backup og meta

เดินออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้ผู้หญิงได้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 28/04/2022

    เดินออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้ผู้หญิงได้

    ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน หรือมีน้ำหนักตัวมาก อาจจะมีโอกาสเกิดภาวะมีบุตรยากได้ค่อนข้างสูง การ เดินออกกำลังกาย เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินมีโอกาสตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับ การเดินออกกำลังกาย เพื่อช่วย เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ มาฝากกันค่ะ

    ผู้หญิงที่มีรูปร่างอ้วนกับภาวะมีบุตรยาก

    ผลการศึกษาวิจัยระบุว่า กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายต่าง ๆ แทบจะทุกชนิด ไม่มีส่วนเชื่อมโยงกับแนวโน้มที่จะเกิดการตั้งครรภ์ในผู้หญิงเลย ยกเว้นการเดินออกกำลังกาย ที่สามารถช่วยให้ผู้หญิงที่เคยมีอาการคลอดกำหนดมากกว่าหนึ่งครั้ง สามารถมีโอกาสตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง

    ผู้หญิงที่มีรูปร่างอ้วนหรือน้ำหนักเกิน มักจะเกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือมีสัญญานเตือนของโรคเบาหวาน ทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายขาดความสมดุล จนทำให้อยู่ในภาวะมีบุตรยาก และสูญเสียตัวอ่อนในช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ ระดับอินซูลินในร่างกายที่ผิดปกติ อาจเป็นตัวการทำให้รังไข่ตอบสนองกับการส่งสัญญานของฮอร์โมนที่ต่างกันไป ส่งผลให้ไม่เกิดการตกไข่ หรือมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ต่ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อยู่ในภาวะมีบุตรยาก และการสูญเสียตัวตัวอ่อนในช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์

    เดินออกกำลังกาย เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

    การศึกษาวิจัยที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ แอมเฮิร์สท์ ค้นพบว่าการเดินออกกำลังกายช่วย เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ให้กับผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินได้จริง ๆ ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายอื่น ๆ เลย แถมการเดินออกกำลังกายนี้ยังช่วยให้ผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์ และเคยแท้งบุตรมามากกว่าหนึ่งครั้ง มีโอกาสสูงที่จะเกิดการตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ต้องเสียเงินเสียทองอะไรเลย

    วิธีการเดินออกกำลังกาย

    การเดินที่มีความหนักหน่วงปานกลางจะส่งผลที่ดีต่อผู้หญิงที่มีรูปร่างอ้วน โดยจะส่งผลแตกต่างกันไป ซึ่งจากการศึกษากับผู้หญิงจำนวน 1,214 คนนั้น ผลที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับค่าดัชนีมวลกายของแต่ละคนด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินนั้น การเดินออกกำลังกายที่ใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาทีนั้น มีส่วนช่วยให้เกิดโอกาสการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น นอกจากจากนี้ยังมีรายงานด้วยว่า ผู้หญิงที่เดินออกกำลังมากกว่าสัปดาห์ละสี่ชั่วโมง ก็มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์สูงกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้เดินออกกำลังกาย ฉะนั้นก็หาเวลาไปเดินออกกำลังกายกันซะเถอะนะคุณสาว ๆ

    เคล็ดลับ เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

    นอกเหนือจากการเดินออกกำลังกายแล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่ทำให้คุณมีโอกาสในการตั้งครรภ์ โดยมีวิธีต่าง ๆ ดังนี้ 

    • ตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์

    ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการใด ๆ เพื่อ เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ คุณควรตรวจสภาพร่างกายก่อนตั้งครรภ์เป็นอันดับแรก ลองถามคุณหมอว่าควรกินวิตามินอะไรที่มีกรดโฟลิคมั้ย เพราะกรดโฟลิคจะช่วยป้องกันความพิการแต่กำเนิดได้ กรดโฟลิคใช้ได้ผลในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์ จึงนับเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณควรกินอาหารเสริมที่มีกรดโฟลิคให้พอเพียง แม้ในช่วงเวลาก่อนการตั้งครรภ์

    • ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องท่า

    มีข่าวโคมลอยอยู่มากมายเกี่ยวกับท่าทางบนเตียง ที่ช่วยให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากขึ้น ฉะนั้นอย่าไปเชื่อข่าวโคมลอยพวกนี้ นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยันด้วยว่า ท่าไหนดีกว่าท่าไหนในการ เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ แต่ท่าทางบางท่าก็อาจลดโอกาสการตั้งครรภ์ได้เหมือนกันนะ อย่างเช่น การมีเพศสัมพันธ์ในท่านั่งหรือท่ายืน ก็อาจทำให้เชื้ออสุจิเดินทางต้านแรงโน้มถ่วงของโลกขึ้นไปหาเป้าหมายได้ยากขึ้น ฉะนั้นใช้ท่าทางแบบพื้นฐานจะดีกว่า

    • นอนนิ่ง ๆ หลังมีเพศสัมพันธ์

    ขอบอกเอาไว้ตรงนี้เลยนะว่า ความเชื่อที่ว่า การนอนยกขาชี้ฟ้าหลังมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้นนั้น ไม่เป็นความจริงเลย แต่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้นอนนิ่ง ๆ หลังมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 10 – 15 นาที เพื่อให้เวลาเชื้ออสุจิเดินทางไปถึงปากมดลูกได้อย่างสบายใจ โดยไม่มีอะไรไปรบกวน

    • อย่าหักโหม

    การมีเพศสัมพันธ์ทุกวันหรือแม้แต่ในช่วงที่มีไข่ตกนั้น ไม่ได้ช่วยเพิ่มโอกาสในการ ตั้งครรภ์ หรอกนะ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้มีเพศสัมพันธ์วันเว้นวันในช่วงที่มีไข่ตก ซึ่งเชื้ออสุจิจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ ฉะนั้นไม่ต้องหักโหมแค่มีเพศสัมพันธ์ให้สม่ำเสมอเป็นประจำเท่านั้นก็เพียงพอ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 28/04/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา