backup og meta

สัญญาณและการดูแลเด็กที่เป็น Dyslexia

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 01/02/2022

    สัญญาณและการดูแลเด็กที่เป็น Dyslexia

    Dyslexia (ดิสเล็กเซีย) เป็นความผิดปกติทางด้านการเรียนรู้และการอ่านรูปแบบหนึ่ง ส่งผลให้เด็กมีปัญหาเรื่องการจดจำคำศัพท์ การอ่าน การสะกด และการเขียนคำศัพท์ ซึ่งไม่ได้เกิดจากความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่เป็น Dyslexia อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่จะสามารถเรียนรู้ตัวหนังสือแต่ละตัว ดังนั้น ผู้ปกครองและคุณครูจึงควรทำความเข้าใจและให้การดูแลเด็กที่เป็น Dyslexia อย่างเหมาะสม

    ทำความเข้าใจกับ Dyslexia

    Dyslexia หมายถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการเรียนรู้และการอ่าน โรคนี้มักจะส่งผลให้เด็กไม่สามารถจดจำและจัดการกับภาษาได้ เด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซียทักจะมีปัญหากับการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ และไม่สามารถแบ่งย่อยคำ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านออกเสียง จึงทำให้เกิดปัญหาในการอ่าน การเขียน และการสะกดคำ เด็กที่เป็นโรคนี้อาจจะสามารถจดจำคำศัพท์ได้ แต่จะมีปัญหาในการเรียนรู้ศัพท์ใหม่ ๆ และอาจจะนึกคำที่เคยเรียนรู้แล้วได้ช้า

    โรคดิสเล็กเซียนั้นไม่ใช่ความบกพร่องในการเรียนรู้ (learning disability) เพราะไม่ได้เกิดจากความบกพร่องทางสติปัญญาของเด็ก ในช่วงระยะแรกของการเรียน เด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซียอาจสามารถเรียนตามทันเพื่อนๆ ได้โดยไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อยิ่งโตขึ้นและต้องเจอกับบทเรียนที่ยากขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจเริ่มแสดงให้เห็นถึงปัญหาในการเรียนรู้ของเด็กที่เป็นเด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซีย

    โรคดิสเล็กเซียเป็นปัญหาที่จะอยู่ไปตลอดชีวิต แต่การช่วยเหลืออย่างถูกวิธี อาจสามารถช่วยชดเชย และทำให้เด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซียสามารถเรียนรู้ความรู้ทางวิชาการ และใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

    จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็น Dyslexia

    สัญญาณของโรคดิสเล็กเซียอาจจะสังเกตได้ยากในช่วงแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงก่อนวัยเรียน แต่ก็อาจมีสัญญาณของโรคบางอย่างที่สามารถสังเกตได้ในช่วงวัยต่างๆ ของลูก ดังต่อไปนี้

    ก่อนวัยเรียน

    สัญญาณของโรคดิสเล็กเซียในเด็กก่อนวัยเรียน ได้แก่

    • เริ่มพูดได้ช้า
    • เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ได้ช้า
    • ไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้อง หรือสับสนว่าคำๆ นั้นออกเสียงอย่างไร
    • มีปัญหากับการจดจำชื่อ ตัวเลข หรือสีต่างๆ
    • มีปัญหากับการจับจังหวะเสียงดนตรีง่ายๆ

    วัยเรียน

    สัญญาณของโรคดิสเล็กเซียในวัยเรียนอาจสังเกตได้ง่ายมากขึ้น เช่น

    • ความสามารถในการอ่าน อยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
    • มีปัญหาในการตีความและทำความเข้าใจกับสิ่งที่ได้ยิน
    • ไม่สามารถหาคำที่ถูกต้องในใช้เพื่อตอบคำถามได้
    • มีปัญหาในการจำลำดับของสิ่งต่างๆ
    • แยกแยะความแตกต่างของตัวอักษรและคำที่คล้ายกันได้ยาก
    • ไม่สามารถออกเสียงคำที่ไม่คุ้นเคยได้
    • สะกดคำไม่ถูก
    • ใช้เวลาในการอ่านและการเขียนนานผิดปกติ
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการอ่าน

    วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่

    สัญญาณและอาการของโรคดิสเล็กเซียในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่นั้นจะคล้ายกับช่วยวัยเรียน เช่น

    • อ่านหนังสือได้ลำบาก โดยเฉพาะการอ่านออกเสียง
    • ใช้เวลานานมากในการอ่านและการเขียน
    • มีปัญหากับการสะกดคำ
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการอ่าน
    • สะกดชื่อหรือสะกดคำผิดบ่อยๆ
    • ทำความเข้าใจกับมุกตลกที่เกี่ยวข้องกับการเล่นคำได้ยาก หรือไม่เข้าใจคำที่เป็นสำนวนเปรียบเทียบ
    • มีปัญหากับการเรียนรู้ภาษาที่สอง
    • บางคนอาจจะมีปัญหากับการแก้ไขโจทย์คณิตศาสตร์

    ผู้ปกครองจะช่วยสนับสนุนลูกที่เป็น Dyslexia ได้อย่างไร

    โรค Dyslexia เป็นปัญหาระยะยาว และไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่การที่ลูกเป็นโรค Dyslexia ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะไม่สามารถเรียนรู้ในการอ่านและการเขียนได้เลย ผู้ปกครองควรให้การดูแลและสนับสนุนเด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซียเป็นพิเศษ เพื่อช่วยแนะนำแนวทางในการเรียนรู้ ให้ลูกสามารถเรียนรู้การอ่านและการเขียนได้เหมือนกับคนอื่น ๆ

    เมื่อรับรู้ว่าลูกเป็นโรค Dyslexia สิ่งแรกที่ควรทำ คือการติดต่อประสานงานกับทางโรงเรียน แจ้งให้คุณครูและที่โรงเรียนได้รับทราบว่าเด็กต้องการการสอนในรูปแบบที่พิเศษ และหากโรงเรียนนั้นไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ ควรติดต่อมองหาโรงเรียนที่สามารถให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะได้

    ลองให้เด็กเรียนรู้ด้วยการเรียนรู้ผ่านพหุประสาทสัมผัส (Multisensory Learning) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ โดยใช้ประสาทสัมผัสมากกว่า 2 อย่างขึ้นไปพร้อมกับ เช่น ใช้ประสาทการได้ยินร่วมกับประสาทกับมองเห็น หรือการเรียนรู้ผ่านการหยิบจับร่วมกับการลงมือทำเป็นต้น

    การสอนให้เด็กที่เป็นโรค Dyslexia ได้เรียนรู้นั้น จะต้องอาศัยการสอนและการทบทวนแบบซ้ำ ๆ และต้องใช้เวลาในการสอนมากกว่าปกติ พยายามให้เด็กเรียนรู้ในกลุ่มเล็ก ๆ หรือเรียนเป็นรายบุคคล สอนโดยใช้กลยุทธ์เน้นที่ความเข้าใจ เพื่อช่วยให้เด็กสามารถรับรู้เกี่ยวกับความหมายของสิ่งที่กำลังอ่านได้

    และที่สำคัญที่สุด พยายามอย่าบังคับหรือยัดเยียดให้เด็กเรียน เพราะจะกลายเป็นภาพลักษณ์ในแง่ลบ และอาจทำให้เด็กเกลียดการอ่านและการเขียนได้ ทางที่ดีที่สุดคือควรช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกผ่อนคลายและสบายใจกับการอ่าน จะช่วยให้เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ได้อย่างดียิ่งขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 01/02/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา