backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กลูโคเฟจ® (Glucophage®)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/06/2020

กลูโคเฟจ® (Glucophage®)

กลูโคเฟจ® (Glucophage®) มีตัวยาสำคัญคือ เมทฟอร์มิน นิยมใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

ข้อบ่งใช้

กลูโคเฟจ® (ยาเมทฟอร์มิน) ใช้สำหรับ

กลูโคเฟจ® (Glucophage®) นิยมใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

วิธีการใช้ กลูโคเฟจ® (ยาเมทฟอร์มิน)

วิธีการใช้ยาสำหรับรับประทาน

  • รับประทานกลูโคเฟจ® ตามที่แพทย์กำหนดในเรื่องเกี่ยวกับขนาดยาและตารางการใช้ยา
  • ควรอ่านฉลากยาให้ละเอียดก่อนใช้กลูโคเฟจ
  • หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลบนฉลากยา โปรดปรึกษาแพทย์

การเก็บรักษา กลูโคเฟจ® (ยาเมทฟอร์มิน)

ควรเก็บ กลูโคเฟจ® ที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง หากมีข้อสงสัยควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งกลูโคเฟจ® ลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ กลูโคเฟจ® (ยาเมทฟอร์มิน)

ก่อนใช้กลูโคเฟจ® โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณ

  • มีอาการแพ้ต่อกระสายยาที่ใช้ในรูปแบบยาที่มีส่วนผสมของกลูโคเฟจ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น ยาอื่น ๆ อาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์
  • กำลังเป็นโรคอื่น ๆ
  • ใช้ยาอื่นที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดปฏิกิริยากับกลูโคเฟจ

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

กลูโคเฟจ® จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ กลูโคเฟจ® (ยาเมทฟอร์มิน)

กลูโคเฟจ® สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้เช่นเดียวกับยาอื่น  ส่วนใหญ่แล้วอาการเหล่านี้แทบจะไม่เกิดขึ้นและไม่จำเป็นต้องรับการรักษาเพิ่มเติม แต่ควรปรึกษาแพทย์เสมอหากเกิดปัญหาใด ๆ ระหว่างใช้ยานี้

ผลข้างเคียงบางส่วนมีดังนี้

  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • อ่อนแรง
  • มีอาการชาหรือรู้สึกเย็นที่แขนหรือขา
  • หายใจติดขัด
  • รู้สึกวิงเวียนหรือหน้ามืด
  • ปวดท้อง คลื่นไส้และอาเจียน
  • หัวใจเต้นช้าหรือเต้นไม่เป็นจังหวะ
  • รู้สึกหายใจลำบาก แม้แค่การออกกำลังกายเบา ๆ
  • บวมหรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • มีอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ (เช่นเป็นไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตัว)
  • ปวดศีรษะ
  • ท้องร่วง

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

กลูโคเฟจ® อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับกลูโคเฟจ® ได้แก่

  • ยาอะเซตาโซลาไมด์ (Acetazolamide) อย่างไดอามอกซ์ (Diamox)
  • ยาอะมิโลไรด์ (Amiloride) อย่างมาดามอร์ (Midamor, In Moduretic)
  • ยาในกลุ่มเออีซีอินฮิบิเตอร์ (Angiotensin-Converting Enzyme inhibitors) เช่น
    • ยาเบนาเซพริล (Benazepril) อย่างโลเทนซิน (Lotensin)
    • ยาแคปโทพริล (Captopril) อย่างแคปโพเทน (Capoten)
    • ยาเอนาลาพริล (Enalapril) อย่างวาโซเทค (Vasotec)
    • ยาโฟซินโนพริล (Fosinopril) อย่างโมโนพริล (Monopril)
    • ยาลิซิโนพริล (Lisinopril) อย่างพรินิวิล (Prinivil) หรือเซลทริล (Zestril)
    • ยาโมเอกซิพริล (Moexipril) อย่างยูนิวาสค์ (Univasc)
    • ยาเพอริโดพริล (Perindopril) อย่างเอซิออน (Aceon)
    • ยาควินาพริล (Quinapril) อย่างแอคคูพริล (Accupril)
    • ยารามิพริล (Ramipril) อย่างอัลเทรส (Altace)
    • ยาทรานโดลาพริล (Trandolapril) อย่างมาวิก (Mavik)
  • ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta-Blockers) เช่น
    • ยาอะเทโนลอล (Atenolol) อย่างเทนอร์มิน (Tenormin)
    • ยาลาเบทาลอล (Labetalol) อย่างนอร์โมดีน (Normodyne)
    • ยาเมโทโพรลอล (Metoprolol) อย่างโลเพรสเซอร์ (Lopressor) หรือโทพรอล เอ็กซ์แอล (Toprol Xl)
    • ยานาโดลอล (Nadolol) อย่างคอร์การ์ด (Corgard)
    • ยาโพรพราโนลอล (Propranolol) อย่างอินเดรอล (Inderal)
  • ยาในกลุ่มแคลเซียมชาแนลบล็อกเกอร์ (Calcium Channel Blockers) เช่น
    • ยาแอมโลดิพีน (Amlodipine) อย่างนอร์วาสค์ (Norvasc)
    • ยาดิลไทอาเซม (Diltiazem) อย่างคาร์ดิเซม (Cardizem) ดิลาคอร์ (Dilacor) ไทอาแซค (Tiazac) และอื่น ๆ
    • ยาเฟโลดิพีน (Felodipine) อย่างเพลนดิล (Plendil)
    • ยาอิสราดิพีน (Isradipine) อย่างไดนาเซิร์ค (Dynacirc)
    • ยาไนคาร์ดิพีน (Nicardipine) อย่างคาร์เดน (Cardene)
    • ยานิเฟดิพีน (Nifedipine) อย่างอะดาแลต (Adalat) หรือโพรคาร์เดีย (Procardia)
    • ยานิโมดิพีน (Nimodipine) อย่างนิโมท็อป (Nimotop)
    • ยานิโซลดิพีน (Nisoldipine) อย่างซูลาร์ (Sular)
    • ยาเวราพามิล (Verapamil) อย่างคาแลน (Calan) ไอโซปทิน (Isoptin) หรือเวเรแลน (Verelan)
  • ยาซิเมทิดีน (Cimetidine) อย่างทากาเมต (Tagamet)
  • ยาไดจอกซิน (Digoxin) อย่างลานอกซิน (Lanoxin)
  • ยาขับปัสสาวะ (ยาขับน้ำ)
  • ยาฟูโรเซไมด์ (Furosemide) อย่างลาซิก (Lasix)
  • การบำบัดทนแทนฮอร์โมน
  • ยาอินซูลิน (Insulin) หรือยาอื่น ๆ สำหรับโรคเบาหวาน
  • ยาไอโซไนอาซิด (Isoniazid)
  • ยารักษาโรคหอบหืดและโรคหวัด
  • ยาสำหรับอาการป่วยทางจิตและอาการคลื่นไส้
  • ยาสำหรับโรคไทรอยด์
  • มอร์ฟีน (Morphine) อย่างเอ็มเอส คอนทิน (Ms Contin) และอื่น ๆ
  • ยาไนอาซิน (Niacin)
  • ยาเม็ดคุมกำเนิด
  • ยาสเตียรอยด์สำหรับรับประทาน เช่น
  • ยาเดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) อย่างเดคาโดรน (Decadron) หรือเดกโซน (Dexone)
  • ยาเมทิลเพรดนิโซโลน (Methylprednisolone) อย่างเมดรอล (Medrol)
  • ยาเพรดนิโซน (Prednisone) อย่างเดลทาโซน (Deltasone)
  • ยาเฟนิโทอิน (Phenytoin) อย่างดิลแลนทิน (Dilantin) หรือเฟนิเทก (Phenytek)
  • ยาโพรคาอินาไมด์ (Procainamide) อย่างโพรแคนบิด (Procanbid)
  • ยาควินิดีน (Quinidine)
  • ยาควินีน (Quinine)
  • ยารานิทิดีน (Ranitidine) อย่างแซนเทค (Zantac)
  • ยาโทพิราเมต (Topiramate) อย่างโทพาแมกส์ (Topamax)
  • ยาไตรแอมเทอรีน (Triamterene) อย่างไดอาไซด์ (Dyazide) แมกไซด์ (Maxzide) และอื่น ๆ
  • ยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim) อย่างพริมซอล (Primsol)
  • ยาแวนโคมัยซิน (Vancomycin) อย่างแวนโคซิน (Vancocin)
  • ยาโซนิซาไมด์ (Zonisamide) อย่างโซเนแกรน (Zonegran)
  • ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

    กลูโคเฟจ® อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

    ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

    กลูโคเฟจอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ เช่น

    • บริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป
    • ภาวะต่อมหมวกไตทำงานน้อยเกิน
    • ภาวะต่อมใต้สมองทำงานน้อยเกิน
    • ภาวะขาดสารอาหาร
    • สภาพร่างกายอ่อนแอ
    • สภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
    • ภาวะโลหิตจาง
    • ภาวะขาดวิตามินบี 12
    • โรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันหรือไม่แน่นอน
    • ภาวะขาดน้ำ
    • โรคหัวใจวายเฉียบพลัน
    • ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ (Hypoxemia)
    • โรคตับ
    • การติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis)
    • อาการช็อค (ความดันโลหิตต่ำ การไหลเวียนของเลือดไม่ดี)
    • ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน หรือภาวะกรดคั่งจากสารคีโตน (Diabetic ketoacidosis)
    • โรคไตระดับรุนแรง
    • ภาวะเลือดเป็นกรดเมตะบอลิก (Metabolic acidosis)
    • โรคเบาหวานชนิดที่ 1
    • เป็นไข้
    • ติดเชื้อ
    • การผ่าตัด
    • การบาดเจ็บ

    ขนาดยา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ขนาดยาของกลูโคเฟจ® (ยาเมทฟอร์มิน) สำหรับผู้ใหญ่

    โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับขนาดกลูโคเฟจที่ใช้ในผู้ใหญ่

    ขนาดยาที่แนะนำสำหรับบางกรณีมีดังต่อไปนี้

    ยาออกฤทธิ์ทันที

    • ขนาดยาเริ่มต้น : 500 มก. รับประทานวันละสองครั้ง หรือ 850 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • การปรับขนาดยา : เพิ่มขนาดยา 500 มก. ทุกสัปดาห์ หรือเพิ่ม 850 มก. ทุก ๆ 2 สัปดาห์เท่าที่สามารถทนได้
    • ขนาดยาปกติ : 2000 มก.ต่อวัน
    • ขนาดยาสูงสุด : 2550 มก.ต่อวัน

    ยาออกฤทธิ์นาน

    • ขนาดยาเริ่มต้น : 500-1000 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • การปรับขนาดยา : เพิ่มขนาดยา 500 มก. ทุกสัปดาห์เท่าที่สามารถทนได้
    • ขนาดยาปกติ : 2000 มก.ต่อวัน
    • ขนาดยาสูงสุด : 2550 มก.ต่อวัน

    ขนาดยาของกลูโคเฟจ® (ยาเมทฟอร์มิน) สำหรับเด็ก

    โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับขนาดกลูโคเฟจที่ใช้ในเด็ก

    ขนาดยาที่แนะนำสำหรับบางกรณีมีดังต่อไปนี้

    โรคเบาหวานประเภทที่ 2 สำหรับเด็กอายุ 10 ปีขึ้นไป

    ยาออกฤทธิ์ทันที

    • ขนาดยาเริ่มต้น : 500 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
    • การปรับขนาดยา : เพิ่มขนาดยา 500 มก. ทุกสัปดาห์เท่าที่สามารถทนได้
    • ขนาดยาปกติ : 2000 มก.ต่อวัน
    • ขนาดยาสูงสุด : 2550 มก.ต่อวัน

    ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาเม็ดออกฤทธิ์นานสำหรับรับประทาน 500 มก. และ 1000 มก.

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา