backup og meta

ฝึกให้ลูกเข้านอน คุณพ่อคุณแม่ต้องทำอย่างไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 03/04/2023

    ฝึกให้ลูกเข้านอน คุณพ่อคุณแม่ต้องทำอย่างไรบ้าง

    การ ฝึกให้ลูกเข้านอน ถือเป็นการฝึกให้ลูกนอนหลับอย่างเป็นเวลา ซึ่งการฝึกให้ลูกนอนเข้านอนนั้นอาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดอาการเหนื่อย เพราะกว่าจะพาพวกเขาเข้านอนได้ต้องใช้เวลาพอสมควร แม้ว่าลูกจะเป็นเด็กที่นอนหลับสบายตั้งแต่ยังเป็นทารก แต่เมื่อพวกเขาเข้าสู่วัยหัดเดิน การนอนหลับอาจเป็นสิ่งสุดท้ายที่พวกเขาจะนึกถึง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรเมื่อต้อง ฝึกให้ลูกน้อยเข้านอน

    ฝึกให้ลูกเข้านอน สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง

    การฝึกให้ลูกเข้านอน นั้นไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัวและสมบูรณ์แบบ เช่นเดียวกับการเลี้ยงดูในด้านอื่น ๆ ซึ่งไม่มีวิธีใดที่ใช้ได้ผลกับเด็กทุกคน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงต้องพยายามทดลองฝึกลูกน้อยเข้านอนด้วยวิธีต่าง ๆ จนกว่าจะพบวิธีที่เหมาะสมกับลูกน้อยและครอบครัว สำหรับวิธี ฝึกให้ลูกน้อยเข้านอน สามารถทำได้ดังนี้

    วิธีที่ 1 : ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

    หากมีลูกน้อยวัยหัดเดินที่เคยชินกับการถูกจับหรือโยกตัวเพื่อเข้านอน คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องใช้วิธีการค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพวกเขา ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่เหมาะที่สุดสำหรับเด็กทารก การเปลี่ยนแปลงจากการที่ลูกน้อยมักจะหลับในอ้อมแขน ไปเป็นการนอนหลับบนที่นอน อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ สำหรับวิธีค่อย ๆ เปลี่ยนพฤติกรรมนี้จะช่วยให้ลูกน้อยที่ติดกับการกอดค่อย ๆ มีการปรับตัว

    โดยสิ่งที่ต้องทำก็คือ การวางลูกน้อยเอาไว้ในเปลหรือเตียงในขณะที่พวกเขาตื่น แต่เริ่มมีความรู้สึกง่วง จากนั้นให้คุณเดินออกจากห้องแล้วปิดประตูทันที เมื่อลูกน้อยเริ่มร้องไห้งอแงต้องใจแข็งและอย่าเดินกลับเข้าไปในห้องทันที ให้รอประมาณ 5 นาทีหรือกลับเข้าไปในห้องเมื่อลูกน้อยร้องไห้ไม่ยอมหยุดเท่านั้น หากจำเป็นจะต้องกลับเข้าไปในห้องอีกครั้ง ให้ปลอบลูกน้อยด้วยการลูบหลังเบา ๆ จนกว่าพวกเขาจะสงบแล้ว แล้วจึงออกจากห้องไป หากลูกน้อยร้องไห้อีกครั้งให้ทำซ้ำแบบนี้อีกครั้ง และทำวิธีนี้ต่อไปจนกว่าเขาจะหลับไป โดยไม่อุ้มขึ้นมาปลอบให้หลับ

    ในกรณีหากลูกน้อยนอนอยู่บนเตียงแล้ว และจะเข้าไปในห้องเพื่อพาพวกเขาออกจากเตียง จำเป็นจะต้องอุ้มเขาขึ้นมาและกอดเอาไว้ในอ้อมแขนอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอ้อมแขนสามารถทำให้พวกเขารู้สึกมั่นใจ นอกจากนั้น การกอดยังทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย ในขณะที่กลับไปนอนลงบนเตียงอีกด้วย จากนั้นค่อยเดินออกจากห้องมาอย่างเงียบ ๆ

    วิธีการนี้อาจจะต้องทำอย่างต่อเนื่องไปสัก 2-3 คืน แต่อย่าเพิ่งยอมแพ้ วิธีค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้จะสอนให้ลูกน้อยรู้จักกับการปลอบประโลมตัวเอง และในที่สุดพวกเขาก็จะหลับไปโดยไม่มีอาการงอแงแม้แต่เล็กน้อย

    วิธีที่ 2 : ปล่อยให้ร้องไห้

    วิธีการปล่อยให้ร้องไห้นั้นเป็นวิธีที่เหล่าคุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะไม่ค่อยชอบสักเท่าไหร่นัก เพราะไม่มีใครอยากจะได้ยินเสียงลูกน้อยของตัวเองกรีดร้องและร้องไห้เป็นเวลา 1 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้นอย่างแน่นอน แต่นี่เป็นทางเลือกที่ดี หากวิธีการค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใช้ไม่ได้ผล เนื่องจากเด็ก ๆ จะรู้ว่าการกลับเข้ามาในห้องก็เพื่อกอดและสร้างความมั่นใจให้กับพวกเขา ซึ่งความสนใจนี้จะทำให้เด็ก ๆ พยายามสร้างความวุ่นวายตลอดทั้งคืน เพราะสุดท้ายแล้วพวกเขารู้ว่ายังไงพพ่อแม่ก็จะต้องกลับเข้ามาในห้องอีกแน่นอน

    สำหรับวิธีปล่อยให้ร้องไห้นั้น พ่อแม่จะต้องไม่กลับเข้าไปในห้องอีกไม่ว่าพวกเขาจะร้องไห้มากแค่ไหนก็ตาม อาจแอบโผล่หัวไปดูพวกเขาได้ตรงทางเข้าของประตู เพื่อพูดกับพวกเขาว่า “ลูกจะไม่รักก็ไม่เป็นไร” วิธีนี้อาจจะมีการกลับเข้าไปในห้องในช่วงระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ หรือจะค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาการกลับเข้าห้องให้ห่างออกไป และกลับเข้ามาใหม่เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกน้อย

    แต่อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ไม่ว่าจะได้ยินพวกเขาร้องไห้หนักแค่ไหน ก็ห้ามกลับเข้าไปในห้องเป็นอันขาด ซึ่งวิธีนี้อาจจะได้ผลเร็วกว่าวิธีค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความจริงก็คือ เด็กวัยหัดเดินที่ทนต่อการนอนหลับมากที่สุด อาจจะร้องไห้หรือกรีดร้องได้เป็นเวลานานหลายชั่วโมง แต่สำหรับวิธีการนี้ จะยอมแพ้หรือใจอ่อนไม่ได้เป็นอันขาด ไม่เช่นนั้นลูกน้อยจะได้เรียนรู้ว่าการร้องไห้นานขึ้นและหนักขึ้น ทำให้พวกเขาได้สิ่งที่ต้องการ

    วิธีที่ 3 : วิธีการนอนอยู่กับพวกเขา

    หากจำเป็นจะต้องเปลี่ยนที่นอนให้แก่เด็กวัยหัดเดินจากการนอนที่เตียงพ่อแม่ ไปนอนที่เตียงของพวกเขาเอง วิธีการนี้ก็คือการวางลูกน้อยเอาไว้บนเตียงของพวกเขา จากนั้นลองนอนอยู่กับพวกเขาในห้องนอนสัก 2-3 คืน เมื่อลูกน้อยรู้สึกสบายตัวบนเตียงนอนแล้ว ลองเปลี่ยนไปนั่งเก้าอี้ใกล้เตียงนอนแทน แล้วจึงเดินออกจากห้องไปเมื่อพวกเขาหลับ การนั่งเก้าอี้ควรทำสัก 2-3 คืน โดยในคืนที่ 3 ให้ลูกน้อยเข้านอนแล้วค่อยเดินออกจากห้องไป

    หากลูกมีอาการงอแง ร้องไห้ ให้รอประมาณ 5 นาที เพื่อดูว่าพวกเขาหลับหรือไม่ ก่อนที่จะโผล่หัวเข้าไปในห้อง และสร้างความมั่นใจให้กับลูกน้อย

    ฝึกให้ลูกเข้านอน โดยเปลี่ยนจากเปลไปสู่เตียง

    แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่คงจะมีอาการตื่นเต้นที่จะต้องเปลี่ยนให้ลูกน้อยไปนอนเตียงขนาดใหญ่สำหรับเด็ก ความจริงแล้วไม่มีตัวเลขที่จะกำหนดตายตัวว่าควรจะเปลี่ยนให้ลูกน้อมานอนที่เตียงตอนอายุเท่าไหร่ แต่มันอาจเกิดขึ้นได้ในเด็กวัยหัดเดิน ช่วงอายุระหว่าง 1 ขวบครึ่งถึง 3 ขวบครึ่ง

    สำหรับสัญญาณที่บ่งบอกว่าถึงเวลาแล้วที่ลูกจะต้องเปลี่ยนไปนอนเตียงขนาดใหญ่สำหรับเด็ก ก็คือ พวกเขาเริ่มมีพฤติกรรมที่พยายามจะปีนออกจากเปล ลูกน้อยได้รับการฝึกขับถ่ายแบบผู้ใหญ่และต้องการเข้าห้องน้ำด้วยตัวเอง สำหรับเคล็ดลับที่จะทำให้การเปลี่ยนลูกน้อยมานอนที่เตียงง่ายขึ้น สามารถทำได้ ดังนี้

    รักษาสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยและสะดวกสบาย วางเตียงขนาดใหญ่สำหรับเด็กเอาไว้ที่เดียวกับเปล พยายามอย่างเพิ่งแต่งห้องใหม่ในช่วงนี้

    อย่าบังคับลูกด้วยการเปลี่ยนแปลงมากเกินไปในคราวเดียว หากลูกน้อกำลังอยู่ในช่วงที่ฝึกขับถ่ายแบบผู้ใหญ่ ขอให้เลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่นอนของลูกน้อยออกไปก่อน และปล่อยให้พวกเขาได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ไปทีละก้าว

    ใช้การเสริมแรงในเชิงบวกด้วยการให้รางวัล เพื่อไม่ให้สับสนกับการได้รับรางวัล สามารถตั้งระบบการให้รางวัล เพื่อกระตุ้นให้ลูกน้อยนอนอยู่บนเตียงได้นานขึ้น ซึ่งรางวัลที่จะให้พวกเขาอาจเป็นของเล่น สติกเกอร์ หรือแม้แต่ขนมต่าง ๆ

    โปรดทราบเอาไว้ว่า เมื่อลูกย้ายไปนอนบนเตียงขนาดใหญ่สำหรับเด็ก พวกเขาอาจจะเดินออกไปข้างนอกห้อง หรือไปยังบริเวณอื่น ๆ ภายในบ้าน โดยที่ไม่ได้รับการดูแล ดังนั้น ควรจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของพวกเขา และหาวิธีการป้องกันลูกน้อยไม่ให้ได้รับความบาดเจ็บจากสิ่งของ หรือบริเวณต่าง ๆ ภายในบ้าน

    กิจวัตรก่อนนอนที่ช่วยทำให้ลูกน้อยนอนหลับ

    ลูกน้อยอาจจะยึดติดกับกิจวัตรประจำวันบางอย่าง ดังนั้น การสร้างความสม่ำเสมอให้กับกิจวัตรยามค่ำคืนที่สามารถคาดเดาได้ จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ โดยอาจจะใช้ระยะเวลา 30-60 นาทีก่อนเข้านอน แต่หากยังไม่ได้กำหนดกิจวัตรก่อนนอนของเด็ก กิจกรรมเหล่านี้อาจจะสามารถเพิ่มลงในกิจวัตรก่อนนอนของลูกน้อยได้ ซึ่งกิจวัตรก่อนนอนต่าง ๆ มีดังนี้

    อาบน้ำตอนกลางคืน

    อาบน้ำตอนกลางคืน น้ำอุ่นสามารถทำให้ลูกน้อยวัยหัดเดินสงบและผ่อนคลาย นอกจากนั้นยังทำให้จิตใจและร่างกายของพวกเขาพร้อมสำหรับการนอนหลับ เมื่อหลังจากอาบน้ำแล้วให้ใส่ชุดนอนและแปรงฟัน หากได้ฝึกลูกน้อยขับถ่ายแบบผู้ใหญ่แล้ว หรือลูกน้อยไม่ได้ใส่ผ้าอ้อมนอนควรพาพวกเขาไปห้องน้ำด้วย

    มีเวลาเงียบ ๆ หลังจากอาบน้ำเสร็จ

    เวลาผ่อนคลายในความเงียบซึ่งไม่ใช่เวลาสำหรับการวิ่งเล่น เพราะการวิ่งเล่นนั้นสามารถกระตุ้นให้เด็กน้อยวัยหัดเดินของคุณหลับยากขึ้น ดังนั้น การกำหนดช่วงเวลาพักผ่อนก่อนนอน โดยไม่มีโทรทัศน์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงก่อนนอนจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด

    คุณพ่อคุณแม่อาจลองอ่านหนังสือให้พวกเขาฟัง วางตุ๊กตาต่าง ๆ เอาไว้ที่เตียง ร้องเพลงสบาย ๆ หรือทำกิจกรรมเงียบ ๆ ที่สร้างความผ่อนคลายแทน

    จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพักผ่อน

    สร้างสภาพแวดล้อมการนอนหลับที่สบาย ปิดผ้าม่าน และทำให้อุณภูมิในห้องรู้สึกสบายที่สุด หรี่ไฟเพื่อกระตุ้นการสร้างเมลาโทนิน และอาจมีการลองใช้เสียงธรรมชาติในการช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับได้ดีขึ้น เช่น เสียงฝนตก หรือเสียงน้ำตก เป็นต้น

    สิ่งที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับกิจวัตรก่อนนอนของเด็กน้อยก็คือ ความสม่ำเสมอและหลีกเลี่ยงการใช้เวลาที่มากเกินไป เพิ่มเฉพาะสิ่งที่สามารถทำได้จริงในทุกคืนและผู้ดูแลลูกน้อยคนอื่นก็สามารถทำได้เช่นกัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 03/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา