backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

สังกะสี (Zinc)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

การใช้ประโยชน์

สังกะสีใช้ทำอะไร?

สังกะสีเป็นโลหะชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า “แร่ธาตุที่พบน้อยแต่จำเป็น” เพราะแม้ปริมาณน้อยนิดของสังกะสีก็จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์

สังกะสีนั้นใช้เพื่อรักษาและป้องกันอาการขาดสังกะสีและผลกระทบของมัน ได้แก่ การหยุดเจริญเติบโต ท้องเสียรุนแรงในเด็ก แผลหายช้า

มันยังใช้เพื่อเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน รักษาโรคหวัดทั่วไป การติดเชื้อในหูซ้ำซาก และป้องกันการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง และมันยังถูกใช้เพื่อรักาไข้มาเลเรีย และโรคอื่นๆที่เกิดจากปรสิต

บางรายใช้สังกะสีเพื่อรักษาโรคตาที่เรียกว่า โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม ปัญหาการมองเห็นในเวลากลางคืน และต้อกระจก มันยังถูกใช้เพื่อรักษาโรคหืด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเอดส์ และโรคผิวหนัง อย่างสะเก็ดเงิน โรคเรื้อนกวาง และสิว

การนำไปใช้อื่นๆเช่น เพื่อรักษาโรคสมาธิสั้น ภาวะเสียการรู้รส เสียงอื้อในหู อาการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ โรคโครห์น โรคอัลไซเมอร์ ดาวน์ซินโดรม โรคเรื้อน โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และช่วยในการเพิ่มน้ำหนักในผู้ที่มีปัญหาการรับประทานอย่างโรคคลั่งผอม

บางรายใช้สังกะสีเพื่อรักษาโรคต่อมลูกหมากโต การไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศชาย กระดูกพรุน โรคปวดข้อรูมาติก อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากโรคตับ มันยังถูกใช้เพื่อรักษาโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว และโรคทางกรรมพันธุ์อย่าง โรคผิวหนังอักเสบ และผิดปกติทางจิตใจ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย และโรควิลสัน

นักกีฬาบางคนใช้สังกะสี เพิ่มเพิ่มสมรรถภาพทางกีฬา และความแข็งแรง

สังกะสีถูกนำมาใช้ทาผิว เพื่อรักษาสิว การเสื่อมของผิวตามอายุ การติดเชื้อเริม และช่วยเร่งการรักษาแผล

มีผลิตภัณฑ์ของสังกะสีที่สามารถใช้ฉีดเข้ารูจมูก เพื่อรักษาไข้หวัดทั่วไป

ซิงค์ซัลเฟต นั้นถูกใช้เพื่อรักษาการระคายเคืองในดวงตา

ซิงค์ไซเตรต นั้นถูกใช้ทำยาสีฟัน และน้ำยาบ้วนปากเพื่อป้องกันการเกิดคราบหินปูน และเหงือกอักเสบ

 

 

สรรพคุณของสังกะสี

ยังมีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสมุนไพรชนิดนี้ว่ามีการทำงานอย่างไร ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือขอคำแนะนำจากแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าร่างกายต้องการสังกะสีในการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมและการคงสภาพของร่างกาย มันถูกพบในระบบต่างๆของร่างกายหลายระบบและปฏิกิริยาทางชีวภาพต่างๆ และมันจำเป็นต่อการทำงานของภูมิคุ้มกัน การรักษาแผล การแข็งตัวของเลือด การทำงานของต่อมไทรอยด์ และอื่นๆอีกมาก เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วประเภทต่างๆ พืชมีฝัก และธัญพืชนั้นให้สังกะสีเป็นจำนวนมาก

อาการขาดสังกะสีสามารถพบได้ทั่วโลก แต่พบได้ยากในสหรัฐอเมริกา อาการต่างๆนั้นได้แก่ การเติบโตช้า ระดับอินซูลินน้อย อาการเบื่ออาหาร การระคายเคือง ผมร่วง ผมหยาบ และผิวแห้ง แผลหายช้า ประสาทรับรสและกลิ่น  ไม่ดี ท้องเสีย คลื่นไส้ อาการขาดสังกะสี นั้นเกี่ยวข้อง กับความผิดปกติของลำไส้ซึ่งมีผลต่อการดูดซึมอาหาร อาการติดเหล้า ไตวายเรื้อรัง และโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง

สังกะสีมีบทบาทสำคัญในการคงสภาพการมองเห็น สังกะสีมีอยู่ปริมาณมากในดวงตา อาการขาดสังกะสีนั้นอาจทำให้การมองเห็นไม่ปกติ การขาดสังกะสีชนิดรุนแรง อาจทำให้มีความเปลี่ยนแปลงในกระจกตา (หลังดวงตา ซึ่งมีหน้าที่โฟกัสภาพ)

สังกะสีอาจมีฤทธิ์ในการต่อต้านไวรัส มันสามารถบรรเทาอาการไข้หวัดทั่วไปได้ แต่นักวิจัยยังไม่สามารถอธิบายได้ว่ามันทำงานอย่างไร นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานว่าสังกะสีนั้นมีตัวยาต้านไวรัสที่ช่วยต่อต้านไวรัสโรคเริม

หากมีระดับของสังกะสีน้อย ก็อาจมีผลต่อความแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว โรคเอดส์ โรคซึมเศร้ารุนแรง โรคเบาหวานประเภท 2 ซึ่งสามารถจัดการได้โดยการใช้อาหารเสริมสังกะสี

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้สังกะสี  

ควรปรึกษากับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้า:

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาอื่นร่วมอยู่ รวมถึงยาที่กำลังใช้ที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • มีอาการภูมิแพ้สารใด ๆ ในสังกะสี หรือยาอื่น ๆ หรือสมุนไพรอื่น ๆ
  • มีโรค ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีย้อมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มาก เพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์

สังกะสีมีความปลอดภัยเพียงใด

สังกะสีนั้นปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ในการนำมาทาลงบนผิวหรือการรับประทาน ในปริมาณไม่มากกว่า 40 มิลลิกรัมต่อวัน การรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสังกะสีนั้นไม่แนะนำ หากไม่ได้รับการแนะนำจากผู้ให้บริการทางการแพทย์

สังกะสีนั้นค่อนข้างปลอดภัยในการนำมารับประทานเกิน 40 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากรับประทานเกิน 40 มิลลิกรัมต่อวัน อาจลดปริมาณทองแดงที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ หากปริมาณทองแดงที่ร่างกายดูดซึมได้น้อยลง อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจาง

สังกะสีอาจไม่ปลอดภัยในการนำมาสูดดม มันอาจทำให้สูญเสียการรับกลิ่นถาวร

การใช้สังกะสีในปริมาณมากนั้นไม่ปลอดภัย การบริโภคเกิน 100 มิลลิกรัมต่อวัน หรือการใช้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสังกะสี เกิน 10 ปีขึ้นไป จะทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

การใช้สังกะสีเกิน 450 มิลลิกรัมต่อวันหรือมากกว่านั้น อาจทำให้มีปัญหาเรื่องธาตุเหล็กในเลือด ขนาดการใช้สังกะสี 10 ถึง 30 กรัมเพียงครั้งเดียวก็อาจเกิดอันตรายได้

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

เด็กทารกและเด็ก: สังกะสีนั้นค่อนข้างปลอดภัยในการมารับประทานในขนาดที่แนะนำ สังกะสีนั้นอาจไม่ปลอดภัยหากใช้ในปริมาณมาก

ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร: สังกะสีนั้นค่อนข้างปลอดภัยในการใช้ในขณะที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรเมื่อใช้ในปริมาณที่แนะนำ อย่างไรก็ตาม สังกะสีนั้นอาจไม่ปลอดภัยหากใช้ในปริมาณมากในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 18 ปี ไม่ควรใช้สังกะสีมากกว่า 40 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้หญิงตั้งครรภ์อายุตั้งแต่ 14 ถึง 18 ปี ไม่ควรใช้สังกะสีมากกว่า 34 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ที่กำลังให้นมบุตรที่อายุมากกว่า 18 ปี ไม่ควรใช้สังกะสีมากกว่า 40 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ที่กำลังให้นมบุตรอายุตั้งแต่ 14 ถึง 18 ปี ไม่ควรใช้สังกะสีมากกว่า 34 มิลลิกรัมต่อวัน

ผู้ที่ติดเหล้า:  ในระยะยาว การดื่มแอลกอฮอล์เป็นจำนวนมาก อาจเกี่ยวข้องกับปริมาณการดูดซึมสังกะสีที่น้อยลงของร่างกาย

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน: การใช้สังกะสีเป็นจำนวนมากสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นเบาหวานน้ำลดลงได้ ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานควรใช้สังกะสีอย่างระมัดระวัง

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม: ผู้ที่รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยไตเทียมนั้น เกรงว่าจะได้รับความเสี่ยงของการขาดสังกะสี ซึ่งอาจต้องใช้ยาเสริมอาหารสังกะสี

โรคเอดส์: ผู้ที่เป็นโรคเอดส์ควรใช้สังกะสีด้วยความระมัดระวัง เพราะมันอาจทำให้ระยะเวลาที่สามารถอยู่ได้น้อยลง ในผู้ป่วยโรคเอดส์

อาการที่ร่างกายดูดซึมสารอาหารยาก: ผู้ที่มีอาการการดูดซึมสารอาหารของร่างกายผิดปกติ อาจขาดสังกะสีได้

โรคปวดข้อรูมาติก: ผู้ที่เป็นโรคปวดข้อรูมาติกจะดูดซึมสังกะสีได้น้อย

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สังกะสี

 ‎ในบางราย สังกะสีอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ได้รสเหล็ก เกิดความเสียหายต่อไตและกระเพาะอาหารและผลข้างเคียงอื่นๆ การใช้สังกะสีบนผิวที่เป็นแผล อาจทำให้เกิดอาการไหม้ ความเจ็บปวด คันและเหน็บกิน

การใช้ในปริมาณมากกว่าที่แนะนำนั้นอาจทำให้เป็นไข้ มีอาการไอ ปวดท้อง เหนื่อยล้า และอาการอื่นๆอีกมาก

การใช้วิตามินรวมร่วมกับอาหารเสริมสังกะสีในปริมาณมาก เพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้นหากกังวลเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สังกะสี   

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรชนิดนี้อาจมีผลต่อยาหรือพยาธิสภาพในปัจจุบัน ควรปรึกษาหมอผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้งาน

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยาต่อสังกะสี ได้แก่

  • ยาปฏิชีวนะ

สังกะสีอาจลดปริมาณยาปฏิชีวนะที่ร่างกายดูดซึมได้ การใช้สังกะสีร่วมกับยาปฏิชีวนะอาจลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะบางตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการมีปฏิกิริยานี้ ควรทานอาหารเสริมสังกะสีอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะที่อาจมีปฏิกิริยาต่อสังกะสีเหล่านี้ ได้แก่ ไซโปรโฟลซาซิน (ไซโปร), เอนอกซาซิน (เพเนเทรกซ์), นอร์โฟลซาซิน (ชิโบรซิน, โนโรซิน), สปาร์โฟลซาซิน (ซาแกม), โทรวาฟลอกซาซิน (โทรแวน) และ เกรพาโฟลซาซิน (ราซาร์)

  • เตตราไซคลีน

สังกะสีอาจไปติดกับเตตราไซคลีนในกระเพาะอาหาร ซึ่งลดจำนวนเตตราไซคลีนที่ร่างกายดูดซึม การใช้สังกะสีร่วมกับเตตราไซคลีนอาจลดประสิทธิภาพยาเตตราไซคลีน เพื่อหลีกเลี่ยงการมีปฏิกิริยานี้ ควรทานอาหารเสริมสังกะสีอย่างน้อย 2 หรือ 4 ชั่วโมงหลังยาเตตราไซคลีน

ยาเตตราไซคลีนเหล่านี้ ได้แก่ เดเมโคลไซคลีน (เดโคลไมซิน), ไมโนไซคลีน (ไมโนซิน) และเตตราไซคลีน (อาโครไมซิน)

  • ซิสพลาติน

ซิสพลาติน (พลาตินอล เอคิว) นั้นถูกใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง การใช้สังะสีร่วมกับกรดเอทิลีนไดอามีนเตตราอาเซติก (อีดีทีเอ) และซิสพลาติน (พลาตินอล เอคิว)นั้น อาจเพิ่มฤทธิ์และผลข้างเคียงของยาซิสพลาติน (พลาตินอล เอคิว)

  • เพนิซิลลามีน
  • ยาเพนิซิลลามีนใช้เพื่อรักษาโรควิลสันและโรคปวดข้อรูมาติก สังกะสีอาจลดปริมาณการดูดซึมยาเพนิซิลลามีนของร่างกาย และลดประสิทธิภาพของยาเพนิซิลลามีน

    • อะมิโลไรด์

    อะมิโลไรด์ (มิดามอร์) นั้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ เพื่อกำจัดน้ำส่วนเกินของร่างกาย ฤทธิ์อีกอย่างหนึ่งของอะมิโลไรด์ (มิดามอร์) คือมันสามารถเพิ่มจำนวนสังกะสีในร่างกายได้ การใช้อาหารเสริมสังกะสีร่วมกับอะมิโลไรด์ (มิดามอร์) อาจทำให้มีปริมาณสังกะสีในร่างกายมากเกินไป

    ขนาดการใช้

    ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

    ขนาดในการใช้สังกะสีโดยทั่วไปคือเท่าไหร่?

    ขนาดการใช้เหล่านี้ผ่านการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์

    การรับประทาน

    • เพื่อรักษาโรคไข้หวัดทั่วไป: ใช้ซิงค์กลูโคเนต หรือเม็ดอมอาซีเตต ที่มีเอเลเมนทัลซิงค์ 9 ถึง 24 มิลลิกรัม ละลายในปาก ทุก 2 ชั่วโมง ในขณะที่ตื่นและเมื่อมีอาการไข้หวัด
    • เพื่อรักษาอาการท้องเสียในเด็กที่ขาดสารอาหารหรือขาดสังกะสี: ทานเอเลเมนทัลซิงค์10-40 มิลลิกรัมทุกวัน
    • เพื่อป้องกันและรักษาอาการปอดบวมในเด็กขาดสารอาหารในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา: ใช้ 10- 70 มิลลิกรัมต่อวัน
    • เพื่อรักษาอาการต่อมรับรสผิดปกติ: ใช้ 25-100 มิลลิกรัม
    • เพื่อรักษาความผิดปกติในการรับประทานอาหารอย่างโรคคลั่งผอม: ใช้ซิงค์กลูโคเนต 100 มิลลิกรัมต่อวัน
    • เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร: ใช้ซิงค์ซัลเฟต 200 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน
    • เพื่อรักษาอาการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อในผู้ที่ขาดสังกะสีและเป็นโรคตับ: ใช้ซิงค์ซัลเฟต 220 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน
    • เพื่อรักษาโรคกระดูกพรุน: ใช้สังกะสี 15 มิลลิกรัม ผสมกับแมกนีเซียม 5 มิลลิกรัม แคลเซียม 1000 มิลลิกรัม  และทองแดง 2.5 มิลลิกรัม
    • เพื่อรักษาโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว: ใช้ซิงค์ซัลเฟต 220 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน
    • เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตและเพิ่มน้ำหนักในเด็กที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวในขณะที่ยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์: ใช้เอเลเมนทัลซิงค์ 10 มิลลิกรัมต่อวัน
    • เพื่อรักษาโรคสมาธิสั้นในเด็ก: ใช้ซิงค์ซัลเฟต 55 มิลลิกรัม (เอเลเมนทัลซิงค์ 15 มิลลิกรัม) ถึง 150 มิลลิกรัม (เอเลเมนทัลซิงค์ 40 มิลลิกรัม) ต่อวัน
    • เพื่อใช้รักษาสิว: ใช้เอเลเมนทัลซิงค์ 30 ถึง 135 มิลลิกรัม ต่อวัน
    • เพื่อรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อม: ใช้เอเลเมนทัลซิงค์ 80 มิลลกรัม บวกกับวิตามินซี 500 มิลลกรัม วิตามินอี 400 IU แล้วก็เบต้าแคโรทีน 15 มิลลิกรัมต่อวัน

    สถาบันยาได้บัญญัติขนาดที่เหมาะสมในการรับสังกะสีสำหรับเด็กทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน คือจำนวน  2 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับเด็กทารกที่โตกว่า,เด็กและผู้ใหญ่ ปริมาณสังกะสีที่ได้รับอนุญาตให้ทานได้คือ สำหรับเด็กทารกและเด็กทั่วไป อายุ 7 เดือนถึง 3 ปี คือ 3 มิลลิกรัมต่อวัน, อายุ 4 ถึง 8 ปี คือ 5 มิลลิกรัมต่อวัน, อายุ 9-13 ปี 8 มิลลิกรัมต่อวัน, เด็กผู้หญิงอายุ 14 ถึง 18 ปี 9 มิลลิกรัมต่อวัน, เด็กผู้ชายและผู้ชายอายุ 14 ปีขึ้นไป คือ 11 มิลลิกรัมต่อวัน, ผู้หญิงอายุ 19 ปีขึ้นไป คือ 8 มิลลิกรัมต่อวัน, ผู้หญิงตั้งครรภ์อายุ 14 ถึง 18 ปี คือ 13 มิลลิกรัมต่อวัน, ผู้หญิงตั้งครรภ์อายุ 19 ปีขึ้นไป คือ 11 มิลลิกรัมต่อวัน, ผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตรอายุ 14 ถึง 18 ปี ใช้ 14 มิลลิกรัมต่อวัน, ผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตรอายุ 19 ปีขึ้นไปใช้ 12 มิลลิกรัมต่อวัน

    ผู้ชายชาวอเมริกาเหนือโดยทั่วไปบริโภคสังกะสี ประมาณ 13 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้หญิงบริโภคประมาณ 9 มิลลิกรัมต่อวัน

    ปริมาณสังกะสีในระดับที่พอรับได้ สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับการแนะนำการใช้สังกะสีจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์:

    เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน 4 มิลลิกรัมต่อวัน  7-12 เดือน  5 มิลลิกรัมต่อวัน เด็ก 1-3 ปี  7 มิลลิกรัมต่อวัน  4 ถึง 8 ปี 12 มิลลิกรัมต่อวัน  9-13 ปี  23 มิลลิกรัมต่อวัน, อายุ 14 ถึง 18 ปี รวมทั้งผู้กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร 34 มิลลิกรัมต่อวัน, ผู้ใหญ่อายุ 19 ปีขึ้นไปรวมถึงผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร 40 มิลลิกรัมต่อวัน

    เกลือในรูปแบบที่ต่างออกไปให้ปริมาณเอเลเมนทัลซิงค์ไม่เท่ากัน  ซิงค์ซัลเฟตมีเอเลเมนทัลซิงค์อยู่ 23% ในซิงค์ซัลเฟต 220 มิลลิกรัม มีสังกะสีอยู่ 50 มิลลิกรัม ซิงค์กลูโคเนต มีเอเลเมนทัลซิงค์อยู่ 14.3 เปอร์เซ็นต์, ซิงค์กลูโคเนต 10 มิลลิกรัม มีสังกะสีอยู่ 1.43 มิลลิกรัม

     

    การนำมาทาลงบนผิว

    • สำหรับสิวธรรมดา: ใช้ซิงค์อะซิเตท 1.2% กับ อริโธไมซิน 4% ใช้เป็นโลชั่นทา 2 ครั้งต่อวัน
    • สำหรับการรักษาโรคเริม: ใช้ซิงค์ซัลเฟต 0.25% ทา 8 ถึง 10 ครั้งต่อวัน หรือซิงค์ออกไซด์ 0.3% ที่มีไกลซีนทาทุกๆ 2 ชั่วโมง

    ขนาดการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสม

    สังกะสีมีจำหน่ายในรูปแบบใด:

    ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

    • แคปซูลสังกะสี 30 และ 50 มิลลิกรัม
    • วิตามินรวมแคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี ชนิดเม็ด

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัยหรือการรักษาแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    บทความที่เกี่ยวข้อง


    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา