backup og meta

วิธีรักษาโรคธาลัสซีเมีย มีอะไรบ้าง และช่วยให้หายขาดได้ไหม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 15/03/2021

    วิธีรักษาโรคธาลัสซีเมีย มีอะไรบ้าง และช่วยให้หายขาดได้ไหม

    โรคธาลัสซีเมีย คือ หนึ่งในความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดที่ถ่ายทอดกันทางพันธุกรรม แม้โรคนี้จะป้องกันไม่ได้ แต่ปัจจุบันก็มี วิธีรักษาโรคธาลัสซีเมีย หลากหลายแบบเพื่อช่วยบรรเทาอาการและอาจช่วยทำให้หายขาดจากโรคนี้ได้ ในบทความนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมแนวทางการรักษา ธาลัสซีเมีย มาฝาก

    ธาลัสซีเมีย คืออะไร

    ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดซึ่งได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ทว่ากลับมีการปิดกั้นไม่ให้ร่างกายสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ได้ตามปกติ ซึ่งฮีโมโกลบินเป็นโมเลกุลโปรตีนที่มีบทบาทสำคัญมากในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สุขภาพดี และสามารถลำเลียงออกซิเจนได้ดี

    โรคนี้ไม่สามารถแพร่กระจายจากคนหนึ่ง ไปยังอีกคนหนึ่งได้จากการสัมผัส เพราะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งหมายความว่าพ่อหรือแม่ หรือทั้งพ่อและแม่ของคุณเป็นพาหะของโรค

    ธาลัสซีเมียส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นในครอบครัวของชาวเอเชียใต้ ชาวจีน ชาวตะวันออกกลาง และชาวแอฟริกัน เพื่อให้ทราบว่า คุณมีลักษณะสืบสายพันธุ์ธาลัสซีเมียหรือไม่นั้น คุณจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเลือดแบบพิเศษ คือ การตรวจเลือดแบบ (Hemoglobin Electrophoresis) เพื่อดูผลของค่าการตรวจเลือด ว่ามีค่าผิดปกติที่ อาจจะมีแนวโน้มหรือกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะเป็น ธาลัสซีเมีย หรือไม่อย่างไร

    วิธีรักษาโรคธาลัสซีเมีย มีอะไรบ้าง

    การรักษา ธาลัสซีเมีย ยึดตามชนิดของธาลัสซีเมียที่คุณเป็นและระดับความรุนแรงของโรค แพทย์จะกำหนดการรักษาที่จัดว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วย ผู้ที่เป็นพาหะของโรค หรือผู้ที่มีลักษณะสืบสายพันธุ์อัลฟ่าธาลัสซีเมีย หรือเบต้าธาลัสซีเมีย ซึ่งมักแสดงอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลย หากเป็นกรณีที่ไม่มีการแสดงอาการเลย ก็อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเลย หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

    หากเป็น ธาลัสซีเมียในระดับปานกลางและรุนแรง ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอย่างเป็นมาตรฐาน ซึ่งได้แก่ การถ่ายเลือด การรักษาด้วยการใช้ยาขับธาตุเหล็ก และการรับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิค ผู้ป่วยควรติดตามการรักษากับแพทย์ผู้เชียวชาญอย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตนตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาโรค

    การให้เลือด

    การให้เลือดเป็นการรักษาหลักสำหรับผู้ป่วยที่เป็น ธาลัสซีเมีย ในระดับปานกลางและรุนแรง วิธีนี้จะมีการสังเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีสุขภาพดี ด้วยฮีโมโกลบินมาตรฐาน ทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

    ในระหว่างการให้เลือด แพทย์จะใส่เข็มผ่านทางเส้นเลือดไปยังอีกเส้นเลือดเส้นหนึ่ง ซึ่งเลือดที่มีคุณภาพดีสามารถเข้าสู่ร่างกายของคุณผ่านทางเส้นเลือดนี้ได้ เวลาปกติที่ใช้ในการรักษาประเภทนี้ คือ 1-4 ชั่วโมง และเนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงสามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นเวลาประมาณสี่เดือน จึงจำเป็นต้องมีการให้เลือดซ้ำ เพื่อรักษาการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีสุขภาพดี

    หากคุณเป็นเบต้าธาลัสซีเมีย ชนิดธาลัสซีเมียอินเทอร์มีเดีย (Thalassemia Intermedia) หรือโรคฮีโมโกลบินเอช (Hemoglobin H Disease) และเกิดภาวะโลหิตจางที่ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น อ่อนเพลีย อาจจำเป็นต้องมีการให้เลือดเป็นครั้งคราว

    หากคุณเป็นเบต้าธาลัสซีเมียเมเจอร์ (Beta Thalassemia Major) อาจจำเป็นต้องเข้ารับการให้เลือดอย่างสม่ำเสมอ โดยปกติแล้วคือทุก 2-4 สัปดาห์ หรือขึ้นอยู่กับจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดที่ใช้

    ผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่รับการรักษาโดยการให้เลือดจึงต้องระมัดระวังและการดูแลตัวเองให้มาก เช่น การเดิน หรือเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันการผลัดตก หกล้ม

    ข้อเสียของวิธีรักษา ธาลัสซีเมีย ด้วยการให้เลือด คือ มีค่าใช้จ่ายสูง และมีความเสี่ยงในการแพร่กระจายของไวรัสและการติดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำมาก

    การให้ยาขับธาตุเหล็ก

    ฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงของคุณ เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีธาตุเหล็กสูง การให้เลือดอย่างสม่ำเสมอ จึงสามารถทำให้เกิดภาวะธาตุเหล็กเกินในเลือดได้ ถึงแม้ว่าธาตุเหล็กจะมีความสำคัญต่อร่างกาย แต่หากร่างกายมีธาตุเหล็กในปริมาณมากเกินไป ก็อาจสร้างความเสียหายต่อหัวใจ ตับ และอวัยวะอื่น ๆ จนเป็นอันตรายถึงชีวิต

    การกำจัดธาตุเหล็กส่วนเกินออกจากร่างกายของผู้ป่วย ธาลัสซีเมีย ที่ได้รับการรักษาด้วยการให้เลือด จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการใช้ยาขับธาตุเหล็ก เช่น ยาดีเฟอร็อกซามีน (Deferoxamine) และยาดีเฟอราซีร็อกซ์ (Deferasirox) ซึ่งยาทั้งสองชนิดนี้มีสรรพคุณช่วยในการขับธาตุเหล็ก

    อาหารเสริมกรดโฟลิค

    กรดโฟลิคเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง ที่ช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงในร่างกาย แพทย์จึงมักแนะนำให้ผู้ป่วยธาลัสซีเมียใช้อาหารเสริมกรดโฟลิค ร่วมกับการให้เลือด หรือรับการรักษาด้วยการใช้ยาขับธาตุเหล็ก

    การรักษาอื่น ๆ

    การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell Transplant) เรียกอีกอย่างว่า การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplant) เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสำหรับเด็กที่เป็น ธาลัสซีเมีย ชนิดรุนแรงมาแต่กำเนิด เมื่อใช้วิธีรักษาโรคธาลัสซีเมียด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก ก็อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการให้เลือดตลอดชีวิต และไม่จำเป็นต้องรับประทานยาขับธาตุเหล็กส่วนเกิน หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวิธีที่เพิ่มโอกาสในการรักษาธาลัสซีเมียให้หายขาดได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 15/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา