backup og meta

เด็กกินเค็ม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 20/05/2022

    เด็กกินเค็ม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

    ไม่ใช่แค่ของหวานหรืออาหารไขมันสูง ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่การกิน เกลือ หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง ก็เพิ่มความเสี่ยงสุขภาพได้เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีสังเกตอย่างไรว่า เด็กกินเค็ม มากเกินไปจนอาจทำให้เด็กๆ เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว

    เด็กกินเค็ม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

    งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics ให้ข้อมูลว่า เด็กบริโภค เกลือ หรือ โซเดียมเกินปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ซึ่งการกินอาหารที่มีโซเดียมสูงตั้งแต่เด็ก สามารถเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต

    โดยโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งคร่าชีวิตชาวอเมริกันมากกว่า 800,000 คนในแต่ละปี และการกินอาหารที่มีรสเค็ม การบริโภค เกลือ หรืออาหารโซเดียมสูง อาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด

    เด็กกินเค็ม (โซเดียม) เท่าไหร่ถึงจะพอดี

    เด็กควรบริโภคเกลือแต่น้อย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาหารส่วนใหญ่มักจะเพิ่มเกลือลงไป เช่น ขนมปัง ถั่วอบ หรือแม้แต่ขนมปังอบกรอบ จึงทำให้เด็กๆ กินเค็มมากเกินไป

    ปริมาณ เกลือ ที่สูงที่สุดที่เด็กควรได้รับต่อวัน ได้แก่

    • เด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือน ควรได้รับ เกลือ น้อยกว่า 1 กรัมต่อวัน และโซเดียมน้อยกว่า 0.4 กรัมต่อวัน
    • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรบริโภคเกลือ 2 กรัมต่อวัน และโซเดียมน้อยกว่า 0.8 กรัมต่อวัน
    • เด็กอายุ 4-6 ปี ควรบริโภคเกลือ 3 กรัมต่อวัน และโซเดียมน้อยกว่า 1.2 กรัมต่อวัน
    • เด็กอายุ 7-10 ปี ควรบริโภคเกลือ 5 กรัมต่อวัน และโซเดียมน้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน
    • เด็กอายุ 11 ปีขึ้นไป ควรบริโภคเกลือ 6 กรัมต่อวัน และโซเดียมน้อยกว่า 2.4 กรัมต่อวัน

    สัญญาณที่บอกว่า เด็กกินเค็ม มากเกินไป

    อยากกินอาหารที่มีรสเค็ม

    เกลือ มักจะทำให้รสชาติของอาหารดีขึ้น ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เด็กๆ จะมีแนวโน้มที่จะอยากกินอาหารที่มีรสเค็ม เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ มากกว่าการกินอาหารที่มีประโยชน์อย่างผักและผลไม้ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกเริ่มอยากกินอาหารที่มีรสเค็ม ควรลดการเติมเกลือหรือซอสปรุงรสในอาหาร และให้เด็กๆ กินอาหารที่มีโซเดียมต่ำ

    ความดันโลหิตสูง

    งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร American Family Physician ให้ข้อมูลว่า 7% ของเด็กอายุ 3-18 ปี มีภาวะก่อนเกิดความดันโลหิตสูง (Pre-Hypertension) หรือโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งหากเด็กเป็นโรคความดันโลหิตสูง จะไม่มีสัญญาณหรืออาการใดๆ ที่บอกว่าเป็นโรคนี้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรพาเด็กๆ ไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ

    ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม

    การบริโภค เกลือ มากเกินไป อาจทำให้ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มได้ นอกจากนี้ยังอาจมีกลิ่นแรงด้วย โดยไม่ใช่แค่เฉพาะเด็ก แต่สำหรับคนทุกวัยสามารถมีปัสสาวะสีเหลืองเข้มและมีกลิ่นแรง หากได้รับโซเดียมมากเกินไป ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกมีปัสสาวะสีเข้ม ควรปรึกษาแพทย์

    น้ำหนักขึ้น ทั้งๆ ที่ไม่ได้กินของหวานหรือของมัน

    คุณพ่อคุณแม่มักจะให้เด็กๆ ลดการกินของหวานและไขมัน เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจทำให้เด็กๆ อ้วน แต่รู้หรือไม่ว่ามีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า น้ำหนักขึ้นอาจสัมพันธ์กับการได้รับ เกลือ มากขึ้น

    ความอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นนอกจากการควบคุมน้ำตาลและไขมันแล้ว ผู้ปกครองควรระวังอาหารที่มีรสเค็มมีโซเดียมสูงด้วย เช่น อาหารแปรรูป และอาหารสำเร็จรูป เพื่อไม่ให้เด็กๆ ได้รับโซเดียมเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 20/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา