backup og meta

เด็กเป็นไข้ อาการ และวิธีการรับมือ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 27/02/2022

    เด็กเป็นไข้ อาการ และวิธีการรับมือ

    เด็กเป็นไข้ อาจสังเกตได้จากอาการอุณภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ร่วมกับมีอาการร้องไห้ งอแง ไม่ยอมนอน ไม่ยอมกิน หรือมีอาการเซื่องซึมกว่าปกติ โดยปกติอาการไข้มักไม่เป็นอันตรายใด ๆ และสามารถบรรเทาได้ด้วยการเช็ดตัว ให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอ นอนพักผ่อน หรืออาจให้ยาลดไข้สำหรับเด็ก อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไข้สูง เป็นไข้ไม่ยอมหาย ชัก ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อรักษาในทันที

    อาการที่บอกว่าเด็กเป็นไข้

    อุณหภูมิที่ถือว่าเด็กเป็นไข้ คือประมาณ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้

    • ไม่ยอมนอน
    • ไม่ยอมกิน
    • ไม่อยากเล่น
    • หงุดหงิด อารมณ์เสีย
    • เซื่องซึม เฉื่อยชา
    • ชัก

    เด็กเป็นไข้ อันตรายหรือไม่

    ที่จริงแล้ว ไข้ไม่ได้ถือว่าเป็นโรค แต่มันเป็นแค่ “อาการ” อย่างหนึ่ง ที่ร่างกายของคนเราต่อสู้กับอาการติดเชื้อ และระบบภูมิคุ้มกันกำลังทำงาน เด็กมักจะเป็นไข้ได้มากกว่าผู้ใหญ่ และเป็นไข้ได้บ่อยจากอาการเล็กน้อยเพียง อย่าง หวัดธรรมดา

    โดยปกติแล้ว อาการไข้ในเด็กมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส หรืออาจมีสาเหตุบางอย่างที่อาจพบไม่บ่อยนัก เช่น ปอดบวม ทางเดินปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อในหู หรืออาการร้ายแรง อย่างการติดเชื้อในกระแสเลือด อาการเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เกิดไข้ได้ นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่นที่สามารถทำให้เด็กเป็นไข้ได้ ได้แก่

    • ปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีน
    • อากาศที่ร้อนเกินไป หรือการใส่เสื้อผ้าที่หนาเกินไป
    • ใช้เวลาอยู่ข้างนอกนานเกินไปในวันที่อากาศร้อนจัด

    กรณีอาการชักเนื่องจากไข้สูง ถึงแม้มันจะดูน่าตกใจ แต่อาการชักจากไข้สูงไม่ได้ทำอันตรายต่อเด็ก ไม่ได้ทำลายสมองของเด็ก และไม่ได้ทำให้เด็กกลายเป็นโรคลมชักเมื่อโตขึ้นแต่อย่างใด

    เมื่อใดที่ควรไปพบคุณหมอ

    ควรพาลูกไปพบคุณหมอหากสังเกตพบอาการ ดังต่อไปนี้

  • อายุน้อยกว่า 3 เดือนและมีไข้ ถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 2 ดือนและมีไข้ ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน
  • เซื่องซึม ไม่มีอาการตอบสนอง
  • หายใจไม่ออกหรือไม่กินอาหาร
  • หงุดหงิดอารมณ์เสียมากกว่าเคย
  • มีผื่นขึ้น
  • มีอาการขาดน้ำ อย่างเช่น ฉี่น้อยกว่าเคย ปากแห้ง ไม่มีน้ำตาเวลาร้องไห้
  • มีอาการชัก
  • วิธีรับมือเมื่อเด็กเป็นไข้

    ในกรณีที่ลูกอายุมากกว่า 3 เดือน ลองใช้เทคนิคนี้ในการลดไข้

    • ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น ๆ เช็ดตัวลูก
    • ใส่เสื้อผ้าโปร่งเบาที่ระบายความร้อนได้ดี
    • ให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ อาจเป็นนมแม่ นมผง หรือสารละลายเกลือแร่ ขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก
    • ถ้าเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน และคุณหมออาจแนะนำให้ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน แต่ไม่ควรให้แอสไพริน เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการไรย์ (Reye’s Syndrome) และไม่ควรให้เด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนกินพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน ควรให้ยาเฉพาะตามที่หมอแนะนำเท่านั้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 27/02/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา