backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

อาการฮันเตอร์ คืออะไร อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 20/06/2022

อาการฮันเตอร์ คืออะไร อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

อาการฮันเตอร์ (Hunter Syndrome)  เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก พบได้บ่อยในเด็กชายที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เกิดจากร่างกายไม่สามารถผลิตเอนไซม์ในการย่อยสลายน้ำตาลบางชนิด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการช้า จมูกกว้าง ศีรษะมีขนาดใหญ่ แก้มใหญ่ โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่การดูแลที่เหมาะสมอาจช่วยให้ควบคุมอาการของโรคและอยู่ร่วมกับโรคได้ดีขึ้น

คำจำกัดความ

อาการฮันเตอร์ (Hunter Syndrome)  คืออะไร

อาการฮันเตอร์ (Hunter Syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก พบได้บ่อยในเด็กชายที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตเอนไซต์ในการย่อยสลายน้ำตาลบางชนิด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการช้า จมูกกว้าง ศีรษะมีขนาดใหญ่ แก้มใหญ่ โรคดังกล่าวนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถควบคุมอาการให้ทุเลาลงและอยู่กับโรคได้

พบได้บ่อยเพียงใด

เด็กผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 18 เดือน

อาการ

อาการฮันเตอร์

อาการฮันเตอร์ส่งผลกระทบต่อสมองประมาณ 75% มักจะเกิดขึ้นระหว่างอายุ 18 เดือน โดยมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้

  • แก้มกลมใหญ่
  • จมูกกว้าง
  • ริมฝีปากหนาและลิ้นใหญ่
  • คิ้วหนา
  • ศีรษะโต
  • ผิวหนังหนาและเหนียว
  • กระดูกหนา.
  • ร่างกายเจริญเติบโตช้า
  • ไอบ่อย
  • มีพฤติกรรมก้าวร้าว
  • มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ เช่น ท้องเสีย
  • ตับโต ม้ามโต
  • ควรไปพบหมอเมื่อใด

    หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

    สาเหตุ

    สาเหตุของอาการฮันเตอร์

    สาเหตุของอาการฮันเตอร์เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม ความผิดปกติทางพันธุกรรมนี้ส่งผลให้น้ำตาลเชิงซ้อนมิวโคโพลีแซ็กคาไรด์  (Mucopolysaccharides)  ไม่ถูกย่อยสะสมในเซลล์ เลือด และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ส่งผลให้เซลล์และอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายเกิดความเสียหาย

    ปัจจัยเสี่ยงของอาการฮันเตอร์

    ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของอาการฮันเตอร์ มี อยู่ 2 ประการ ดังนี้

    • สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติมีอาการฮันเตอร์
    • ความผิดปกติทางโครโมโซม

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยอาการฮันเตอร์

    เบื้องต้นแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการสอบถามถึงอาการต่างๆ ที่อาจเกิดขขึ้นกับเด็ก เช่น

    • มีอาการอะไรบ้าง?
    • มีสมาชิกในครอบครัวเคยมีอาการฮันเตอร์ไหม?
    • สังเกตเห็นความผิดปกติครั้งแรกเมื่อไหร่?

    นอกจากการสอบถามอาการเบื้องต้นดังกล่าวนี้ แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย เช่น

    • การตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะ
    • ตรวจวิเคราะห์พันธุกรรม

    การรักษาอาการฮันเตอร์

    ในปัจจุบันยังไม่มีข้อระบุที่แน่ชัดในการรักษาอาการฮันเตอร์ แพทย์จะช่วยชะลออาการและควบคุมอาการของโรค อย่างไรก็ตามการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละคน โดยมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้

    การรักษาด้วยาหรือการผ่าตัด จะช่วยบรรอาการแทรกซ้อนของอาการฮันเตอร์ได้  รวมถึงการทำกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด ที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้อต่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อได้อย่างดี

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือาการฮันเตอร์มีวิธี ดังนี้

    การป้องกันอาการฮันเตอร์ทำได้โดยปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี และฟื้นฟูบำรุงข้อต่อต่างๆ ในร่างกายให้แข็งแรง

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 20/06/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา