backup og meta

เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอ มากเกินไป ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 29/12/2022

    เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอ มากเกินไป ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

    ในยุคปัจจุบันคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ ยุคใหม่ หลายครอบครัวให้ลูกดูการ์ตูนหรือรายการเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ แต่แม้อุปกรณ์เหล่านี้จะมีประโยชน์ แต่หาก เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอ มากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรจำกัดเวลาในการใช้งานให้เหมาะสม อย่าให้ลูกใช้เวลาอยู่หน้าจอมากจนเกินไป

    เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอ มากเกินไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

    สุขภาพร่างกาย เมื่อ เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอ

    การใช้เวลาอยู่หน้าจอสามารถทำให้ดวงตามีปัญหาได้ เช่น มีอาการแสบตา คันตา ตาล้า หรือหากเด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป ก็อาจทำให้มีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ตาพร่า มองเห็นภาพซ้อน หรือปวดคอได้

    แสงสีฟ้ากับสายตาเด็ก

    ในความยาวคลื่นและพลังงาน แสงสีฟ้า (Blue light) ถือว่าใกล้เคียงกับแสงยูวี ซึ่งทำให้เป็นที่น่ากังวลว่าจะเกิดความเสียหายจากการเจอแสงสีฟ้าสะสมเป็นเวลานาน เนื่องจากดวงตาของเด็ก ๆ มักจะมีความสามารถในการมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ เพราะเลนส์ธรรมชาติของดวงตามีขนาดเล็กและชัดเจน

    แสงสีฟ้าอาจส่งไปยังเรติน่าของดวงตาของเด็ก ๆ ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ จึงสามารถทำให้ดวงตาเกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้ แสงสีฟ้ายังสามารถรบกวนการนอนหลับ และนาฬิกาชีวภาพ (Circadian rhythm) หากเด็ก ๆ ใช้เวลาอยู่หน้าจอใกล้เกินไปในช่วงเวลาก่อนเข้านอน

    สมองด้านความรู้ความเข้าใจ

    งานวิจัยที่ศึกษาในเด็กอายุ 8-11 ปี จำนวน 4,500 คน เมื่อเดือนกันยายนปี 2016 ถึงเดือนกันยายนปี 2017 ซึ่งทีมวิจัยได้ให้เด็ก ๆ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ 3 ข้อของ Canadian guidelines ที่เผยแพร่ในปี 2016 ได้แก่ จำกัดการใช้เวลาหน้าจอ นอนหลับให้เพียงพอ และออกกำลังกาย ผลการศึกษาพบว่าเด็ก 37%  สามารถทำตามคำแนะนำได้ นั่นคือ ใช้เวลาอยู่หน้าจอน้อยกว่าวันละ 2 ชั่วโมง และเด็ก ๆ 18% สามารถออกกำลังกาย 1 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น นอกจากนี้ โดยเฉลี่ยแล้วเด็กจะใช้เวลา 3.6 ชั่วโมงต่อวันในการอยู่หน้าจอ

    นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังพบว่า เด็กที่สามารถทำตามคำแนะนำได้ มีความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กกลุ่มที่ไม่ได้ทำตามคำแนะนำ โดยคำแนะนำดังกล่าว ได้แก่

    • ใช้เวลาน้อยกว่า 2 ชั่วโมงในการใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
    • นอนหลับ 9-11 ชั่วโมง
    • ออกกำลังกายอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวัน

    ทีมวิจัยมีข้อสมมติฐานว่า การใช้เวลาอยู่หน้าจอมากเกินไป อาจส่งผลต่อความสามารถในการจดจ่อของเด็ก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพวกเขาต้องสลับการใช้งานไปมา ระหว่างแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์ หรือสลับหน้าจอในเวลาเดียวกัน

    นอกจากนี้ การนอนหลับและการออกกำลังกายยังมีส่วนเกี่ยวข้องกัน เนื่องจากการนอนหลับมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสมอง และยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า การออกกำลังกายเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง และเพิ่มออกซิเจนให้เนื้อเยื่อสมอง รวมถึงเพิ่มการเชื่อมต่อของเครือข่ายในสมอง ซึ่งการใช้เวลาอยู่หน้าจอมากเกินไปอาจส่งผลทางอ้อม คือทำให้เด็ก ๆ นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ และออกกำลังกายน้อยเกินไปเนื่องจากใช้เวลาอยู่หน้าจอทั้งวัน

    คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง

    ในระยะสั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นกับดวงตา เช่น ตาพร่า ปวดตา จะดีขึ้นหากให้เด็กพักจากการดูหน้าจอต่าง ๆ แต่หากลูกมีปัญหาสายตา ควรปรึกษาคุณหมอ

    นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจใช้กฎ 20-20-20 กล่าวคือ เมื่อลูกอยู่หน้าจอครบ 20 นาที ควรพักสายตา 20 วินาที และมองไปที่อื่นที่ไกลออกไป 20 ฟุต (ประมาณ 6 เมตร) โดยผู้ปกครองต้องไม่ลืมสังเกตปัจจัยเหล่านี้ด้วย

  • ลูกใช้เวลาอยู่หน้าจอบ่อยแค่ไหน
  • ลูกใช้เวลาอยู่หน้าจอนานเท่าไหร่
  • ลูกดูอะไร
  • สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า เด็กอายุ 2-5 ปีควรจำกัดเวลาในการอยู่หน้าจออยู่ที่ 1 ชั่วโมง/วัน และควรดูสื่อที่มีคุณภาพ และนอกจากการดูสื่อต่าง ๆ แล้ว การเล่นเกมเสริมการเรียนรู้ในแท็บเล็ต หรือทำกิจกรรมกับหน้าจอโทรศัพท์ ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง/วัน ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีไม่ควรใช้เวลาอยู่หน้าจอโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ ถ้าลูกอยู่ในวัยเรียน ไม่ควรให้ลูกใช้เวลาอยู่หน้าจอมากเกินไป โดยควรใช้เวลาน้อยกว่า 2 ชั่วโมง/วัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 29/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา