backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ส่าไข้ สาเหตุ อาการ การรักษาและป้องกัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 20/05/2022

ส่าไข้ สาเหตุ อาการ การรักษาและป้องกัน

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า ตามร่างกายเริ่มมีรอยผื่นแดงแปลก ๆ พร้อมมีไข้ขึ้นสูงร่วมด้วยเป็นเวลานาน ก็สามารถเป็นไปได้ว่าสัญญาณดังกล่าวนี้อาจเป็นสัญญาณแรกเริ่มที่ส่งผลให้คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็น ส่าไข้ (Roseola) และอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คำจำกัดความ

ส่าไข้ (Roseola) คืออะไร

ส่าไข้ (Roseola) สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า หัดกุหลาบ หรือผื่นกุหลาบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย และมักปรากฎออกมาให้พบเห็นในรูปแบบของผดผื่นที่มีลักษณะสีแดง หรือสีน้ำตาล ทั้วทั้งบริเวณหน้าท้อง ใบหน้า แขน ขา เป็นต้น

ส่าไข้ สามารถพบบ่อยได้เพียงใด

ส่าไข้อาจพบได้บ่อยกับบุคคลทั่วไปทุกช่วงวัย โดยเฉพาะกับเด็กที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปีด้วยกัน อีกทั้งส่าไข้ยังคงมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเกิดขึ้นกับในวัยผู้ใหญ่ แต่ถึงแม้จะเกิดขึ้นความเจ็บป่วยจากอาการต่าง ๆ นั้น ก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงมากเมื่อเทียบกับอาการที่เกิดขึ้นกับวัยของเด็กเล็ก

อาการ

อาการของส่าไข้

เบื้องต้นอาการของส่าไข้ที่คุณสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ นั่นก็คือ การที่คุณ หรือคนใกล้ตัวมีไข้ขึ้นสูงราว ๆ ประมาณ 38.8-40.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป พร้อมกับมีผดผื่นสีชมพู สีแดง ปรากฏให้เห็นทั่วทั้งร่างกาย

ในขณะเดียวกันผู้ป่วยบางรายก็อาจแสดงอาการ ดังต่อไปนี้เพิ่มเติมขึ้นมาร่วมก็เป็นได้เช่นเดียวกัน

  • อารมณ์ไม่คงที่ หงุดหงิดง่าย
  • เปลือกตาบวม
  • ท้องเสีย
  • รู้สึกเบื่ออาหาร หรือทานอาหารได้น้อยลง
  • เจ็บคอ
  • ปวดช่องหู

ถึงแม้ว่า ส่าไข้ หรือ หัดกุหลาบ มักหายได้ไปได้เอง 3-7 วัน รวมถึงอาการไข้ที่จะลดลงภายในประมาณ 12-24 ชั่วโมง แต่หากในกรณีที่มีความล่าช้าต่อการนำผู้ป่วยเข้ารักษา หรือผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้น ส่าไข้หรือหัดกุหลาบนั้นยังอาจสามารถส่งผลเสียแก่สุขภาพเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย เนื่องจากไข้ขึ้นสูงมากจนเกินไป อาจทำให้ร่างกายผู้ป่วยทนไม่ไหว มีอาการแขน ขา กระตุก จนถึงขั้นชักได้เลยทีเดียว

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิดส่าไข้

สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคส่าไข้ หรือ หัดกุหลาบ เป็นไปได้ว่าอาจมาการสัมผัสกับเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสฮิวแมนเฮอร์พีส์ ประเภทที่ 6 (Human Herpes Virus ; HHV) ซึ่งมักจะแพร่กระจายเป็นละอองล่องลอยอยู่ตามสภาพอากาศ หรืออยู่วัตถุใดวัตถุหนึ่งรอบข้างตัวเรา

โดยไวรัสชนิดนี้จะมีระยะฟักตัวประมาณ 14 วันด้วยกัน ก่อนที่อาการจะปรากฎขึ้นเป็นผื่นแดงเป็นจุดเล็ก ๆ พร้อมกับมีไข้ขึ้นสูง ซึ่งในขณะที่เชื้อไวรัสนี้กำลังมีการฟักตัวขึ้น อาการต่าง ๆ จะยังไม่เผยให้เห็นมากนัก ทำให้คุณยังคงใช้ชีวิตตามปรกติและเผลอแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลใกล้ชิดต่อไปเป็นทอด ๆ ได้อีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดส่าไข้

ปัจจัยหลักที่อาจทำให้คุณได้รับเชื้อไวรัสมาอย่างง่ายดายนั้น อาจเป็นเพราะช่วงอายุที่เรายังเป็นเด็กเล็ก ร่างกายของเรายังไม่มีการพัฒนาแอนติบอดี หรือภูมิคุ้มกันที่มากพอเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัสที่แปลกปลอม จึงทำให้ผู้ที่เสี่ยงที่จะเผชิญกับส่าไข้ หรือ หัดกุหลาบ มักมีกช่วงอายุที่น้อยที่สุด หรือสามารถเป็นได้ตั้งแต่ยังทารกนั่นเอง

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยส่าไข้

เนื่องจากอาการของส่าไข้ค่อนข้างมีความคล้ายกับความเจ็บป่วยทั่วไปที่ แต่หากคุณนั้นเริ่มลังเลใจ หรือมีข้อสงสัยที่ดูว่าอาจไม่ใช่อาการไข้หวัดที่เคยพบเจอ คุณสามารถเข้าขอรับการวินิจฉัย หรือตรวจร่างกายอย่างละเอียดได้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

แพทย์อาจเริ่มทำการตรวจสอบดูถึงลักษณะของผดผื่นที่ขึ้น หรือมีการขอตรวจเลือดร่วมเพื่อหาเชื้อไวรัสที่อยู่ในแอนติบอดี ว่าเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคส่าไข้นี้ขึ้นหรือไม่อย่างไร แล้วจึงค่อยดำเนินการหาวิธีรักษาที่เหมาะสมแก่อาการที่คุณประสบในลำดับถัดไป

การรักษาส่าไข้

ถึงแม้จะยังไม่มียาที่รักษาโรคส่าไข้ให้หายขาดโดยตรง แต่แพทย์สามารถให้คุณรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น เช่น ยาลดไข้ อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นต้น ตามความเหมาะสมของสุขภาพร่างกาย

อีกทั้งกรณีผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอไม่ว่าจะเป็นทั้งในเด็ก หรือผู้ใหญ่ แพทย์อาจทำการให้ยาต้านไวรัสแกนซิโคลเวียร์ (Ganciclovir) เพิ่มเติม เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสที่อาจส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงอีกขั้นขึ้นได้

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาส่าไข้ หรือ หัดกุหลาบ

คุณสามารถดูแลและป้องกันตนเองจากโรคส่าไข้ได้ง่าย ๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังต่อไปนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย
  • หมั่นเช็ดตัวในกรณีที่มีอาการไข้ขึ้นสูง เพื่อลดอุณหถูมิให้ร่างกายได้เย็นลงป้องกันการชัก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 20/05/2022

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา