backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

อินดาพาไมด์ (Indapamide)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

อินดาพาไมด์ (Indapamide)

ข้อบ่งใช้

ยา อินดาพาไมด์ ใช้สำหรับ

ยาอินดาพาไมด์ (Indapamide) มักใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ยาอินดาพาไมด์นั้นยังใช้เพื่อลดน้ำส่วนเกินในร่างกาย หรือภาวะบวมน้ำ (edema) ที่เกิดจากอาการหัวใจล้มเหลว การลดระดับความดันโลหิตจะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือดฉับพลัน และปัญหาเกี่ยวกับไต ยาอินดาพาไมด์เป็นยาในกลุ่มของยาขับปัสสาวะ (diuretics) หรือยาขับน้ำ (water pills) ทำงานโดยเพิ่มการขับปัสสาวะ ช่วยให้ร่างกายสามารถกำจัดน้ำและเกลือส่วนเกิน ยานี้สามารถช่วยลดอาการหายใจไม่อิ่ม หรืออาการบวมที่ข้อเท้าหรือเท้าได้

วิธีการใช้ยาอินดาพาไมด์

รับประทานยานี้พร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหากตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละครั้งในเวลาเช้า หากคุณรับประทานยานี้ใกล้กับเวลานอนมากเกินไป อาจทำให้คุณต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะ ควรรับประทานยานี้อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนเวลานอน

ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา

ควรรับประทานยาเป็นประจำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ควรรับประทานยานี้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะรู้สึกเป็นปกติ ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่รู้สึกถึงอาการที่ผิดปกติ อาจต้องใช้เวลานานถึงหลายสัปดาห์ กว่าที่จะสามารถควบคุมระดับความดันได้คงที่และมีประสิทธิภาพ

หากคุณใช้ยาอื่นเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล เช่น ไบล์แอซิดไบน์ดิงเรซิ่น (bile acid-binding resins) อย่าง คอเลสไทรามีน (cholestyramine) หรือคอเลสทิพอล (colestipol) ควรรับประทานยาอินดาพาไมด์อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อน หรือ 4 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาเหล่านี้

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง (ระดับความดันโลหิตของคุณยังคงสูง หรือเพิ่มขึ้น)

การเก็บรักษายาอินดาพาไมด์

ยาอินดาพาไมด์ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาอินดาพาไมด์บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาอินดาพาไมด์ลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาอินดาพาไมด์

ก่อนใช้ยาอินดาพาไมด์ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ยานี้ หรือหากคุณมีโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์ในการรักษา ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ สอบถามเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคเกาต์ ปัญหาเกี่ยวกับไต โรคตับ โรคลูปัส (lupus)

ยานี้อาจทำให้คุณรู้สึกวิงเวียน อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว จนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย ควรจำกัดปริมาณของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

อาการเหงื่อออกอย่างรุนแรง ท้องร่วง หรืออาเจียน สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการสูญเสียน้ำในร่างกาย หรือภาวะขาดน้ำได้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีอาการท้องร่วงหรืออาเจียนในระยะยาว เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ควรดื่มน้ำให้มาก เว้นแต่แพทย์จะสั่งให้ทำอย่างอื่น

หากคุณเป็นโรคเบาหวาน ยานี้อาจเพิ่มปริมาณของน้ำตาลในเลือดได้ ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ และแจ้งผลให้แพทย์ทราบ แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีอาการระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่นกระหายน้ำมากขึ้น ปัสสาวะมากขึ้น แพทย์อาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาสำหรับโรคเบาหวาน โปรแกรมการออกกำลังกาย หรืออาหารของคุณ

ยานี้อาจทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดของคุณลดลงได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนรับประทานอาหารเสริมโพแทสเซียม หรือสารทดแทนเกลือที่มีส่วนผสมของโพแทสเซียม

ยานี้อาจทำให้ผิวของคุณไวต่อแสงอาทิตย์มากขึ้น ควรจำกัดเวลาอยู่ภายใต้แสงอาทิตย์ ควรทาครีมกันแดดและสวมเสื้อผ้าป้องกันเมื่ออยู่ภายนอก แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีอาการแดดเผาหรือมีแผลพุพองหรือรอยแดงที่ผิวหนัง

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบ เกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ (ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ)

ในช่วงขณะตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยา

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถส่งผ่านน้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดสอบถามแพทย์ก่อนการให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาอินดาพาไมด์จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา อินดาพาไมด์

อาจมีอาการวิงเวียนหรือปวดหัว หากอาการเหล่านี้ไม่บรรเทาลง หรือรุนแรงขึ้น โปรดแจ้งให้แพทยหรือเภสัชกรทราบในทันที

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

ยาอินดาพาไมด์อาจทำให้คุณสูญเสียน้ำมากเกินไป และสูญเสียเกลือและแร่ธาตุมากเกินไป แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีอาการของภาวะขาดน้ำหรือสูญเสียแร่ธาตุดังนี้ กระหายน้ำอย่างรุนแรง ปากแห้งมาก เป็นตะคริวหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ ปัสสาวะน้อยลง

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังนี้ การมองเห็นลดลง ปวดตา

การแพ้ยาที่รุนแรงนี้ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) เวียนหัวขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ปฏิกิริยาของยาอาจเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง ข้อมูลในส่วนนี้ไม่ได้มีรายชื่อของยาที่อาจเกิดอันตรกิริยาทั้งหมด คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่ ยาโดฟีทิไลด์ (dofetilide) หรือลิเทียม (lithium)

ยาบางอย่างอาจมีส่วนประกอบ ที่สามารถเพิ่มระดับความดันโลหิตของคุณ หรือทำให้อาการหัวใจล้มเหลวแย่ลงได้ แจ้งให้เภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ และสอบถามวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะยาแก้ไอแก้หวัด ยาลดความอ้วน หรือยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) หรือนาพรอกเซน (naproxen)

ยานี้อาจส่งผลกระทบต่อผลการตรวจในห้องทดลองบางอย่าง รวมถึงการทำงานของต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid function) อาจทำให้ผลการตรวจเป็นเท็จได้ ควรแจ้งให้บุคลากรในห้องทดลอง และแพทย์ทุกคนทราบว่า คุณกำลังใช้ยานี้

ยาอินดาพาไมด์อาจเกิดอันตรกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาอินดาพาไมด์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาอินดาพาไมด์อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาอินดาพาไมด์สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะบวมน้ำ (Edema)

ขนาดยาเริ่มต้น : 2.5 มก. รับประทานวันละครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

ขนาดยาเริ่มต้น : 1.25 มก. รับประทานวันละครั้ง

การปรับขนาดยาสำหรับไต

ควรใช้ยาอินดาพาไมด์ด้วยความระมัดระวัง กับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของไต เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะอะโซทีเมีย (azotemia) ในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของไตในระดับรุนแรง

การปรับขนาดยาสำหรับตับ

ผลการขับปัสสาวะของยาอินดาพาไมด์ อาจทำให้เกิดโรคสมองจากโรคตับ (hepatic encephalopathy) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตขั้นรุนแรง ควรมีการเฝ้าสังเกตสภาพจิตใจ สำหรับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของไต

การปรับขนาดยา

อาจเพิ่มขนาดยาเป็น 5 มก. ภายใน 1 สัปดาห์เท่าที่จำเป็น เพื่อเพิ่มการขับปัสสาวะในผู้ป่วยภาวะบวมน้ำ

สำหรับผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูง อาจเพิ่มขนาดยาเป็น 2.5 มก. ภายใน 1 เดือน และเพิ่มถึง 5 มก. หลังจากผ่านไปอีกหนึ่งเดือน เท่าที่จำเป็น

คำแนะนำอื่นๆ

ขนาดยาที่แนะนำสูงสุดคือ 5 มก. ต่อวัน

ควรมีการเฝ้าสังเกตค่าอิเล็กโทรไลต์ (electrolytes) เป็นระยะ โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยที่ใช้ยานี้ในขนาดยาที่สูง

ขนาดยาอินดาพาไมด์สำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้ สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา