backup og meta

7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กแรกเกิด ที่คุณพ่อคุณแม่รู้แล้วจะอึ้ง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 05/04/2023

    7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กแรกเกิด ที่คุณพ่อคุณแม่รู้แล้วจะอึ้ง

    เมื่อรู้ว่าครอบครัวจะมีสมาชิกตัวน้อย ๆ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน คุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้างน่าจะตื่นเต้นกันมาก และคงเตรียมตัวศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับทารกหรือเด็กแรกเกิดอย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูลูกได้อย่างดีที่สุด นี่คือ 7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กแรกเกิด ที่อาจช่วยให้คุณเข้าใจทารกน้อยได้ดีขึ้น

    7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กแรกเกิด

    1. เด็กแรกเกิดมีกระดูกมากกว่าผู้ใหญ่

    หลายคนอาจไม่เชื่อว่าเด็กทารกตัวเล็ก ๆ ที่เนื้อตัวดูนุ่มนิ่ม ทรงตัวแทบไม่ได้ จะมีกระดูกมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเด็กแรกเกิดมีกระดูกทั้งหมด 300 ชิ้น ส่วนผู้ใหญ่มีกระดูก 206 ชิ้น จะเห็นได้ว่าเด็กแรกเกิดมีกระดูกมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 94 ชิ้น ทุกคนคงอาจจะตกใจว่า กระดูกกว่าร้อยชิ้นในร่างกายหายไปไหน ความจริงกระดูกจำนวนดังกล่าวไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ไปรวมกับกระดูกชิ้นที่อยู่ใกล้ ๆ เพื่อทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และสามารถรอบรับร่างกายที่เจริญเติบโตขึ้น รวมถึงน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นได้นั่นเอง

    2. อุจจาระครั้งแรกของเด็กแรกเกิดไม่เหม็นอย่างที่คิด

    อุจจาระครั้งแรกของทารก เรียกว่า ขี้เทา (Meconium) ซึ่งเด็กสามารถสร้างได้ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ ขี้เทาประกอบด้วยสสารที่ถูกย่อยระหว่างที่ทารกอยู่ในมดลูก ซึ่งมีทั้งน้ำคร่ำ น้ำดี เมือก ขนอ่อน เป็นต้น โดยขี้เทานี้แทบจะไม่มีแบคทีเรียในลำไส้ที่ทำให้อุจจาระมีกลิ่นปนอยู่เลย นั่นจึงทำให้การอุจจาระครั้งแรกของเด็กแนกเกิดปราศจากกลิ่น ไม่เหมือนกับอุจจาระของผู้ใหญ่ แต่ทันทีที่ทารกแรกเกิดได้รับอาหารมื้อแรก ซึ่งก็คือน้ำนม แบคทีเรียก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นในลำไส้ และทำให้อุจจาระที่ขับถ่ายออกมามีสีเขียว เหลือง หรือน้ำตาล และมีกลิ่น

    3. เด็กแรกเกิดอาจหยุดหายใจครั้งละ 5-10 วินาที

    เวลาที่ทารกนอนหลับ อาจหยุดหายใจไป 5-10 วินาที ซึ่งภาวะนี้อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่บางคนที่สังเกตเห็นถึงกับตื่นตระหนกได้ง่าย ๆ เลย แต่ความจริงแล้ว การหายใจที่ผิดปกตินี้ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กแรกเกิด แต่หากสังเกตเห็นว่า ลูกหยุดหายใจนานจนตัวเริ่มเขียว ควรเรียกรถฉุกเฉินทันที

    และนอกจากจะหยุดหายใจบ่อย ๆ แล้ว เวลาที่ตื่นเต้น หรือหลังจากร้องไห้เสร็จ เด็กแรกเกิดก็อาจหายใจมากกว่า 60 ครั้ง/นาทีเลยทีเดียว

    4. เด็กทารกทั้งชายและหญิงมีเต้านม

    ในช่วงแรกเกิด ทั้งทารกเพศชายและเพศหญิงจะเกิดมาพร้อมกับเต้านมขนาดเล็ก และบางคนอาจมีน้ำนมไหลออกมาจากเต้าด้วย ที่เด็กทารกเกิดทั้งชายและหญิงเกิดมามีเต้านมเช่นนี้ เป็นเพราะได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากคุณแม่ตอนที่อยู่ในมดลูกนั่นเอง แต่ขอเตือนว่า อย่าไปบีบเต้านม หรือพยายามกดให้มันหายไปเด็ดขาด เพราะเต้านมของเด็กแรกเกิดจะหายไปเองภายใน 2-3 สัปดาห์ และหากเป็นทารกเพศหญิง ก็อาจมีประจำเดือนหรือของเหลวจากช่องคลอดประมาณ 2-3 วัน ถือเป็นเรื่องปกติ

    5. อวัยวะเพศของทารกก็แข็งตัวได้

    เชื่อไหมว่า อวัยวะเพศของทารกน้อยเพศชายก็สามารถแข็งตัวได้เช่นกัน ซึ่งภาวะนี้มักเกิดขึ้นก่อนจะถ่ายปัสสาวะ ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ให้ลูกใส่ผ้าอ้อม นี่ก็ถือเป็นสัญญาณเตือนที่ดี ที่จะทำให้ป้องกันปัสสาวะเปรอะเปื้อนได้ทัน แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าทำไมอวัยวะเพศชายของทารกน้อยถึงแข็งตัวได้ แต่ภาวะนี้ก็ก็ถือเป็นเรื่องปกติ คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด

    6. เด็กว่ายน้ำเป็นตั้งแต่เกิด

    เด็กแรกเกิดสามารถกลั้นหายใจเมื่ออยู่ใต้น้ำได้ แถมยังขยับแขนขาเพื่อว่ายน้ำได้ด้วย ความสามารถนี้ทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถพาทารกน้อยไปว่ายน้ำตั้งแต่ลูกมีอายุครบ 6 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ดี ขณะที่ลูกกำลังว่ายน้ำ คุณพ่อคุณควรดูแลลูกให้ดี อย่างให้คลาดสายตาเด็ดขาด และต้องคอยระวังอย่าให้ลูกตัวเย็นเกินไปด้วย

    7. เด็กแรกเกิดมีสายตาสั้น

    เด็กแรกเกิดมีสายตาสั้นมาก โดยสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแค่ในระยะ 20-30 เซนติเมตรเท่านั้น และสิ่งนั้นต้องอยู่ตรงหน้าด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะมองเห็นเป็นภาพเบลอ ๆ หรือแค่แสงจ้า ๆ แต่เมื่อทารกโตขึ้น สายตาก็จะค่อย ๆ พัฒนา ทำให้ทารกโฟกัสวัตถุต่าง ๆ ได้ดีขึ้นตามไปด้วย เมื่ออายุครบ 1 ปี เด็กจะเริ่มมองเห็นสีและรูปร่างของวัตถุต่าง ๆ ได้ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถช่วยพัฒนาการมองเห็นให้กับลูกได้ด้วยการให้มองของเล่นที่มี่รูปร่างชัดเจน และมีสีสันสดใส

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 05/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา