backup og meta

ลูกน้อยวัย 32 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 09/12/2022

    ลูกน้อยวัย 32 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแล

    ลูกน้อยวัย 32 เดือน เป็นช่วงวัยที่มีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เด็ก ๆ เริ่มที่จะสื่อสารและเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนขึ้น สามารถเริ่มเล่นบทบาทสมมติ เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง และรู้จักคิดมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรหากิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนให้ลูกได้ฝึกพัฒนาตนเองในทุก ๆ วัน

    การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 32 เดือน 

    ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง

    เมื่อลูกน้อยมีอายุได้ 3 ขวบ พัฒนาการด้านภาษาโดยเฉพาะการพูด ฟัง อ่าน เขียน จะเริ่มชัดขึ้น โดยเริ่มสนใจการเล่นเป็นบทบาทสมมติ ตุ๊กตารูปสัตว์ต่าง ๆ จะไม่เพียงเป็นตุ๊กตาที่เอาไว้กอดอีกต่อไปแล้ว แต่จะเป็นของเล่นที่มีชีวิตจริง ๆ และมีชื่อ มีครอบครัว ต้องการอาหาร อาบน้ำ และไปร่วมปาร์ตี้น้ำชากับลูกน้อยด้วย ผ้าเช็ดตัวบนหลังลูกน้อยอาจทำให้กลายเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ขึ้นมาทันที ซึ่งมีเรื่องราวในการเดินทางหรือการผจญภัยตามมาด้วย ลูกน้อยจะเริ่มบรรยายความคิดและจินตนาการขณะที่เล่นอยู่ด้วย และสามารถสร้างบทสนทนาและใช้คำพูดโต้ตอบได้เร็วขึ้น

    ควรช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยอย่างไร

    หนังสือบทกลอนหรือคำคล้องจอง

    วิธีที่จะช่วยเสริมพัฒนาการทางการใช้ภาษาก็คือการใช้บทกวี บทกลอน นิทานหรือเรื่องราวที่มีสัมผัสคล้องจอง และการเล่นคำ จะทำให้ลูกน้อยเข้าใจความแตกต่างของคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน และช่วยเพิ่มคำศัพท์ให้ลูกน้อย นอกจากนี้ ยังช่วยให้เกิดความจำจากการฟัง ช่วยเพิ่มทักษะการอ่านหนังสือ และช่วยสร้างพัฒนาการทางด้านจังหวะดนตรีด้วย รูปภาพของตัวอักษรบทกวีที่ได้ยินเป็นประจำ จะกลายเป็นภาพที่คุ้นเคยและสิ่งที่น่าหลงใหล นอกจากนั้น การอ่านบทกวีหรือบทกลอนด้วยท่วงทำนองเหมือนกับการร้องเพลง จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกว่าการพูดหรือการสื่อสารกันนั้นเป็นเรื่องน่าสนุกไม่น่าเบื่อ และกระตุ้นให้เขาต้องการใช้คำเหล่านั้น

    นอกจากนั้น การอ่านนิทานเกี่ยวกับเทพนิยายต่าง ๆ จะช่วยสอนแนวความคิดให้กับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น นิทานมักจะสอนให้เด็กรู้จักจัดการกับความกลัว รู้จักกับความอ่อนแอ ความพ่ายแพ้ เป็นการสร้างพื้นฐานด้านอารมณ์และทักษะการใช้ชีวิตในเบื้องต้นให้ลูกน้อยค่อย ๆ เรียนรู้

    บทบาทสมมติ

    การใช้สิ่งของต่าง ๆ ประกอบการเล่นบทบาทสมมติจะช่วยส่งเสริมการเล่นที่ได้สร้างจินตนาการขึ้นมา แต่ ลูกน้อยวัย 32 เดือน จะนึกภาพให้ตัวเองเป็นอะไรก็ได้ กิ่งไม้ธรรมดา ๆ อาจกลายเป็นไม้กายสิทธิ์ขึ้นมาได้ ใบไม้อาจใช้แทนจาน และก้อนหินอาจกลายเป็นรถยนต์ ซึ่งนับเป็นความเพลิดเพลินอย่างมากในการนั่งดูลูกน้อยเล่นบทบาทที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เช่นนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจหาของเล่นอะไรที่ช่วยให้ลูกได้เล่นบทบาทสมมตินี้ได้สนุกสนานขึ้น อย่างเช่น ชุดแต่งกายแบบง่ายๆ (อาจเป็นรองเท้า ผ้าพันคอ หรือกระโปรงที่ไม่ได้ใช้แล้ว) หรือข้าวของอะไรที่มีขนาดพอเหมาะกับเด็กน้อย อย่างเช่น โทรศัพท์ของเล่น หรือไม้กวาดอันเล็ก ๆ เด็กในวัยนี้มักจะชอบจำลองการทำงานบ้านกันมาก

    ที่สำคัญที่สุด คุณพ่อคุณแม่ ควรเข้าไปมีบทบาทในการแสดงหรือเล่นเป็นตัวละครใดตัวละครหนึ่ง เพื่อคอยโต้ตอบกับลูกน้อย เป็นการต่อยอดความคิดและจินตนาการของลูกน้อยให้ขยายขอบเขตเพิ่มมากขึ้น ช่วยแก้ไขคำพูดให้ถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งเพิ่มคลังคำศัพท์ให้ลูกน้อยหากลูกน้อยเลือกใช้คำได้ไม่ตรงใจ และควรปล่อยให้ลูกน้อยเป็นผู้กำหนดบทบาทหรือเรื่องราวด้วยตนเองโดยไม่ไปบังคับหรือกำหนดกฏเกณฑ์ใด ๆ

    สุขภาพและความปลอดภัย

    จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ

    เด็กในวัยนี้มักเริ่มรับประทานอาหารได้หลากหลายขึ้น เแต่ในขณะเดียวกัน อาจเริ่มมีอาการแพ้อาหารเกิดขึ้น ควรปรึกษาคุณหมอประจำตัวของลูกน้อยเพื่อช่วยเตรียมแผนการรับมือ ซึ่งรวมถึงคำแนะนำในการจัดการกับอาการแพ้ต่าง ๆ

    ทั้งนี้ ในรายที่อาการแพ้รุนแรง คุณหมออาจแนะนำให้ใช้เครื่องฉีดอีพิเนฟรีนอัตโนมัติ ซึ่งคุณหมอจะอธิบายและแสดงวิธีการใช้เมื่อมีอาการแพ้เกิดขึ้น เครื่องมือชนิดนี้จะให้ปริมาณยาอีพิเนฟรีนที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ เพื่อช่วยยับยั้งอาการแพ้ของลูกน้อย

    ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

    ในช่วงวัยนี้ ลูกน้อยอาจเริ่มเรียนรู้อารมณ์ต่าง ๆ มากขึ้น โกรธ โมโห หรือบางครั้งอาจทำท่าทางเมินเฉย หรือไม่ยอมฟังในสิ่งที่ผู้ใหญ่พูด หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ทราบว่าควรจัดการกับพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกน้อยอย่างไร ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อรับคำแนะนำ และนำไปปรับใช้กับลูกน้อยได้อย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดอาการต่อต้านหรือการลงโทษที่ผิดวิธี

    คำแนะนำอื่น ๆ สำหรับลูกน้อย วัย 32 เดือน

    การงีบหลับในช่วงบ่ายจะช่วยให้ลูกน้อยมีพลังและคงความร่าเริงไปจนถึงเวลานอนได้ ควรดูแลให้ลูกน้อยได้นอนหลับในช่วงกลางวันด้วย

    นอกจากนั้น ในช่วงวัยนี้ ลูกน้อยอาจเกิดอาการแพ้อาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภท ไข่ นม ถั่ว ธัญพืช ถั่วเหลือง และถั่วที่เติบโตบนดิน อย่างเช่น วอลนัท บราซิลนัท เม็ดมะม่วงหิมพานต์ รวมทั้งอาหารทะเลและปลาบางชนิดอย่างเช่น กุ้ง  ปูปลาทูน่า แซลมอน ปลาคอด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 09/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา