backup og meta

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 29/04/2022

    โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน สาเหตุ อาการ และการรักษา

    โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (Patent ductus arteriosus; PDA) เป็นความผิดปกติของหัวใจที่พบได้บ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้มีเลือดส่งไปที่ปอดมากกว่าปกติ และอาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และเจริญเติบโตช้า

    โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน คืออะไร

    โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงหัวใจดักตัสอาร์เทอริโอซัส (Ductus Arteriosus) ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบหมุนเวียนโลหิตปิดไม่สนิทหลังจากที่ทารกคลอด ความผิดปกติดังกล่าวนี้ส่งผลให้เลือดส่งไปที่ปอดมากกว่าปกติ โดยส่วนใหญ่โรคนี้มักพบบ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนด และอาจพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

    สาเหตุใดที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน

    โรคหลอดเลือดหัวใจเกินพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย  โดยอาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้

    • การคลอดก่อนกำหนด
    • ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น อาการดาวน์ซินโดรม
    • ทารกที่เกิดจากแม่ที่เป็นโรคหัดเยอรมัน
    • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

    อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน

    หากทารกมีอาการดังต่อไปนี้ แสดงว่าอาจเข้าข่ายต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง

    • หายใจเร็ว
    • รับประทานอาหารได้น้อย
    • หัวใจเต้นเร็ว
    • เหงื่อออกขณะรับประทานอาหาร
    • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
    • เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ

    วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน

    สำหรับวิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน จะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละคน  โดยมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้

    • ตรวจเช็กอาการ  ในเบื้องต้นทารกที่คลอดก่อนกำหนด แพทย์จะทำการตรวจเช็กอาการของทารก ในระยะ 2 ปีแรก เพื่อให้มั่นใจว่าหลอดเลือดหัวใจของทารกปิดเรียบร้อยดีแล้ว
    • รักษาด้วยยา หากภายในระยะเวลา 2 ปี พบว่าหลอดเลือดหัวใจของทารกยังไม่ปิด แพทย์อาจจ่ายยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น อินโดเมทาซิน (Indomethacin)  ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ซึ่งจะช่วยให้รูหลอดเลือดปิดตัวได้เร็วกว่าเดิม

    อย่างไรก็ตาม หากวิธีการดังกล่าวข้างต้น ไม่สามารถทำให้หลอดเลือดหัวใจปิดได้ แพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อทำให้รูหลอดเลือดปิดสนิท

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 29/04/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา