธ์ใดๆกับพัฒนาการหรือสติปัญญา ที่สำคัญกว่านั้น งานวิจัยยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า การใช้ยาพาราเซตามอลขณะตั้งครรภ์นั้น ส่งผลให้เกิดอาการเหล่านี้

    สาเหตุของโรคทั้งสองนั้น ยังคงไม่สามารถอธิบายได้ และอาจรวมไปถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรมหลายอย่าง ภาวะสุขภาพ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

    ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยนั้นไม่ได้พิจารณาว่า ผู้หญิงคนนั้นสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ และทำให้ทารกได้รับควันบุหรี่มือสองหรือไม่ การสูบบุหรี่นั้นมีความสัมพันธ์กับทั้งสองโรคนี้ แต่ในงานวิจัยชิ้นนี้ ความสัมพันธ์นี้ไม่ได้รับการพิสูจน์ ฉะนั้น จึงฟังดูเหมือนการตั้งข้อสังเกตที่ผิดพลาดมากกว่า

    ดังนั้นมุมมองในตอนนี้ก็คือ การใช้ยาพาราเซตามอลเป็นครั้งคราวเท่าที่จำเป็น และใช้ในขนาดยาที่แนะนำขณะตั้งครรภ์นั้น เป็นเรื่องที่ปลอดภัย และหากมีความจำเป็นต้องรับประทานยาพาราเซตามอล คุณก็ควรปรึกษาแพทย์อย่างละเอียด เพื่อป้องกันผลข้างเคียง

    งานวิจัยมีอะไรบ้าง

    คุณแม่ทั้งหลายจะถูกสัมภาษณ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 12 และ 32 ของการตั้งครรภ์ โดยจะถูกถามว่า ได้ใช้ยาอะไรหรือไม่ แล้วใช้ยาเป็นระยะ หรือใช้เป็นประจำ เริ่มใช้ยาหนึ่งเดือนก่อนการตั้งครรภ์ หรือใช้ในช่วงของการตั้งครรภ์ ขนาดยา และความถี่ในการใช้ยา หากมีการใช้ยาพาราเซตามอลตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อนการตั้งครรภ์ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 32 ก็ถือว่าใช้ยาพาราเซตามอลในช่วงตั้งครรภ์

    มากกว่า 80% ของเด็กที่อายุระหว่าง 1-5 ปีนั้น ได้รับการประเมินตอนที่เด็กอายุหนึ่งปี ด้วยการตรวจประเมินพัฒนาการโดยใช้มาตรวัดพัฒนาการของเบย์เลย์ (Bayley Scales of Infant Developmet) แล้วหลังจากนั้นก็จะได้รับการตรวจสอบอีกครั้งในตอนอายุ 5 ปี

    วิธีการตรวจสอบในงานวิจัย

    • การตรวจความสามารถของเด็กโดยใช้มาตรวัดแมคคาร์ธี (McCarthy Scales of Children’s Abilities) เพื่อประเมินความสามารถทางสติปัญญาและจิตใจ
    • การวัดระดับสมรรถนะทางสังคมในระดับอนุบาลแคลิฟอร์เนีย (California Preschool Social Competence Scale) เพื่อประเมินความสามารถในการเข้าสังคม
    • การทดสอบวิเคราะห์การเป็นออทิสติกในเด็ก
    • คู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต ฉบับที่ 4 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับอาการของโรคสมาธิสั้น
    • การประเมินระดับสมาธิในเด็กของคอนเนอร์ (Conner’s Kiddie Continuous Performance Test) ซึ่งเป็นแบบทดสอบทางคอมพิวเตอร์ เพื่อประเมินความสนใจ ระยะเวลาการตอบสนอง ความแม่นยำ และการควบคุมแรงกระตุ้น

    ผลการตรวจสอบ

    โดยปกติแล้ว ประมาณ 42% ของเด็กสัมผัสกับยาพาราเซตามอลขณะในครรภ์ เนื่องจากแม่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด เด็กที่สัมผัสกับยาพาราเซตามอล มีแนวโน้มจะมีอาการไฮเปอร์ และแรงกระตุ้นของโรคสมาธิสั้นมากกว่าเด็กที่ไม่เคยสัมผัสกับยา

    การใช้ยาพาราเซตามอลนั้น ยังเกี่ยวข้องกับความผิดปกติบางอย่างในการประเมินระดับสมาธิสำหรับเด็กด้วย ยิ่งใช้ยาพาราเซตามอลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความเกี่ยวข้องกับอาการมากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเชื่อมโยงที่มีนัยสำคัญกับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น หรือการไม่มีสมาธิเท่าใดนัก และยังไม่มีความเชื่อมโยงกับผลของการทดสอบวิเคราะห์การเป็นออทิสติกในเด็กทุกคน

    แม้นักวิจัยจะพบว่า ผู้หญิงท้องกินยาพาราเซตามอล มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับโรคออทิสติกในเด็กผู้ชายโดยเฉพาะ แต่ก็ยังไม่มีความเชื่อมโยงที่เห็นได้ชัดระหว่างอาการโรคออทิสติกในเด็กผู้หญิง รวมทั้งไม่มีความเกี่ยวข้องกับผลของพัฒนาการทางด้านระบบประสาท

    จากการตรวจประเมินพัฒนาการของเด็กทารก โดยใช้มาตรวัดเบย์เลย์ขณะอายุหนึ่งปี หรือการตรวจความสามารถของเด็กด้วยมาตรวัดของแมคคาร์ธี ขณะอายุห้าปี

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา