backup og meta

ทารกท้องอืด แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ รับมือได้อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 10/11/2021

    ทารกท้องอืด แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ รับมือได้อย่างไรบ้าง

    ทารกท้องอืด ที่มีสาเหตุจากแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ นับเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้บ่อยในเด็กแรกเกิด แต่เด็กบางคนอาจมีปัญหาในการระบายแก๊สออกมาทำให้เกิดอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวจนร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ เมื่อลูกเกิดอาการท้องอืด คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยลูกน้อยให้รู้สึกดีขึ้นได้เพียงแต่รู้วิธีรับมือทารกท้องอืดที่เหมาะสม

    แก๊สในกระเพาะอาหารเด็กทารกเกิดขึ้นได้อย่างไร

    อาการทารกท้องอืด อาจนับเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของเด็กทารก เด็กทุกคนมักจะมีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ เนื่องจากกินไม่หยุด และระบบการย่อยอาหารของเขายังพัฒนาไม่เต็มที่ ส่งผลให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารขึ้นมา เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถย่อยนมแม่และนมผงได้ แต่หากอาการเหล่านี้ทำให้ทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยไม่ได้หลับไม่ได้นอน คุณพ่อคุณแม่ต้องหาทางแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน

    วิธีช่วยแก้ปัญหาทารกท้องอืด

    เมื่อลูกท้องอืด จากแก๊สในกระเพาะอาหาร คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีเหล่านี้

    ตรวจเช็กท่าป้อนนม และจุกนม

    ในช่วงที่ให้ลูกน้อยกินนมแม่หรือป้อนนมขวด ลองพยายามยกศีรษะลูกให้สูงกว่าท้อง เพราะจะช่วยให้น้ำนมไหลลงไปอยู่ตรงกระเพาะอาหารส่วนล่าง และไล่อากาศให้มาอยู่ด้านบน ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้อยเรอออกมาได้ง่ายขึ้น วางขวดนมให้ตั้งขึ้นเล็กน้อย เพื่อจะได้ลดฟองอาการในจุกนมลง

    ถ้าคุณพ่อคุณแม่ป้อนนมขวดให้ลูกกิน อาจลองเปลี่ยนไปใช้จุกนมแบบที่ทำให้น้ำนมไหลออกมาช้าๆ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารลงได้  

    ช่วยทำให้ลูกน้อยเรอออกมา 

    วิธีที่ง่ายที่สุดในการระบายแก๊สออกมา ก็คือ การทำให้ลูกน้อยเรอออกมาในช่วงระหว่างและหลังป้อนนม ถ้าลูกน้อยไม่ยอมเรอ อาจลูกนอนหงายซักสองสามนาที จากนั้นลองทำให้เรอใหม่อีกครั้ง

    ถ้าลูกน้อยเกิดอาการเคลิ้มหลับในระหว่างป้อนนม ควรพาออกไปเดินเล่นให้เรอออกมา เมื่อเด็กเรอออกมาแล้ว จะทำให้สบายตัว การเรอช่วยระบายแก๊สในกระเพาะอาหารทำให้เด็กนอนหลับได้ยาวขึ้น 

    ทารกท้องอืด นวดช่วยได้

    การนวดเนื้อตัวให้ลูกเบา ๆ พร้อมกับจับขาหมุนวนเหมือนท่าถีบจักรยานอากาศ รวมถึงการลูบท้องลูกวนตามเข็มนาฬิกา จะช่วยแก้ปัญหาท้องอืดได้ นอกจากนี้การอาบน้ำอุ่นก็ช่วยไล่แก๊สในกระเพาะอาหาร และทำให้ลูกน้อยหลับสบายได้เช่นกัน

    ตรวจสอบอาหาร

    คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับคุณหมอ เกี่ยวกับอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้มากเป็นพิเศษ พ่อแม่บางคนให้ลูกน้อยดื่มน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมของซอร์บิทอล (Sorbitol) ซึ่งเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายของทารกไม่สามารถดูดซึมได้ จนทำให้ทารกท้องอืด  แน่นท้อง ดังนั้นเพื่อป้องกันอาการท้องอืดจากอาหารควรปรึกษาคุณหมอว่าควรให้ลูกกินอาหารชนิดใด และหลีกเลี่ยงอาหารชนิดใดบ้าง

    ระมัดระวังอาหารที่กิน

    ถ้าลูกกินนมแม่ อาจมีปัญหาในเรื่องการย่อยอาหารบางชนิดที่คุณแม่รับประทานเข้าไปซึ่งส่งผ่านให้ทางน้ำนม เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม คาเฟอีน ถ้าคุณแม่ให้ลูกกินนมผง อาจปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำนมผงที่เหมาะสมกับลูกน้อย

    การใช้ยารักษาโดยทั่วไป

    คุณพ่อคุณแม่อาจใช้ยาลดแก๊สในกระเพาะอาหารที่มีขายตามร้านขายยาได้ แต่ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง นอกจากนี้ ควรสอบถามให้แน่ใจด้วยว่า ยานั้นก่อให้เกิดอาการแพ้ยาในทารกหรือไม่ ควรใช้ขนาดยาเท่าไรจึงจะเหมาะสม

    แก๊สในเด็กทารกกับอาการโคลิค

    ในช่วงสี่เดือนแรกทารกน้อยอาจมีอาการโคลิค คือ ร้องไห้ไม่หยุดยาวนานหลายชั่วโมง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้บ่อยถึงสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 3 สัปดาห์ การมีแก๊สในกระเพาะอาหารไม่ใช่สาเหตุของอาการโคลิค แต่ถ้าลูกน้อยมีอาการโคลิก ก็อาจจะกลืนอากาศเข้าไปมากขึ้น ส่งผลให้มีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะตามไปด้วย

    เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ

    โดยส่วนใหญ่แล้ว ทารกท้องอืด หรือแก๊สในกระเพาะอาหารทารกถือเป็นอาการปกติ และสามารถรักษาได้ แต่ในบางกรณี อาจเป็นสัญญาณของปัญหาระบบย่อยอาหารที่รุนแรงมากขึ้น หากลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบติดต่อคุณหมอทันทีที่ 

    • ไม่ยอมขับถ่าย ถ่ายเป็นเลือด หรืออาเจียน
    • มีอารมณ์ฉุนเฉียว ร้องไห้ไม่หยุด ไม่สามารถปลอบโยนให้ลูกน้อยสงบลงได้  
    • มีไข้สูง ถ้าลูกน้อยมีอุณหภูมิที่วัดทางทวารหนักสูงกว่า 38 องศาเซลเซีลส คุณหมอจำเป็นต้องตรวจหาอาการติดเชื้อ หากลูกน้อยมีอายุต่ำกว่า 3 เดือน ต้องรีบพาไปพบคุณหมอทันที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 10/11/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา