backup og meta

วิธีฝึกวินัยให้ลูก ตั้งแต่วัยเตาะแตะ ทำได้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 29/04/2022

    วิธีฝึกวินัยให้ลูก ตั้งแต่วัยเตาะแตะ ทำได้อย่างไร

    การฝึกวินัยให้ลูก เป็นสิ่งสำคัญที่ คุณพ่อคุณแม่ควรทำ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้และฝึกฝนความเป็นระเบียบ เข้าใจและปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ และสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข โดยควรเริ่มฝึกตั้งแต่ช่วงวัยเตาะแตะ เพราะเป็นช่วงวัยที่สามารถเรียนรู้และจดจำได้อย่างรวดเร็ว

    วิธีฝึกวินัยให้ลูก

    • หลีกเลี่ยงสถานการณ์ตึงเครียด

    เมื่อลูกอยู่ในวัยเริ่มหัดเดิน อาจมีหลายปัจจัยที่ทำให้ลูกรู้สึกหงุดหงิด งอแง ขึ้นมาได้ โดยเฉพาะเวลาที่ลูกหิว ง่วงนอน หรือมีอาการไม่คุ้นเคยกับสถานที่ ก่อนจะฝึกวินัยให้ลูก จึงควรตรวจสอบด้วยว่าลูกพร้อมไหม อย่าฝืนให้ลูกทำอะไรโดยที่เขาไม่ชอบ หรือไม่เต็มใจที่จะทำ อีกทั้งการฝึกวินัยให้ลูกควรเริ่มฝึกตั้งแต่ที่บ้าน โดยเฉพาะวินัยในการกินอาหาร และการนอน ทั้งการงีบหลับ และนอนกลางคืน เพราะการอยู่ในสถานที่ที่คุ้นเคยจะช่วยให้เด็กผ่อนคลายได้มากกว่า

    นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถฝึกให้ลูกมีวินัยโดยให้เขายังรู้สึกสนุกสนานไปได้ด้วย เช่น เวลาจะไปข้างนอกก็ให้ลูกเลือกชุดใส่เอง ให้ลูกช่วยเลือกวัตถุดิบในการประกอบอาหาร และควรบอกให้เขารู้เป็นระยะว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป วิธีนี้จะช่วยให้ลูกน้อยรู้ตัวว่าตนเองต้องทำอะไร ปรับตัวยังไง ซึ่งจะช่วยให้เขาเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ โดยไม่อาละวาด หรืองอแง

    • คิดให้เหมือนลูกน้อย

    พูดง่าย ๆ ก็คือ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” นั่นเอง เด็กในวัยหัดเดินแตกต่างกับผู้ใหญ่โดยสิ้นเชิง พวกเขาจะยังไม่ค่อยเข้าใจอะไรมากนักในหลาย ๆ เรื่อง ฉะนั้น ถ้าเราใช้ความคิดแบบลูกน้อยเสียเอง ก็จะช่วยให้เราเข้าใจในตัวเขาได้มากขึ้น ซึ่งนั่นจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเกิดอารมณ์ฉุนเฉียวขึ้นมาได้ นอกจากนี้การให้ลูกน้อยเลือกที่จะทำโน่นทำนี่ได้เอง ก็เป็นการเคารพสิทธิ์ และแสดงให้ลูกรู้ว่าเราสนใจความรู้สึกของเขาด้วย

    ก่อนให้ลูกเข้านอนอาจมีการถามลูกด้วยว่าอยากฟังนิทานเรื่องไหน ลูกจะได้รู้สึกสนุกกับสิ่งที่ชอบก่อนนอน ไม่รู้สึกว่าถูกบังคับให้นอนทั้ง ๆ ที่ยังไม่อยากนอน อีกทั้งยังเป็นการทำให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าเขาสามารถควบคุมสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี โดยมีคุณพ่อคุณแม่เป็นคนที่คอยให้คำแนะนำให้อยู่ข้าง ๆ 

    อย่าอารมณ์เสีย

    การส่งเสียงเอะอะโวยวาย ในยามที่ลูกน้อยทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ มีแต่จะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายกว่าเดิม เพราะหากเด็กต้องอยู่กับพ่อแม่ที่อารมณ์เสียอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พวกเขาไม่ได้สนใจฟังในสิ่งที่กำลังแนะนำหรือตักเตือน อารมณ์โกรธจะยิ่งทำให้ลูกน้อยรู้สึกสนุกสนานมากขึ้น

    ฉะนั้น เวลาโมโห ไม่ควรตวาด หรือด่าทอรุนแรง ลองหายใจเข้าออกลึก ๆ นับหนึ่งถึงสาม แล้วก้มหรือย่อตัวลงไปให้สายตาอยู่ในระดับเดียวกับเด็ก จากนั้นจึงค่อยตักเตือนหรือตำหนิการกระทำผิดของลูกด้วยน้ำเสียงหนักแน่นจริงจัง จะเป็นผลดีเสียกว่า

    • จับเข้ามุมเพื่อสงบสติอารมณ์

    หากการอบรมสั่งสอนหรือการตักเตือนด้วยเหตุผล ไม่ได้ช่วยให้ลูกทำตัวดีขึ้น อาจต้องใช้มาตรการลงโทษด้วยการ “จับเขาเข้ามุมเพื่อสงบสติอารมณ์” ซึ่งถือเป็นวิธีจัดการกับเด็กเอาแต่ใจที่ได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง แต่ก่อนจะลงโทษเด็กด้วยวิธีนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรมองหน้าเขาแบบจริงจัง พร้อมเตือนเขาด้วยน้ำเสียงหนักแน่น เช่น “แม่จะนับหนึ่งถึงสามนะ ถ้าลูกยังไม่หยุด แม่จะให้ไปสงบสติอารมณ์ตรงมุมห้องนะ หนึ่งสองสาม!” แล้วถ้าลูกน้อยยังไม่ยอมหยุด ก็จับเขาเข้ามุมห้อง หรือสถานที่สำหรับลงโทษที่เตรียมไว้ แล้วให้ลูกนั่งนิ่ง ๆ เป็นเวลาสักสองถึงสามนาที เพื่อให้ลูกได้ทบทวนความผิดที่ทำ จากนั้นจึงให้เขากล่าวคำขอโทษ แล้วกอดเขาแน่นๆ เพื่อให้เขารับรู้ว่าไม่ได้โกรธเคืองอะไร การลงโทษวิธีนี้จะช่วยให้เขามีบทเรียน และมีแนวโน้มที่จะเชื่อฟังมากขึ้น

    วิธีป้องกันการอาละวาดในช่วงฝึกวินัยให้ลูก

    อาการร้องอาละวาด หรือแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว มักจะเกิดขึ้นกับเด็กในวัยหัดเดิน เนื่องจากเขาเริ่มเข้าใจอะไรอๆ ได้มากขึ้น ทั้งการรู้จักแสดงท่าทาง และการแสดงออกทางอารมณ์ ซึ่งมักจะออกไปทางด้านฉุนเฉียว หรือหงุดหงิดได้ง่าย ทำจึงให้บางครั้งการฝึกวินัยให้ลูกเป็นไปได้อ่างได้ยากยิ่งขึ้น แต่คุณพ่อคุณแม่นั้นก็สามารถป้องกันไม่ให้ลูกอาละวาดโวยวายได้ ด้วยเคล็ดลับดี ๆ ต่อไปนี้

    • หากลูกน้อยทำตัวดี ควรชมเชยหรือให้รางวัลลูกบ้าง เพื่อให้ลูกรู้ว่าเขาทำสิ่งที่ถูกต้อง และไม่ได้ละเลยเขา วิธีนี้จะช่วยให้ลูกไม่ก่อเรื่อง หรือพยายามเรียกร้องความสนใจอีก
    • ให้โอกาสลูกน้อยได้ควบคุมอะไรเล็กๆ น้อยๆ ด้วยตัวเองบ้าง วิธีนี้จะช่วยให้เด็กรู้สึกมีอิสระในการทำกิจกรรมต่างๆ อารมณ์ฉุนเฉียวก็จะลดลงไปโดยปริยาย เช่น ให้เลือกอาหารกลางวันเอง เลือกหนังสือที่อยากอ่าน
    • พิจารณาข้อเรียกร้องอย่างระมัดระวัง เวลาที่ลูกน้อยต้องการอะไร หากไม่เหลือบ่ากว่าแรง หรือสร้างความเดือดร้อนอะไร ก็ควรหยวนๆ ให้เขาบ้าง
    • ควรรู้ขีดจำกัดของลูกน้อย ถ้าลูกรู้สึกเหนื่อย ก็ยังไม่ควรให้เขาฝึกวินัยใดๆ แต่ควรให้ลูกได้ทำกิจกรรมผ่อนคลายก่อน ลูกจะได้ไม่เครียดมาก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 29/04/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา