backup og meta

ลูกน้อยวัย 17 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแลที่ควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 09/08/2022

    ลูกน้อยวัย 17 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแลที่ควรรู้

    ถ้าคุณเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลา นี่คือข้อมูลของ ลูกน้อยวัย 17 เดือน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้เอาไว้

    การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 17 เดือน

    ตอนนี้ลูกน้อยมีอายุ 17 เดือนแล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นลูกน้อยส่งเสียงอย่างหนึ่งขึ้นมา นั่นก็คือเสียงกรีดร้อง เนื่องจากลูกพบเสียงของตัวเอง และทดสอบว่าจะมีเสียงดังมากแค่ไหน เขาอาจต้องการความสนใจแบบทันทีทันควัน วิธีรับมือที่ดีที่สุด คือ ทำเป็นไม่สนใจ เพราะยิ่งให้ความสนใจมากเท่าไหร่ ลูกน้อยก็ยิ่งกรีดร้องมากขึ้น

    ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร

    • การออกเสียง ในขณะที่ลูกน้อยมีพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อบริเวณลิ้นและปากก็อาจจะออกเสียงได้ดีขึ้น ดังนั้น การออกเสียงในสิ่งที่ลูกน้อยพูดซ้ำ ๆ เป็นการช่วยแก้ไขการออกเสียงให้ถูกต้อง และช่วยให้คนในครอบครัวหรือคนอื่น ๆ สามารถฟังสิ่งที่ลูกน้อยพูดได้เข้าใจมากขึ้น
    • สอนลูกเรื่องการร้องเสียงดัง ลูกน้อยอาจกรีดร้องใส่หูของคุณพ่อคุณแม่ จึงควรอธิบายให้ลูกน้อยเข้าใจว่าการตะโกนเป็นการทำร้ายหู และบอกลูกว่าเขาไม่มีสิทธิ์จะโต้ตอบอะไรถ้าไม่ใช้เสียงปกติ แต่ระวังอย่าตะโกนสั่งสอนหรือดุ คุณพ่อคุณแม่อาจบอกว่า “ลูกพูดเสียงดังเวลาอยู่กลางแจ้งได้ แต่จะไม่เสียงดังเวลาอยู่ร่วมกับคนอื่น”
    • ควรทำอาหารให้หลากหลายในทุก ๆ มื้อ ถ้าคุณพ่อคุณแม่เสนอตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพได้อย่างหลากหลาย จากกลุ่มอาหารที่ต่าง ๆ ลูกน้อยก็มีสิทธิ์จะได้รับสารอาหารที่จำเป็นได้อย่างครบถ้วน

    สุขภาพและความปลอดภัย

    จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ

    คุณพ่อคุณแม่อาจพูดคุยกับคุณหมอในเรื่องต่อไปนี้

    ลูกน้อยนอนอย่างไร

    ในวัยนี้ลูกน้อยจะใช้เวลานอนประมาณ 11 ชั่วโมงในช่วงกลางคืน และงีบหลับประมาณ 2 ชั่วโมงในช่วงกลางวัน ช่วงก่อนนอนมักเป็นช่วงที่ต้องสู้รบปรบมือกันมากหน่อย เนื่องจากลูกน้อยในวัยนี้ไม่ชอบอยู่นิ่ง หรืออาจจะไม่ยอมนอน เพราะกลัวความมืดและการอยู่คนเดียว

    ลูกน้อยกินอาหารอย่างไร

    คุณหมอจะซักถามเพื่อตรวจดูว่า ลูกน้อยได้รับอาหารที่หลากหลาย และสมดุลหรือไม่ คุณหมออาจแนะนำอาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพ หรือวิธีที่จะทำให้ลูกนั่งได้นาน ๆ เพื่อจะได้กินอาหาร เนื่องจากลูกน่อยอายุ 17 เดือนส่วนใหญ่ไม่ชอบถูกรั้งเอาไว้บนเก้าอี้สูงสำหรับเด็กในช่วงที่รับประทานอาหาร

    ลูกน้อยแสดงท่าทีว่า พร้อมฝึกเข้าห้องน้ำแล้วหรือยัง

    เด็กในช่วงอายุ 17-24 เดือนมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย และมีทักษะในการเรียนรู้เพื่อฝึกการใช้ห้องน้ำแล้ว เช่น สามารถดึงกางเกงขึ้นและลงได้อย่างง่ายดาย แต่เด็กบางคนก็อาจยังไม่พร้อมจนกว่าจะมีอายุได้ 4 ขวบ

    ลูกน้อยเดินหรือยัง

    ตอนนี้ลูกน้อยควรจะเริ่มเดินได้แล้ว เด็กมักเรียนรู้ที่จะเดินในช่วงอายุระหว่าง 9-18 เดือน ถ้าลูกน้อยกำลังเดินเขย่งปลายเท้าเดิน หรือเดินเป๋ไปทางด้านข้าง ก็ควรบอกให้คุณหมอรับทราบ เพื่อที่ได้ประเมินทักษะทางการเคลื่อนไหว

    ลูกน้อยอาจชอบพูดว่า “ไม่” หรือชอบอาละวาดหรือเปล่า

    เด็กวัย 17 เดือนส่วนใหญ่ได้ค้นพบความสุขจากการพูดว่า “ไม่” และชอบนำเอาคำที่ทรงอำนาจนี้มาต่อสู้กับคุณพ่อคุณแม่ นี่เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอิสระ และการพัฒนาทางภาษา

    ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

    คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ว่าเวลาที่ไปพบคุณหมอแล้วจะต้องเจอกับอะไร ซึ่งคุณหมออาจทำการตรวจสอบ ดังนี้

    • ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยกำลังเติบโตอย่างมีสุขภาพดี
    • ตรวจสอบหัวใจและการหายใจ
    • ตรวจสอบสายตาและหู
    • วัดขนาดศีรษะ เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของสมอง
    • ฉีดวัคซีนอีกรอบใหม่ รวมถึงวัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ ไวรัสตับอักเสบ บี และวัคซีนอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ฉีด
    • ระบุถึงความกังวลใด ๆ เกี่ยวกับสุขภาพของลูกน้อย รวมถึงวิธีสังเกตอาการของโรคหูอักเสบ หวัด และไข้หวัดใหญ่
    • ตอบคำถามใด ๆ ที่เกี่ยวกัยการฝึกเข้าห้องน้ำ หรือการฝึกวินัย
    • ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และพฤติกรรม
    • ตรวจเลือดเพื่อหาภาวะโลหิตจางและพิษจากสารตะกั่ว ถ้าลูกน้อยมีปัจจัยเสี่ยง

    สิ่งที่ต้องกังวล

    คุณพ่อคุณแม่อาจกังวลเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อย และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ กับเด็กในวัยนี้ เช่น ตกจากหน้าต่าง ตกบันได ตกจากโต๊ะและเก้าอี้ ที่ปีนขึ้นไป รวมถึงแผลไหม้จากการคว้าหม้อ กระทะจากเตาร้อน ๆ หรือการโดนสารพิษด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 09/08/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา