backup og meta

ไฮโปไทรอยด์ ส่งผลต่อโอกาสตั้งครรภ์อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 23/08/2022

    ไฮโปไทรอยด์ ส่งผลต่อโอกาสตั้งครรภ์อย่างไร

    ไฮโปไทรอยด์ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxine) มากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนไทรอกซินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ในการควบคุมเมแทบอลิซึม เพื่อผลิตพลังงานให้แก่ร่างกาย โดยภาวะไฮโปไทรอยด์อาจพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ เช่น วงจรการตกไข่ ระดับโปรแลคตินสูง ความไม่สมดุลของฮอรโมนเพศ และหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก

    ไฮโปไทรอยด์ คืออะไร

    ไฮโปไทรอยด์ เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอกซินมากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนไทรอกซินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ในการควบคุมเมแทบอลิซึม เพื่อผลิตพลังงานให้แก่ร่างกาย โดยไฮโปไทรอยด์อาจพบได้บ่อยในเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ และอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ เช่น วงจรการตกไข่ ระดับโปรแลคตินสูง ความไม่สมดุลของฮอรโมนเพศ และหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก

    ไฮโปไทรอยด์ กับการตั้งครรภ์

    ไฮโปไทรอยด์อาจส่งผลต่อการตกไข่ โดยปกติผู้หญิงที่มีประจำเดือนในแต่ละเดือน ไข่จะถูกปล่อยออกมาจากรังไข่ แต่สำหรับผู้หญิงที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์ อาจตกไข่น้อยลงหรือไม่ตกไข่เลย ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ นอกจากนั้น ภาวะไฮโปไทรอยด์ยังอาจรบกวนการพัฒนาของตัวอ่อน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร หากคุณแม่ตั้งครรภ์โดยที่ไม่ได้รับการรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์ อาจส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระบบประสาท ดังนั้น ผู้ที่ต้องการมีบุตรหรือกำลังตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์และได้รับการรักษาที่เหมาะสม

    อาการของภาวะไฮโปไทรอยด์

    อาการของภาวะไฮโปไทรอยด์ที่อาจเกิดขึ้น อาจมีดังนี้

    • หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
    • น้ำหนักลดทั้งที่รับประทานอาหารในปริมาณปกติ
    • เหนื่อยง่าย
    • นอนไม่หลับ
    • หงุดหงิด วิตกกังวล
    • สูญเสียกระดูก กระดูกบาง

    การตรวจและรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์

    สำหรับการตรวจหาภาวะไฮโปไทรอยด์ คุณหมออาจตรวจร่างกายและตรวจเลือด เพื่อวัดระดับฮอรโมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอกซิน ผู้หญิงที่พบว่ามีฮอรโมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์มากกว่า 10 mIU/L ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ควรได้รับการรักษาภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่มีฮอรโมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ 2.5 mIU/L หรือน้อยกว่า ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาเลโวไทรอกซิน (Levothyroxine) ซึ่งยาเลโวไทรอกซิน คือ ยาที่ใช้บ่อยที่สุดในการรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์ ใช้สำหรับรับประทานวันละ 1 ครั้ง เมื่อเริ่มใช้ยาเลโวไทรอกซีน ควรเข้ารับการตรวจเลือดภายใน 4-6 สัปดาห์ เพื่อวัดระดับไทรอกซีนและตรวจสอบว่าได้รับขนาดยาที่ถูกต้อง 

    การรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์ในหญิงตั้งครรภ์

    สำหรับการรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์ในหญิงตั้งครรภ์เป็นการทดแทนฮอร์โมนไทรอยด์อย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ผู้หญิงที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์ควรได้รับยาลีโวไทรอกซีนที่เหมาะสมที่สุดก่อนตั้งครรภ์ โดยความต้องการยาเลโวไทรอกซินมักเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ โดยปกติประมาณ 25%-50% ผู้หญิงที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์ที่รับประทานยาเลโวไทรอกซิน ควรเพิ่มขนาดยาโดยอิสระ 20%-30% ทันทีที่ได้รับการวินิจฉัยว่า ตั้งครรภ์ และควรแจ้งให้คุณหมอทราบเพื่อเข้ารับทดสอบโดยทันทีและประเมินผลต่อไป

    วิธีหนึ่งในการเพิ่มขนาดยาให้สำเร็จ คือ การรับประทานยาเลโวไทรอกซินเพิ่มอีก 2 เม็ด/สัปดาห์ ทุกวัน และควรทำการทดสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ทุก ๆ 4 สัปดาห์ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เพื่อประเมินการทำงานของต่อมไทรอยด์ในหญิงตั้งครรภ์ว่าทำงานตามปกติตลอดการตั้งครรภ์ หลังจากคลอดบุตร อาจกลับไปใช้ยาเลโวไทรอกซินตามปริมาณปกติ ทั้งนี้ วิตามินก่อนคลอดประกอบด้วยธาตุเหล็กและแคลเซียมที่อาจทำให้การดูดซึมฮอร์โมนไทรอยด์จากทางเดินอาหารลดลง ดังนั้น จึงไม่ควรรับประทานยาเลโวไทรอกซีนและวิตามินก่อนคลอดพร้อมกัน และควรแยกรับประทานห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 23/08/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา