backup og meta

สักตอนตั้งครรภ์ ปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์หรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/04/2022

    สักตอนตั้งครรภ์ ปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์หรือไม่

    สักตอนตั้งครรภ์ อาจส่งผลกระทบทั้งต่อคุณแม่และทารกในครภ์ได้ เนื่องจาก การสักด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตราฐาน หรือไม่ได้ดูแลความสะอาด อาจทำให้เกิดการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เอชไอวี (HIV) นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อการบล็อกหลังขณะคลอด ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการสักตอนตั้งครรภ์ เพื่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์

    สักตอนตั้งครรภ์ ได้หรือไม่

    เมื่อคุณตั้งครรภ์ คุณมักจะได้รับคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำ เช่น หลีกเลี่ยงการกินซูชิ ระวังการลื่นเมื่อต้องเดินตรงที่มีน้ำขัง และควรออกกำลังกายอย่างระมัดระวัง เป็นต้น แต่บางครั้งคุณแม่ตั้งครรภ์บางคนที่ชื่นชอบศิลปะบนเรือนร่างอาจจะมีคำถามขึ้นว่า แล้วจะสามารถ สักตอนตั้งครรภ์ ได้หรือไม่ แม้ว่าการวิจัยในเรื่องนี้จะยังไม่มีการวิจัยออกมา แต่โดยทั่วไปแล้ว คุณหมอจะไม่แนะนำให้ทำ

    สักตอนตั้งครรภ์ ส่งผลอย่างไรบ้าง

    โดยปกติแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์อาจต้องระมัดระวังกิจกรรมที่ต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร อยู่เสมอ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น เรื่องสักก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อยากสักตอนตั้งครรภ์ อาจต้องศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้

    การสักอาจนำไปสู่การติดชื้อ

    ความกังวลอย่างหนึ่งของคุณหมอที่มีต่อการสักตอนตั้งครรภ์ คือ การติดเชื้อ เนื่องจาก ร้านสักบางแห่งอาจจะไม่ได้มาตรฐาน ความปลอดภัยมีน้อย โดยเฉพาะในเรื่องของการรักษาความสะอาดเข็มและอุปกรณ์อื่น ๆ เข็มสักที่สกปรกอาจแพร่กระจายการติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และเอชไอวี (HIV) ได้ ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้อาจเป็นอันตรายอย่างมากกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ทั้งยังสามารถส่งต่อไปยังทารกแรกในครรภ์ได้อีกด้วย ซึ่งอาจทำให้ทารกที่คลอดออกมามีอาการต่าง ๆ เช่น อาการเหนื่อยง่าย เป็นไข้ ไปจนถึงปวดข้อ

    หากเกิดการติดเชื้อขึ้นขณะที่สัก บางครั้งอาจยังไม่แสดงอาการออกมา อาจต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าอาการจะแสดงออกมาให้เห็น แต่สัญญาณแรกที่จะเกิดขึ้นอาจเป็นผลลัพธ์ที่ผิดปกติเมื่อมีการทดสอบการทำงานของตับ

    รอยสักอาจเกิดการติดเชื้อระหว่างขั้นตอนการดูแลรักษารอยสักได้เช่นกัน ดังนั้น เมื่อคุณแม่ต้องการจะสักตอนตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอก่อนทำการสัก และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของช่างสักในการดูแลรอยสักหลังการสักอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ หากเกิดอาการต่าง ๆ เหล่านี้ควรไปพบคุณหมอทันที

    • มีไข้
    • หนาวสั่น
    • มีหนองหรือแผลสีแดงเกิดขึ้นที่รอยสัก
    • มีกลิ่นเหม็นออกมาจากบริเวณรอยสัก
    • เนื้อเยื่อนูนขึ้นมาและมีลักษณะที่แข็ง
    • เกิดเส้นสีดำกระจายไปทั่วและมีการพัฒนาไปเรื่อย ๆ

    แม้ว่าการติดเชื้อส่วนใหญ่อาจรักษาได้ แต่บางครั้งการติดเชื้อบางชนิด เช่น การติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส (Staphylococcus Aureus Infection) ก็อาจส่งผลร้ายแรงต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้

    ส่งผลต่อการบล็อกหลังแบบ Epidural

    หลังส่วนล่างเป็นจุดที่อาจมีการสักมากที่สุด ซึ่งบริเวณนี้ยังเป็นบริเวณที่คุณหมอมักจะใช้ในการฉีดยาชาเฉพาะที่ระหว่างคลอดอีกด้วย การบล็อกหลังแบบ Epidural เป็นการฉีดยาชาเฉพาะที่ หากแผนการคลอด คือ การบล็อกหลังแบบ Epidural อาจต้องเลื่อนแผนการสักออกไปก่อนจนกว่าจะคลอดลูกเรียบร้อยเสียก่อน

    แต่หากมีรอยสักช่วงหลังส่วนล่างอยู่แล้วอาจจะไม่เป็นไร แต่ก็จำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องการดูแลรักษารอยสักหรือการติดเชื้อ โดยทั่วไป รอยสักอาจใช้เวลา 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือนในการรักษาให้หายสนิท หากผิวหนังเกิดการติดเชื้อ อาจทำให้เกิดรอยแดง บวม หรือมีหนองไหลออกมาได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ว่า การรักษาการติดเชื้อจะใช้ระยะเวลานานเท่าใด รวมถึงอาการเจ็บครรภ์ก็ไม่สามารถคาดเดาได้เช่นกันว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ดังนั้น การฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าไปบริเวณหลังส่วนล่างซึ่งมีรอยสักที่อยู่แล้ว อาจส่งผลต่อเนื้อเยื่อบริเวณนั้น จนทำให้รอยสักเสียหายและอาจเกิดการติดเชื้อได้

    รอยสักอาจเปลี่ยนไปหลังตั้งครรภ์

    ฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง ร่างกายและผิวหนังจะขยายออก เพื่อให้มีที่ว่างสำหรับทารก ดังนั้น จึงอาจส่งผลทำให้รอยสักเปลี่ยนแปลงไป เช่น รอยสักที่หน้าท้องและสะโพกอาจได้รับผลกระทบจากรอยแตกที่เกิดในขณะตั้งครรภ์ (Striae Gravidarum) ซึ่งภาวะนี้เรียกกันว่า ผิวแตกลาย นอกจากนี้ สภาพผิวที่แตกต่างกันระหว่างตั้งครรภ์ อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดหรือมีอุปสรรคเมื่อไปสัก ซึ่งอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้แก่

  • ผื่นลมพิษในขณะตั้งครรภ์ (Pruritic Urticarial Papules and Plaques of Pregnancy หรือ PUPPP) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ผื่นแดง บวม ไปจนถึงตุ่มลักษณะคล้ายสิว ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่ท้อง ลำตัว และขา
  • อาการคันผิวหนังระหว่างตั้งครรภ์ (Prurigo Of Pregnancy) ผื่นคันนี้ประกอบด้วยตุ่มแดงเล็ก ๆ ที่เรียกว่า สิวชนิดตุ่มนูนแดง (Papule) ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ประมาณ 1 ใน 130-300 คนจะพบผื่นคันนี้และอาจใช้เวลานานหลายเดือนหลังคลอดกว่าผื่นคันนี้จะหายไป
  • ผื่นคัน (Impetigo herpetiformis) เป็นผื่นที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป ผื่นชนิดนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคสะเก็ดเงิน นอกจากปัญหาเกี่ยวกับผิวหนังแล้ว อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ และหนาวสั่น
  • การเปลี่ยนแปลงขอฮอร์โมนอาจทำให้เกิด จุดด่างดำ (Hyperpigmentation) ซึ่งอาจทำให้ผิวในบางบริเวณของร่างกายมีสีคล้ำขึ้น เช่น หัวนม ใบหน้า นอกจากนี้ ยังอาจทำใหเกิดฝ้า (Melasma) หรือที่เรียกว่า ผิวคล้ำเสีย (Mask Of Pregnancy) ซึ่งอาจพบได้มากถึง 70% ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์

    นอกจากนี้ แสงแดดยังอาจทำให้รอยคล้ำแย่ลง โดยอาจพบได้ว่า บริเวณที่มีรอยดำจะกลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุดหลังจากมีลูก เนื่องจาก คุณแมตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงในการไวต่อโรคมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงควรหลีกเสี่ยงการสักตอนตั้งครรภ์

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/04/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา