backup og meta

ทารกท้องอืด ป้องกันได้ด้วยวิธีใดบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 09/06/2022

    ทารกท้องอืด ป้องกันได้ด้วยวิธีใดบ้าง

    ทารกท้องอืด มักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในหนึ่งวัน เนื่องจากทารกมีโอกาสมากที่จะกลืนอากาศเข้าร่างกาย ทั้งตอนดูดนมจากเต้า ตอนดูดนมจากขวด ตอนร้องไห้ รวมทั้งอาจเกิดจากอาหารไม่ย่อย ทำให้มีกรดและแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้ทารกไม่สบายตัว โดยปกติแล้วคุณพ่อคุณแม่สามารถหาวิธีช่วยป้องกันทารกท้องอืดได้  

    ทารกท้องอืด เกิดจากอะไร

    อาการท้องอืดในเด็กทารก อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ทารกกลืนอากาศเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปในขณะที่กำลังกินนมหรือร้องไห้
  • ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี ทำให้ย่อยอาหารได้เร็วเกินไป หรือย่อยได้ไม่หมด
  • มีอาการแพ้อาหารหรือสิ่งที่รับประทานเข้าไป
  • อาการท้องผูก
  • ทารกท้องอืด ป้องกันได้อย่างไร

    แม้ภาวะทารกท้องอืดจะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในหนึ่งวัน แต่จริง ๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจป้องกันอาการท้องอืด ได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    • เปลี่ยนท่าให้นมทารก ควรให้ศีรษะของทารกอยู่สูงกว่าขวดนมเสมอ เพื่อให้น้ำนมไหลลงไปที่ก้นกระเพาะอาหาร และเพื่อให้อากาศไหลขึ้นข้างบน ทำให้ทารกเรอออกมาได้ง่าย ป้องกันอากาศค้างในกระเพาะอาหาร
    • ทำให้ทารกเรอ หลังป้อนนมทารก ให้ลองอุ้มทารกพาดบ่าแล้วตบหลังเบา ๆ หรือพยายามทำให้ทารกเรอออกมา เพื่อคลายเอาอากาศออกจากกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดอาการท้องอืด
    • พยายามลดการกลืนอากาศ โดยเฉพาะเวลาให้นม ควรดูแลให้ขวดนมมีน้ำนมเต็มขวดอยู่เสมอ เพราะขวดนมที่มีน้ำนมอยู่น้อยอาจจะมีปริมาณของอากาศอยู่มาก และไม่ควรเขย่าขวดนมมากเกินไป เพราะจะทำให้ขวดนมเกิดฟองอากาศมากขึ้น
    • ให้ทารกทำท่าจักรยานอากาศ โดยการที่คุณพ่อหรือคุณแม่อุ้มทารกจากด้านหลัง จับขาของเด็กไว้ แล้วค่อย ๆ หมุนขาเบา ๆ คล้ายกับเด็กกำลังปั่นจักรยาน วิธีนี้จะช่วยดันอากาศในท้องของทารกออกมา หรือจะทำท่าจักรยานอากาศโดยให้ทารกนอนหงาย แล้วชันเข่าของทารกขึ้นมาติดกับหน้าท้อง ค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นปล่อยขาทารกให้เหยียดตรง ทำซ้ำไปมาหลายครั้ง ก็จะช่วยดันอากาศในท้องของทารกออกมาได้เช่นกัน
    • เปลี่ยนจุกขวดนมบ้าง จุกนมที่อ่อนยวบเกินไปอาจทำให้ทารกกลืนอากาศเข้าท้องมากขึ้น เมื่อใช้จุกนมไปสักพักหรือจุกนมเริ่มมีสภาพอ่อนยวบแล้ว ควรเปลี่ยนอันใหม่
    • ให้นมช้าลง ยิ่งทารกกินนมเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งได้รับอากาศมากขึ้นเท่านั้น ควรเลือกใช้จุกนมที่ทำให้น้ำนมไหลช้า เพื่อลดอัตราการกลืนอากาศของทารก
    • ตรวจสอบอาหารก่อนเสมอ เมื่อทารกถึงวัยที่เริ่มรับประทานผักหรือผลไม้บด  ต้องมั่นใจว่าทารกจะไม่เกิดอาการแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ ที่จะนำไปสู่อาการท้องอืด

    เมื่อใดควรไปพบคุณหมอ

    ทารกท้องอื่นเป็นอาการที่สามารถป้องกัน บรรเทา หรือรักษาได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่ทารกมีอาการดังต่อไปนี้ ควรพาไปพบคุณหมอทันที

  • ไม่ขับถ่ายหลายวัน
  • ขับถ่ายมีเลือดปน
  • อาเจียน
  • ทารกร้องไห้ตลอดเวลา ร้องไห้ไม่หยุด
  • มีไข้สูง โดยเฉพาะในกรณีที่ทารกมีอายุต่ำกว่า 3 เดือน ควรพาทารกไปพบคุณหมอทันที
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 09/06/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา