backup og meta

มลพิษทางอากาศ ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก ได้อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2022

    มลพิษทางอากาศ ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก ได้อย่างไรบ้าง

    มลพิษทางอากาศ อาจ ส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก และพัฒนาการต่าง ๆ เช่น ปอด สมอง การเรียนรู้ เนื่องจาก เด็กเป็นวัยที่เสี่ยงต่อมลพิษทางอากาศมากกว่าวัยอื่น ๆ และปอดของเด็กกำลังเติบโตและหายใจรับอากาศเข้าไปได้มาก ดังนั้น การป้องกันเด็กจากมลพิษทางอากาศ จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและพัฒนาการที่ดีของเด็ก

    มลพิษทางอากาศ ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก อย่างไร

    มลพิษทางอากาศอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • อาจส่งผลต่อการทำงานของปอด เด็กอาศัยอยู่ภายในบริเวณ 100 เมตรจากถนนสายสำคัญที่มีมลพิษทางอากาศต่าง ๆ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ควันจากท่อไอเสีย อาจทำให้การทำงานของปอดแย่กว่าเด็กที่อาศัยอยู่ห่างจากถนนสายสำคัญออกไป 400 เมตรหรือมากกว่า
  • อาจทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด มลพิษทางอากาศ ฝุ่นละออง อาจส่งผลต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ การคลอดก่อนกำหนดยังอาจเกิดขึ้นได้บ่อยในเวลาที่เกิดมลพิษ
  • อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปอด เด็กที่เติบโตในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศมากอาจมีความเสี่ยงที่ปอดจะเจริญเติบโตได้ลดลง ทั้งยังอาจทำให้ปอไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งผลกระทบของมลพิษทางอากาศอาจเทียบได้กับผลกระทบที่เกิดขึ้นในเด็กที่เติบโตในบ้านที่มีผู้ปกครองที่สูบบุหรี่
  • ผลกระทบอื่น ๆ ต่อสุขภาพเด็ก

    • ปอดของเด็กยังคงพัฒนา ดังนั้น การสูดดมมลพิษทางอากาศเข้าไปมาก ๆ อาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของปอดได้
    • สมองของเด็ก ๆ ยังคงพัฒนา ดังนั้น มลพิษทางอากาศอาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและพัฒนาการทางด้านความรู้ความเข้าใจของเด็ก
    • เด็ก ๆ หายใจเอาอากาศเข้าร่างกายเป็นปริมาณหน่วยต่อน้ำหนักตัวมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น จึงอาจทำให้เด็กได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศมากกว่าผู้ใหญ่
    • เด็กยังมีความสามารถในการขับสารพิษออกจากร่างกายน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ จึงอาจทำให้เด็กได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในด้านต่าง ๆ เช่น การทำงานของปอด พัฒนาการทางด้านการเรียนรู้

    วิธีป้องกัน มลพิษทางอากาศ ที่ ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก

    • ไม่ควรสูบบุหรี่ในอาคาร หรือบริเวณที่มีเด็ก
    • ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น พาเด็กไปที่สนามเด็กเล่น
    • หากต้องออกไปนอกอาคาร หรือไปในบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศสูง ควรให้เด็กสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
    • หากเด็กต้องเดินข้ามถนน หรือเผชิญกับการจราจรที่ติดขัด ควรอุ้มเด็กไว้เพื่อให้อยู่ห่างจากมลพิษบนท้องถนน เช่น ควันจากท่อไอเสีย
    • รักษาสุขภาพให้เด็กแข็งแรงอยู่เสมอ โดยให้เด็กออกกำลังกายเป็นประจำ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผักและผลไม้ ไข่ นม เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ
    • เฝ้าดูระดับมลพิษทางอากาศในบริเวณที่อยู่อาศัย หากเป็นช่วงที่มลพิษทางอากาศสูงควรให้เด็กอยู่ในบ้าน
    • ทำอาหารในพื้นที่ที่ระบายอากาศได้ดี หรือในห้องครัวควรมีพัดลมระบายอากาศ
    • หยุดการเผาทำลายขยะ และควรกำจัดขยะอย่างถูกวิธี หรืออาจนำไปรีไซเคิล

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา