backup og meta

วิธีให้นมลูก ที่ถูกต้อง มีอะไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ · แก้ไขล่าสุด 15/11/2022

    วิธีให้นมลูก ที่ถูกต้อง มีอะไรบ้าง

    คุณแม่หลังคลอดมีเรื่องมากมายที่ต้องกังวลเกี่ยวกับลูก โดยเฉพาะหากเป็นครั้งแรกที่มีลูก ก็อาจยิ่งเพิ่มความกังวลให้กับคุณแม่มือใหม่เข้าไปอีก ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ การเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือการให้นมลูก โดยเฉพาะการให้นมลูก ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งคุณแม่อาจเจอปัญหาในการให้นมลูกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำนมน้อย ลูกไม่ยอมดูด หรือท่าทางในการให้นมไม่ถูกต้อง ดังนั้น วิธีให้นมลูก ที่ถูกต้อง จึงอาจเป็นเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องเรียนรู้

    วิธีให้นมลูก ที่ถูกต้อง

    วิธีให้นมลูกที่ถูกต้อง อาจมีดังนี้

    การเตรียมนมแม่ก่อนคลอด

    หากคุณแม่เตรียมตัวให้ดี ก็จะช่วยให้คุณแม่มีความพร้อมมากขึ้นก่อนเจอลูก การเตรียมนมแม่ก่อนคลอดก็เป็นอีกเรื่องที่ช่วยเตรียมความพร้อมเพื่อเจอลูกน้อยได้ คุณแม่สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ถึงเทคนิคให้นมลูกต่าง ๆ เช่น ทำอย่างไรถึงจะมีน้ำนมในปริมาณที่มากพอสำหรับลูกน้อย ท่าให้นมที่ถูกต้องควรทำอย่างไร

    ให้ความใกล้ชิดเขาหลังคลอด

    หลังจากที่คุณแม่คลอดเจ้าตัวเล็กออกมาแล้ว ควรให้ความใกล้ชิดกับเขา ไม่ว่าจะเป็นการกอด อุ้ม ลูบผม หรือสัมผัสผิวหนังอย่างเบามือ และนุมนวล เพราะการสัมผัสเหล่านี้อาจมีส่วนช่วยในการตอบสนองของฮอร์โมนอย่างมาก ซึ่งจะเชื่อมโยงกับความง่ายในการให้นมลูก และอาจช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกได้สำเร็จ

    อยู่ในท่าทางการให้นมที่ถูกต้อง

    เทคนิคให้นมลูก ที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง คือ ท่าให้นมที่ถูกต้อง หลังจากที่คุณแม่คลอดลูกแล้วที่ เต้านมอาจจะยังนุ่มอยู่ แต่เมื่อผ่านไป 2-3 วัน เต้านมก็จะคัดตึงขึ้น ซึ่งถือเป็นสัญญาณว่าพร้อมที่จะให้นมลูกแล้ว ดังนั้น ลองหาโอกาสในการให้นมลูกโดยลองจัดท่าทางในการให้นมลูกอย่างถูกต้อง เพื่อที่ลูกจะได้อยู่ในท่าทางที่สบาย และจะช่วยให้ลูกดูดนมได้มากขึ้น ซึ่งในช่วง 2-3 วันแรก เป็นช่วงที่เหมาะแก่การให้นมลูก เพราะเป็นช่วงที่นมแม่จะมีสีเหลือง เรียกว่า น้ำนมเหลือง ซึ่งเป็นนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีประโยชน์ต่อสุขภาพของลูก

    ต้องใจเย็นในการให้นมลูก

    การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นทักษะที่ทั้งคุณแม่และลูกต้องค่อย ๆ เรียนรู้ไปด้วยกัน สำหรับคุณแม่และลูกน้อยบางคนอาจจะรู้สึกว่ายากกว่าคนอื่น ๆ แต่คุณแม่ต้องใจเย็น ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทุกอย่างก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ การพักผ่อนก็เป็นอีกสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับทั้งคุณแม่และลูกน้อย หากคุณแม่เกิดรู้สึกหงุดหงิดหรือโกรธตัวเองขึ้นมา ในขณะที่กำลังพยายามป้อนนมลูกอยู่ ให้หยุดป้อนนมลูกก่อน เมื่ออารมณ์เย็นลงแล้วค่อยกลับมาลองอีกครั้งในภายหลัง หากลูกร้องไห้ หรือคุณแม่ฟุ้งซ่านเกินกว่าที่จะดูแลลูกในขณะนี้ก็ควรขอให้คนอื่นช่วยกล่อมลูกไปก่อน เมื่อพร้อมเมื่อไรค่อยกลับมาดูแลลูก

    ให้นมเท่าที่ลูกต้องการ

    การที่คุณแม่ให้นมเท่าที่ลูกน้อยต้องการ นอกจากจะช่วยสร้างวินัยการกินแล้ว ยังอาจช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมเพียงพอด้วย

    ให้ความใกล้ชิดกับลูกน้อย

    การให้ความใกล้ชิดกับลูกน้อยจะช่วยทำให้คุณแม่ได้รับรู้ความต้องการของลูกน้อย การอยู่ห้องเดียวกับลูก นอกจากจะลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างกระทันหันของลูกน้อยแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการให้นมแม่อีกด้วย การอยู่ในห้องเดียวกันจะช่วยให้คุณแม่รับรู้เมื่อลูกหิว ง่วง หรือต้องการให้กอดได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อคุณแม่กับลูกอีกด้วย และที่สำคัญคุณแม่ควรเตรียมห้องนอนให้มีพื้นที่เพียงพอ มีสภาพแวดล้อมช่วยให้นอนหลับได้อย่างปลอดภัยทั้งกลางวันและกลางคืน

    หลีกเลี่ยงการใช้จุกนมปลอม

    ในช่วงแรก ๆ ที่ลูกน้อยกำลังเรียนรู้ที่จะดื่มนมจากเต้านมของคุณแม่ หากคุณแม่ให้ลูกน้อยดูดนมจากจุกนมปลอม ลูกน้อยอาจเกิดความสับสนได้ ทางที่ดีจึงควรหลีกเลี่ยงการให้ลูกดูดจุกนมปลอมไปก่อน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ · แก้ไขล่าสุด 15/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา