backup og meta

ุ6 ปัญหาผิวลูก ที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 25/02/2022

    ุ6 ปัญหาผิวลูก ที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง

    ปัญหาผิวลูก ที่พบบ่อย 6 ประการ ได้แก่ ผื่นมิเลีย (Milia) ผดร้อน ภาวะต่อมไขมันอักเสบ สิว ผื่นแดงอีริทีมาท็อกซิกัม (Erythema Toxicum Neonatorum: ETN) ปาน ซึ่งอาจมีลักษณะและวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาผิวลูก อาจช่วยให้สามารถรับมือกับปัญหาผิวได้อย่างเหมาะสม และอาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะที่อันตรายได้

    6 ปัญหาผิวลูก ที่คุณแม่ควรรู้

    1. ผื่นมิเลีย

    ผื่นชนิดนี้เป็นตุ่มเล็ก ๆ สีขาวหรือสีเหลืองที่ปรากฏขึ้นบนใบหน้าของเด็กทารกนั้น แท้จริงแล้วคือก้อนซีสต์ที่เต็มไปด้วยเคราติน (Keratin) และซีบัมหรือไขมัน ผื่นชนิดนี้ยังอาจเกิดขึ้นที่บริเวณเหงือกได้ อาการนี้อาจจะหายไปภายในไม่กี่วันหรือสัปดาห์ โดยไม่จำเป็นต้องรักษา ในขณะเดียวกัน การใช้น้ำมันหรือครีมทาอาจทำให้อาการนี้แย่ลงได้

    2. ผดร้อน

    เป็นลักษณะของตุ่มพุพองที่เต็มไปด้วยน้ำหนอง หรือตุ่มแดง ๆ ที่ปรากฏขึ้นที่หลัง หน้าอก หรือใต้วงแขนของเด็กทารก ผดร้อนเกิดจากการอุดตันของท่อเหงื่อที่ผิวหนัง จะพบมากในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น หรือการสวมเสื้อผ้าให้ทารกมากเกินไป

    3. ภาวะต่อมไขมันอักเสบในเด็กทารก

    ภาวะต่อมไขมันอักเสบในเด็กทารก คือ สภาวะของผิวหนังที่ไขผิวหนังส่วนเกิน ยึดติดเซลล์ผิวหนังเข้าด้วยกัน ทำให้ไม่สามารถผลัดออกไปได้ตามปกติ ทำให้เกิดเป็นแผ่นสีเหลืองมันเยิ้ม ที่บริเวณหนังศีรษะของเด็กทารก

    4. สิวในทารกแรกเกิด

    ประมาณ 30% ของทารกแรกเกิด จะมีสิวขึ้นภายใน 4 เดือนแรก มักเกิดขึ้นหลังจาก 2 สัปดาห์ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ตุ่มสีขาวหรือแดงนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากการถ่ายทอดฮอร์โมนของแม่ เข้าสู่ร่างกายของเด็กทารก เนื่องจากอาการนี้สามารถหายไปได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องทาน้ำมันหรือครีม เพราะอาจทำให้อาการหนักขึ้นได้

    5. ผื่นแดงอีริทีมาท็อกซิกัม

    สภาวะนี้มีลักษณะเป็นรอยด่างสีแดง บางคนอาจจะมีตุ่มสีเหลืองขาวตรงกลาง มักจะปรากฏขึ้นที่หลัง ใบหน้า หน้าอก หรือแขนของเด็กทารก โชคดีที่ผื่นนี้ไม่เป็นอันตรายต่อเด็กทารก และมักจะหายไปเองหลังจากผ่านไปไม่กี่เดือน

    6. ปาน

    ปานบางอย่างอาจจางหายไปเมื่อเด็กโตขึ้น ในขณะที่ปานอื่นๆ อาจจะคงอยู่ไปตลอดชีวิตของเด็ก รอยปานที่พบได้โดยทั่วไปมีดังนี้

    • ปานมองโกเลียน (Mongolian Spots) เกิดขึ้นมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ในทารกชาวเอเชีย ชาวชนพื้นเมืองอเมริกัน ชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และชาวลาตินอเมริกา เป็นปานสีฟ้า-เขียว หรือฟ้า-เทา ซึ่งพบได้มากที่บริเวณหลังหรือก้นของเด็กทารก ปานเหล่านี้จะมีรูปร่างแบน และมักจะหายไปภายใน 2 ปี
    • ปานเส้นเลือดแดง มีลักษณะเป็นปานแบนสีชมพู เกิดขึ้นที่บริเวณดั้งจมูก ใต้เปลือกตา หรือด้านหลังคอ รอยปานเหล่านี้อาจเรียกว่า “รอยจูบของเทวดา” (An Angel’s Kiss) หากเกิดขึ้นที่ด้านหน้า และเรียกว่า “รอยนกกระสากัด” (Stork Bites) ถ้าเกิดขึ้นที่ด้านหลัง เป็นปานแดงที่ไม่เป็นอันตราย มักจะหายไปเองใน 1-2 ปี
    • ปานแดงในเด็กเล็ก เป็นเนื้องอกของเส้นเลือดฝอยชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง ปานเหล่านี้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป มักเกิดขึ้นช่วงแรกตั้งแต่อายุ 2-4 สัปดาห์ หากไม่ได้รับการรักษา อาจต้องใช้เวลานานถึง 8 ปี กว่าจะหายไป มีเพียงเนื้องอกปานแดงบางตำแหน่งเท่านั้นที่ควรเฝ้าระวังและไปพบหมออย่างสม่ำเสมอ เช่น ปานแดงที่ใบหน้า หนังตา หรือที่หลัง

    บางครั้ง ปัญหาผิวในเด็กทารกก็เป็นปัญหาที่ไม่ร้ายแรง ทิ้งไว้ไม่นานก็จะจางหายไป แต่พ่อแม่ก็ควรใส่ใจดูแลอย่างใกล้ชิด และเมื่อเวลาผ่านไปแล้วอาการไม่บรรเทา หรือเกิดความไม่มั่นใจ ก็ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำและการรักษาที่ถูกต้องสำหรับลูกน้อย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 25/02/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา