ทารกคลอดก่อนกำหนด

ทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ เรียกอีกอย่างว่า "ทารกคลอดก่อนกำหนด" ทารกเหล่านี้มักจะมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพบางอย่าง อ่านต่อเพื่อเรียนรู้วิธีการที่จะช่วยให้พวกเขาเติบโตและประสบความสำเร็จ

เรื่องเด่นประจำหมวด

ทารกคลอดก่อนกำหนด

BPD คือ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

Bronchopulmonary Dysplasia หรือ BPD คือ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีปัญหาการหายใจหลังคลอด และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อให้ออกซิเจนเป็นเวลานาน โดยอาจพิจารณาว่าเป็นโรค BPD เมื่อทารกต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนานกว่า 28 วัน การรักษาสามารถทำได้ด้วยการประคับประคองอาการไปจนกว่าปอดของทารกจะทำงานได้ตามปกติ ส่วนใหญ่ทารกจะมีอาการดีขึ้นแต่อาจมีภาวะสุขภาพในภายหลัง เช่น โรคหอบหืด ปัญหาพัฒนาการล่าช้า ปัญหาการหายใจในวัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ จึงควรป้องกันด้วยการเข้ารับการฝากครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค BPD ในทารกแรกเกิด [embed-health-tool-child-growth-chart] โรค BPD คือ อะไร Bronchopulmonary Dysplasia หรือ โรค BPD คือโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดที่เกิดจากพัฒนาการของเนื้อเยื่อปอดผิดปกติ มักพบในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดเกิน 10 สัปดาห์ หรือในเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 900 กรัม ซึ่งปอดจะยังพัฒนาไม่เต็มที่และได้รับออกซิเจนเสริมหรือใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน เช่น เด็กที่มีกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) นอกจากนี้ยังอาจเกิดในทารกที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน (Patent Ductus Arteriosus หรือ PDA) ทารกที่ติดเชื้อในกระแสเลือด แม้ว่าจะคลอดตามกำหนดก็ตาม ทั้งนี้ โรค BPD ยังสามารถเกิดขึ้นในทารกที่ผ่านวัยแรกเกิดไปแล้วแต่มีพัฒนาการของปอดผิดปกติ มีการติดเชื้อขณะอยู่ในครรภ์ […]

สำรวจ ทารกคลอดก่อนกำหนด

ทารกคลอดก่อนกำหนด

โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีดูแล

โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด เป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงชนิดหนึ่งที่พบมากในทารกคลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดให้มากขึ้น ทั้งอาการที่ควรสังเกต สาเหตุ วิธีรักษาและดูแลที่เหมาะสม อาจช่วยคลายความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด คืออะไร โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด (Bronchopulmonary dysplasia : BPD) เป็นโรคที่เกี่ยวกับปัญหาการหายใจและปอดในระยะยาว จัดเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่เกิดจากปอดของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ โรคนี้มักพบในทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่มีภาวะหายใจลำบาก (Respiratory distress syndrome : RDS) โดยความรุนแรงของโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดมีตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงรุนแรงมาก ทารกที่เป็นโรคปอดเรื้อรังอาจพบภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ ปัญหาสุขภาพที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจต่อเนื่อง เสี่ยงเกิดโรคไข้หวัดธรรมดา โรคไข้หวัดใหญ่ และการติดเชื้ออื่น ๆ ได้ง่าย ปัญหาการกลืน ปัญหาการเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้า ปัญหาการหายใจในวัยเด็ก และอาจเรื้อรังไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ อาการ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด อาการที่พบได้บ่อย มีดังนี้ ปัญหาการหายใจ เช่น หายใจเร็ว หายใจสั้น มีเสียงเมื่อหายใจ หน้าอกมีการหดและขยายอย่างชัดเจน อาจหยุดหายใจชั่วขณะ ปีกจมูกขยับแรงกว่าปกติขณะหายใจ อาจมีอาการหายใจหอบ ผิวปลายมือปลายเท้าหรือริมฝีปากมีสีเขียว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อให้ออกซิเจนอย่างต่อเนื่องหลังจากทารกคลอดก่อนกำหนด มีอายุประมาณ 36 สัปดาห์ สาเหตุของโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด ปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะหายใจลำบาก ภาวะปอดติดเชื้อ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ปัญหาหัวใจในทารกคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับลูกน้อย

ปัญหาหัวใจในทารกคลอดก่อนกำหนด หมายถึง ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับหัวใจในลักษณะต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตต่ำ หัวใจพิการ อาจเกิดจากหัวใจของทารกยังไม่พัฒนาจนสมบูรณ์พร้อม ปัญหาหัวใจเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจเป็นอันตรายกับสุขภาพเด็กได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-”due-date”] ทารกคลอดก่อนกำหนดกับปัญหาสุขภาพหัวใจ ทารกคลอดก่อนกำหนด คือ ทารกที่คลอดก่อนครบกำหนดประมาณ 2 สัปดาห์ หรือคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่มักมีปัญหาสุขภาพตามระบบต่าง ๆ เนื่องจากร่างกายอาจยังพัฒนาไม่สมบูรณ์เต็มที่ ปัญหาสุขภาพเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการโดยรวมของทารกทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีงานวิจัยที่พบว่า ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อีกทั้งการคลอดก่อนกำหนดยังอาจส่งผลต่อโครงสร้างหัวใจและการทำงานของหัวใจอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นที่พบว่า การคลอดก่อนกำหนดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และระดับคอเลสเตอรอลสูงเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่อีกด้วย ปัญหาหัวใจในทารกคลอดก่อนกำหนด ปัญหาหัวใจที่อาจพบได้ในทารกคลอดก่อนกำหนด มีดังต่อไปนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (Patent ductus arteriosus : PDA) เมื่อทารกอยู่ในครรภ์ ทารกจะได้รับออกซิเจนจากรก เพราะปอดจะยังไม่ทำงานจนกว่าทารกจะลืมตาดูโลกและสายสะดือถูกตัดขาด เมื่อทารกคลอดออกมาแล้วหลอดเลือดหัวใจจะปิดเพื่อให้ปอดเริ่มทำงาน แต่สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด หลอดเลือดหัวใจส่วนนี้อาจปิดช้ากว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน โดยปกติโรคนี้มักไม่ก่อให้เกิดปัญหา เนื่องจากหลอดเลือดจะปิดตัวลงได้เองเมื่อทารกคลอดก่อนกำหนดมีอายุเท่ากับทารกที่คลอดตามกำหนด แต่ทารกบางคนอาจเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเกินถาวร และทำให้อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือรับการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดปิดหลอดเลือดเกิน โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart disease : CHD) โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หมายถึง โรคที่ลักษณะของหัวใจผิดปกติ เช่น ผิดรูป มีรูรั่ว […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด รู้ก่อน เพื่อสุขภาพทารก

ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด คือปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นในทารกที่คลอดก่อนกำหนด เช่น โรคปอดเรื้อรัง ภาวะหายใจลำบาก ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่ปอดของทารกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น ปัญหาการหายใจในทารก เหล่านี้ก็จะค่อย ๆ หายไปตามพัฒนาการของทารก ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หมายถึงทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักมีปัญหาสุขภาพมากมายเนื่องจากร่างกายยังไม่พัฒนาเต็มที่ ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดเร็วเท่าไรจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเท่านั้น [embed-health-tool-”due-date”] ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง ทารกที่คลอดก่อนกำหนดบางคนอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ เนื่องจากระบบทางเดินหายใจยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ปอดของทารกอาจขาดสารลดแรงตึงผิวที่ช่วยให้ปอดขยายตัว ทำให้ปอดของทารกอาจไม่สามารถหดและขยายตัวได้ตามปกติ จนนำไปสู่ ปัญหาการหายใจในทารก ต่าง ๆ ดังนี้ กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด (Newborn or neonatal respiratory distress syndrome : NRDS) กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด เกิดขึ้นจากการที่ปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้ไม่สามารถรับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ ทำให้ทารกอาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ สีผิว ริมฝีปาก ลิ้นและเล็บ เปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือฟ้า หายใจสั้นและเร็ว มีเสียงดังเมื่อหายใจ กรณีที่เป็นมากอาจซึมลง หายใจช้า หรือ หายใจแผ่ว แพทย์อาจต้องให้สารลดแรงตึงผิวผ่านทางหลอดลมเข้าสู่ปอด นอกจากนี้ หากแพทย์พิจารณาว่าคุณแม่อาจมีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 34 คุณหมอก็อาจให้ยาสเตียรอยด์เพื่อช่วยให้ปอดของทารกพัฒนาดีขึ้น เนื่องจากปอดของทารกคลอดก่อนกำหนดจะพัฒนาจนใกล้เคียงทารกครบกำหนดหลังอายุครรภ์ 34 สัปดาห์เป็นต้นไป โรคปอดเรื้อรังในทารกคลอดก่อนกำหนด (Bronchopulmonary […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

วัคซีนสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ควรได้รับ

เนื่องจากร่างกายของทารกคลอดก่อนกำหนด อาจยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อเวลาผ่านไปจึงอาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ในอนาคต ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทารกควรได้รับตามเกณฑ์การพิจารณาจากทางแพทย์ โดย วัคซีนสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนที่ทารกควรได้รับ เพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง เนื่องจากร่างกายของทารกคลอดก่อนกำหนด อาจยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อเวลาผ่านไปจึงอาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ในอนาคต ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทารกควรได้รับตามเกณฑ์การพิจารณาจากทางแพทย์ โดย วัคซีนสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด อาจมีดังนี้ วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ คุณหมออาจจำเป็นต้องตรวจร่างกายคุณแม่ร่วมด้วยว่ามีแอนติเจนที่เป็นลบหรือเป็นบวก หากเป็นทารกคลอดก่อนกำหนด โดยคุณแม่ที่มีแอนติเจนลบ อาจจำต้องรอให้ทารกมีน้ำหนักมากกว่า 2,000 กรัมเสียก่อน เนื่องจากร่างกายอาจไม่สามารถตอบสนองต่อวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีได้เพียงพอ ในกรณีที่ทารกคลอดก่อนกำหนด โดยคุณแม่ที่มีแอนติเจนบวก อาจเข้ารับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีชนิดโมโนวาเลน (Monovalent) ได้ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด แต่หากทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีน้ำหนัก 2,000 กรัม อาจได้รับวัคซีน 3 โดส ตั้งแต่แรกเกิด วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม การคลอดก่อนกำหนดอาจทำให้ทารกมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพปอดได้ เช่น โรคปอดบวม โดยส่วนใหญ่คุณหมออาจกำหนดให้ทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีอายุ 2 เดือนขึ้นไปได้รับวัคซีนนี้ แม้ว่าทารกจะยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล วัคซีนไวรัสโรต้า วัคซีนไวรัสโรต้าเป็นวัคซีนชนิดรับประทานที่ค่อนข้างมีความปลอดภัยสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีสุขภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับที่ดีจากการประเมินของคุณหมอ โดยสามารถรับได้ตั้งแต่ทารกอายุ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ทารกคลอดก่อนกำหนด ที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ

ทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นหมายถึงการที่คุณแม่คลอดลูกในช่วงก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ โดยอาจมีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามารู้จักกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทั้งปัจจัยเสี่ยง ลักษณะ และการดูแลลูกน้อยเบื้องต้น เพื่อให้ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างถูกต้อง [embed-health-tool-vaccination-tool] ปัจจัยเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงป้องกัน ทารกคลอดก่อนกำหนด ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้ทารก คลอดก่อนกำหนด บางปัจจัย คุณแม่ตั้งครรภ์ก็อาจสามารถทำการหลีกเลี่ยงได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการ คลอดก่อนกำหนด เช่น ลดระดับความเครียด การหยุดสูบบุหรี่ และการใช้ยาที่ไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์ แต่สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาวะสุขภาพต่าง ๆ อาจค่อนข้างหลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น การติดเชื้อบางชนิด บริเวณช่องคลอด ปัญหาเกี่ยวกับมดลูก ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อุบัติเหตุ ภาวะครรภ์เป็นพิษ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โดยอาจมาจากพันธุกรรม หรือพฤติกรรมส่วนตัว ก่อนการตั้งครรภ์ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ยังสามารถส่งผลต่อพัฒนาการของทารก ทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ล่าช้าหรือบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการมองเห็น การรับรู้การเข้าใจ ปัญหาการได้ยิน คุณแม่จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอยู่เสมอทั้งช่วงการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ และระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อช่วยป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ คลอดก่อนกำหนด เหล่านี้ ลักษณะของทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ควรสังเกต เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เผชิญกับเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพที่จำเป็นต้อง คลอดก่อนกำหนด ก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบบางอย่างกับลูกน้อยทั้งในระดับต่ำ จนถึงขั้นรุนแรง ได้ดังนี้ ลักษณะของทารก คลอดก่อนกำหนด ที่พบเจอได้บ่อย […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ส่งผลต่อสุขภาพลูกน้อย

ทารกคลอดก่อนกำหนด คือทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงก่อนที่การตั้งครรภ์จะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งอาจทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด ที่อาจส่งผลในระยะสั้นหรือในระยะยาวขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของทารกและการดูแล รักษาอย่างใกล้ชิด Hello คุณหมอ จึงขอนำเสนอ ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด เพื่อให้คุณได้ทราบถึงภาวะที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง การที่ทารกคลอดเร็วกว่าที่กำหนดอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาภายหลังได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ยิ่งทารกเกิดเร็วเท่าใดยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเท่านั้น ภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนดในช่วงสัปดาห์แรก อาจมีดังต่อไปนี้ ปัญหาการหายใจ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ เนื่องจากปอดยังไม่แข็งแรง และขาดสารลดแรงตึงผิวที่ช่วยให้ปอดขยายตัว ทำให้ปอดไม่สามารถขยายและหดตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ทารกมีอาการหายใจลำบาก นอกจากนี้ทารกบางรายก็อาจมีอาการหยุดหายใจเป็นเวลานาน ที่เรียกว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ปัญหาหัวใจ ปัญหาหัวใจที่พบบ่อยที่สุดใน ทารกคลอดก่อนกำหนด คือ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (PDA) หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตต่ำ และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งอาจต้องรักษาด้วยยา การถ่ายเลือด หรือการผ่าตัด ปัญหาสมอง ยิ่งทารกเกิดเร็วมากเท่าใด ก็ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมองมากขึ้นเท่านั้น อาการเลือดออกในสมองสามารถหายขาดได้เอง แต่ทารกบางคนอาจมีอาการรุนแรงจนทำให้สมองได้รับบาดเจ็บได้ ปัญหาการควบคุมอุณหภูมิ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะสูญเสียความร้อนในร่างกายอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผิวหนังบาง ร่างกายยังไม่มีไขมันเก็บสะสมไว้ ทำให้ไม่สามารถกักเก็บความร้อนไว้ในร่างกายได้ และทำให้อุณภูมิร่างกายลดต่ำลง ภาวะอุณหภูมิลลดต่ำกว่าปกติอาจนำไปสู่ปัญหาการหายใจและระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ในช่วงแรกจึงต้องอยู่ในตู้อบเพื่อรักษาอุณภูมิจนกว่าร่างกายจะโตพอและสามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายเองได้ ปัญหาทางเดินอาหาร ทารกคลอดก่อนกำหนด ระบบทางเดินอาหารยังไม่แข็งแรง ส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะลำไส้เน่าอักเสบ (Necrotizing enterocolitis NEC) […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ไขข้อสงสัย พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง

การคลอดก่อนกำหนดอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อ พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากร่างกายและสมองของทารกอาจไม่ได้มีเวลาพอที่จะพัฒนาอย่างเต็มที่ เมื่อทารกคลอดออกมาจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ บทความนี้ได้รวบรวมสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับพัฒนาการของลูกน้อยมาฝากคุณแล้วที่นี่เลย [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง? พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการที่เหมือนกับเด็กที่คลอดตามปกติ แต่ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดมากเท่าใด ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสการมีปัญหาทางพัฒนาการมากขึ้นเท่านั้น ทารกคลอดก่อนกำหนด น้อยกว่า 36 สัปดาห์ อวัยวะของทารกในช่วงนี้มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ แต่ยังคงต้องมีการพัฒนาของสมองเพิ่มเติม ทารกที่คลอดในช่วงนี้อาจมีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดปัญหาด้านพัฒนาการและการหายใจ ในช่วงแรกอาจต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อเพิ่มน้ำหนัก และให้อาหารผ่านอุปกรณ์ช่วยเหลือ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ทารกมักจะมีน้ำหนักน้อยกว่า 1 กิโลกรัม อวัยวะต่างๆยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ มีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาพัฒนาการด้านต่าง ๆ และความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นหากมีภาวะแทรกซ้อนอื่นร่วมด้วยในระหว่างการดูแลของแพทย์ พัฒนาการทางภาษาของ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกคลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่ อาจมีพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าเด็กที่คลอดปกติ และอาจมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาการเรียนรู้ การคิด หรือการได้ยินเสียง ซึ่งส่งผลต่อความสามารถทางด้านภาษาของเด็กเป็นอย่างมาก พัฒนาการทางร่างกายของ ทารกคลอดก่อนกำหนด โดยปกติเด็กที่คลอดก่อนกำหนดจะมีพัฒนาทางร่างกายเป็นไปตามลำดับ เพียงแต่อาจจะมีขนาดตัวที่เล็กกว่าหรือมีน้ำหนักที่น้อยกว่า และมีปัญหาผิดปกติของกล้ามเนื้อเล็กน้อย เช่น ปัญหาเรื่องการจับดินสอ การเดินรอบสิ่งกีดขวาง การวาดรูป การถือแก้วโดยไม่ให้น้ำหก ทารกคลอดก่อนกำหนด มีแนวโน้มมีปัญหาเรื่องฟัน เช่น เคลือบฟันผิดปกติ ฟันอาจมีสีเทาหรือน้ำตาล ผิวไม่เรียบ ฟันอาจขึ้นช้ากว่าปกติ หรือรูปร่างของฟันอาจส่งผลต่อการกัด พัฒนาการทางประสาทสัมผัส การได้ยิน ทารกคลอดก่อนกำหนดมีโอกาสมากที่จะมีปัญหาหูหนวกหรือหูตึง การมองเห็น […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

วิธี ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หมายถึง ทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์ โดยปกติทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะยังมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์และมีร่างกายที่อ่อนแอ จึงควรมีการ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ทารกมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ดีสมวัยต่อไป [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำไมทารกจึง คลอดก่อนกำหนด ยังไม่เป็นที่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าทำไมทารกจึงคลอดก่อนกำหนด ในบางครั้งอาจเป็นเพราะสุขภาพของแม่ระหว่างตั้งครรภ์ แม่บางคนอาจเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือไต การติดเชื้อที่ถุงน้ำคร่ำหรือทางเดินปัสสาวะ หรืออาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด ดังนี้ เลือดออกจากรกเกาะต่ำ หรือรกแยกตัวออกจากครรภ์ ครรภ์ไม่ปกติ อุ้มท้องเด็กมากกว่า 1 คน ในครั้งเดียว มีน้ำหนักน้อยในระหว่างตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด หรือดื่มสุราขณะตั้งครรภ์ ใช้ยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์ ข้อควรรู้สำหรับ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด อาจต้องเพิ่มการดูแลเป็นพิเศษ ในเบื้องต้นคุณหมอจะพิจารณาดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่โรงพยาบาล เมื่อร่างกายทารกสมบูรณ์แล้วจึงสามารถกลับบ้านได้ ซึ่งวิธีดูแลทารกนั้นมีดังนี้ ทารกคลอดก่อนกำหนดอาจมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย ต้องการความอบอุ่นและการเลี้ยงดูเป็นพิเศษ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีภาวะแทรกซ้อน ทารกที่ติดเชื้อต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ทารกบางรายอาจไม่หายใจหรือหายใจเหนื่อย จึงจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือโดยด่วนโดยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อเพิ่มออกซิเจน เครื่องอุ่นสำหรับทารก ทารกคลอดก่อนกำหนดบางรายจำเป็นต้องใช้เครื่องอุ่นเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายในขณะเฝ้าติดตามอาการ เครื่องส่องไฟเพื่อรักษาอาการตัวเหลือง เนื่องจากทารกแรกเกิดจะมีความเสี่ยงของภาวะตัวเหลืองมากกว่าเด็กคลอดครบกำหนดจากหลายกลไก เมื่อร่างกายของทารกคลอดก่อนกำหนด แข็งแรงขึ้นและได้รับคำยืนยันจากคุณหมอว่าสามารถกลับบ้านได้ จึงนำทารกกลับไปเลี้ยงดูที่บ้านได้ซึ่งต่างมีความสำคัญเช่นกัน สิ่งสำคัญในการ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด การ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิ อุณภูมิสำหรับทารกต้องสบายและปลอดภัย ควรปรับอุณภูมิในบ้านให้พอเหมาะด้วยเครื่องปรับอากาศ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด เกิดจากสาเหตุใด

จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด (Retinopathy of Prematurity : ROP)  เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่จอตาในส่วนที่ไวต่อแสง (เรตินา) ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด อาจทำให้มีปัญหาทางสายตา หรือตาบอดได้ [embed-health-tool-due-date] คำจำกัดความ จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด คืออะไร จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่จอตา ในส่วนที่ไวต่อแสง (เรตินา) ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ในผู้ที่มีอาการรุนแรงหลอดเลือดจอประสาทตาที่ผิดปกติจะขยายเข้าไปในสารคล้ายวุ้น (น้ำวุ้นตา) ส่งผลให้จอประสาทตาเป็นแผล ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้ พบได้บ่อยเพียงใด จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดพบได้ในทารกก่อนคลอด อาการ อาการของจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด สัญญาณหลายอย่างของโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดเกิดขึ้นภายในดวงตา จักษุแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลดวงตาจะตรวจดวงตาอย่างละเอียดในทารกที่มีความเสี่ยงเข้าข่ายโรคดังกล่าว ซึ่งสัญญาณอาการที่บ่งบอกว่าทารกเข้าข่ายจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด การเคลื่อนไหวความผิดปกติของดวงตา รูม่านตาสีขาว ควรไปพบหมอเมื่อใด หากทารกในครรภ์มีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ สาเหตุ สาเหตุของจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดจอประสาทตาในดวงตาของทารกที่คลอดกำหนด จากการศึกษาที่นำโดยจักษุแพทย์โรงพยาบาลเด็กบอสตัน Lois Smith, MD, PhD  พบว่า จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดอาจเกิดจากการได้รับสารเคมีจากแม่ในครรภ์ในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก ๆ รวมถึงปัจจัยการเจริญเติบโตของอินซูลินและหลอดเลือด ปัจจัยเสี่ยงของจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด มารดาที่มีอายุครรภ์ 30 สัปดาห์หรือน้อยกว่าเมื่อเทียบกับอายุครรภ์ตามครบกำหนด 38-42 สัปดาห์ เด็กทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิด 1,500 กรัม โดยตามปกติทารกต้องมีน้ำตามเกณฑ์ 2,000 กรัม โรคโลหิตจาง การติดเชื้อ โรคหัวใจ เชื้อชาติ การวินิจฉัยและการรักษา ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด การตรวจคัดกรองทารกที่เป็นโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด จะไม่เริ่มขึ้นจนกว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีอายุ 4-9 […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม