backup og meta

ผิวทารกแรกเกิด กับโรคผิวหนังที่พ่อแม่มือใหม่ควรใส่ใจ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 25/10/2022

    ผิวทารกแรกเกิด กับโรคผิวหนังที่พ่อแม่มือใหม่ควรใส่ใจ

    ผิวทารกแรกเกิด เป็นผิวที่ละเอียดอ่อน และบอบบางกว่าผิวผู้ใหญ่ จึงอาจเกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องหมั่นสังเกตผิวของลูกน้อยว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ เช่น ผื่นแดง ตุ่มสีขาว จุดหรือปื้นน้ำตาลหรือดำ ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงโรคผิวหนังได้ หากพบจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

    โรคที่อาจเกิดขึ้นกับ ผิวทารกแรกเกิด

    1. โรคสิวข้าวสาร (Milia หรือ Milk Spots)

    โรคสิวข้าวสาร อาจเกิดขึ้นกับทารกที่เพิ่งคลอด โดยจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีขาวขึ้นบริเวณใบหน้า หรือเหงือก หากสังเกตเห็นตุ่มเล็ก ๆ สีขาว เหล่านี้บนผิวทารกแรกเกิด ไม่ควรใช้ครีมทาเพราะอาจทำให้ผื่นยิ่งลุกลามได้ โรคสิวข้าวสารมักหายไปได้เอง โดยใช้เวลา 2-3 วัน  แต่ในเด็กบางรายอาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์

    2. โรคสิว

    เด็กทารกร้อยละ 30 อาจจะมีโอกาสเป็นสิว มักเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 4 เดือนแรก สาเหตุเกิดจากการที่เด็กทารกได้รับฮอร์โมนจากแม่ อย่างไรก็ตาม หลังจากระยะเวลา 4 เดือนผ่านไป สิวมักหายไปเอง

    3. โรคผื่นแดง 

    โรคผื่นแดง เป็นหนึ่งในโรคผิวหนังที่พบบ่อยในผิวทารกแรกเกิด ส่วนใหญ่พบบริเวณหน้าอก แผ่นหลัง และแขน โดยปกติโรคผื่นแดงมักหายเองในระยะเวลาไม่กี่เดือน

    4. โรคผื่นผ้าอ้อม

    โรคผื่นผ้าอ้อม เกิดจากการติดเชื้อรา ส่งผลให้ทารกระคายเคืองผิวหนัง แล้วเกิดเป็นผื่นแดงขึ้น พบบ่อยบริเวณก้น และบริเวณอวัยวะเพศของเด็กทารก นอกจากนั้น โรคผื่นผ้าอ้อมอาจเกิดได้เนื่องจากผิวหนังทารกสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะ สบู่ เหงื่อไคล และความชื้น การใส่ผ้าอ้อมให้ทารกแน่นเกินไป หรือปล่อยให้เกิดความอับชื้น อาจทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมได้เช่นกัน ซึ่งป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้บ่อยขึ้น

    5. ปาน

    ปาน เป็นความผิดปกติของสีผิวซึ่งมักติดตัวมากับทารกแรกเกิด มีทั้งปานแดง ปานดำ ปานบางชนิดหายไปได้เองเมื่อทารกโตขึ้น โดยเฉพาะปานที่เรียกว่า ปานสตรอว์เบอร์รี่ ส่วนปานบางชนิดอาจคงสภาพสีและขนาดไม่เปลี่ยนแปลง หรือบางชนิดอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุ ทั้งนี้ หากเกิดข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าปานชนิดนั้นอาจเป็นอันตรายต่อผิวทารกแรกเกิดหรือไม่ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและตรวจรักษา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 25/10/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา