backup og meta

สาเหตุของปัสสาวะเล็ด หลังคลอด และการดูแลตัวเอง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ภัทราพร สงครามยศ · แก้ไขล่าสุด 21/02/2022

    สาเหตุของปัสสาวะเล็ด หลังคลอด และการดูแลตัวเอง

    ปัสสาวะเล็ด หลังคลอด อาจเกิดขึ้นจากการที่อุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง หย่อนคล้อย ทำให้ไม่สามารถรองรับและควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้ดีพอ จนทำให้มีอาการปัสสาวะเล็ด หรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น มดลูกขยาย น้ำหนักตัวมาก การดูแลตัวเองอาจช่วยบรรเทาอาการปัสสาวะเล็ดหลังคลอดได้ อย่างไรก็ตาม หากอาการยังคงไม่ดีขึ้น ก็ควรไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม

    สาเหตุของ ปัสสาวะเล็ด หลังคลอด

    หากจะเปรียบเทียบอย่างง่าย ๆ ว่า การคลอดลูกก็เหมือนการผลิตสินค้าล็อตใหญ่ในโรงงาน กว่าจะได้สินค้าล็อตใหญ่ออกมา เครื่องจักรต่าง ๆ ต้องทำงานกันจนเครื่องร้อน การคลอดลูกก็เช่นกัน  อวัยวะต่าง ๆ ต้องทำงาน ‘อย่างหนัก’ และสอดประสานกันเพื่อให้การคลอดเด็กเป็นไปอย่างสำเร็จ บางครั้งก็อวัยวะก็ทำงานหนักจนทรุดไปเล็กน้อย อย่างเช่น อุ้งเชิงกราน ซึ่งเป็นส่วนรองรับมดลูกกับกระเพาะปัสสาวะเอาไว้ เมื่อการคลอดลูกส่งผลให้อุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง หรือหย่อนลงมา ก็ส่งผลต่ออาการมือไม้อ่อนแรง หยิบจับอะไรก็ลำบาก มากไปกว่านั้น เมื่ออุ้งเชิงกรานหย่อน การกลั้นและควบคุมปัสสาวะก็ทำได้ยากเช่นเดียวกัน

    นอกจากนั้น การที่คุณแม่หลังคลอดฉี่เล็ด ฉี่ไหล จนควบคุมได้ลำบาก ก็มาจากสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คุณแม่ผ่านการคลอดบุตรมาแล้วหลายคน การที่มดลูกขยายใหญ่จนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ หากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่และยังไม่คลอด สามารถป้องกันได้ในส่วนหนึ่ง ด้วยการไม่รับประทานของไขมันเยอะจนน้ำหนักขึ้นมากเกินไป เพราะหากแม่ตั้งครรภ์อ้วนมากจะทำให้คลอดยาก และทำให้อุ้งเชิงกรานยิ่งทำงานหนักขึ้นจนหย่อนมากกว่าปกติ

    การดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการปัสสาวะเล็ด หลังคลอด

    การดูแลตัวเองเพื่อช่วยบรรเทาอาการปัสสาวะเล็ดหลังคลอด สามารถทำได้ดังนี้

    • ฝึกขมิบอุ้งเชิงกราน

    หรือเรียกอีกอย่างว่าฝึกขมิบช่องคลอด โดยขมิบไว้แรง ๆ ประมาณ 10 วินาทีแล้วปล่อย พักไว้ 5 วินาทีก็กลับมาทำอีกครั้งจนครบ 5 ครั้ง ฝึกทำเป็นประจำทุกวัน เมื่ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงขึ้น การกลั้นปัสสาวะหรือควบคุมปัสสาวะก็จะทำได้ดีมากขึ้น

    • ดื่มน้ำเยอะ ๆ

    หากคุณแม่ดื่มน้ำน้อย ๆ เพราะกลัวว่าจะปัสสาวะเล็ด นอกจากจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่แท้จริงแล้ว ยังจะทำให้เกิดปัญหาใหม่ นั่นก็คือทำให้แบคทีเรียที่เกาะอยู่ตามทางเดินปัสสาวะยิ่งติดแน่น แถมเพิ่มปริมาณมากขึ้นอีก จนอาจทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ คุณแม่จึงควรดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อให้น้ำช่วยล้างแบคทีเรียในท่อปัสสาวะ จนสามารถลดอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้

  • ไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา

  • คุณหมออาจทำการรักษาตามความเหมาะสม เช่น ใช้ยารักษา ผ่าตัด อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์หรือคุณแม่ที่ให้นมลูก ไม่ควรใช้ยาตามใจชอบโดยไม่ผ่านความเห็นจากคุณหมอ แต่ควรปรึกษาคุณหมอจะเหมาะสมเพื่อทำการวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างเหมาะสม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ภัทราพร สงครามยศ · แก้ไขล่าสุด 21/02/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา